เราสามารถทำให้ชีวิตสมบูรณ์แบบได้จริงไหม หรือ… เราทำได้เพียงอยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่เป็น แนวคิดจากญี่ปุ่นที่น่าสนใจ ‘ คินสึงิ ’ คืออะไรและเกี่ยวข้องกับชีวิตในทุก ๆ วัน
ชีวิตมันซ่อมได้จริงไหม ?
“ถ้วยดินเผาหรือ ชีวิตสามารถแตกหักได้เป็นพันชิ้นแต่นั้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่ชีวิตต้องจบสิ้นลงด้วย ”
ทุกอย่างบนโลกนี้มันแตกและ พังได้หมด ตุ๊กตาที่เราชอบ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ รองเท้า แม้กระทั้งความสัมพันธ์กับผู้คน แต่ไม่ได้แปลว่าชีวิตเราจะล่มสลายตามสิ่งนั้น ๆ ไป และทุกการซ่อมแซมต้องใช้เวลา เปรียบเสมือน
ถ้วยที่แตกแล้วซ่อมด้วยวิธีคินสึงิ เขาใช้เวลาประกอบรอยร้าว 4-5 วัน รอยร้าวจึงจะเชื่อมกัน คิดว่าก็เหมือนชีวิตคน แตกแล้วไม่สารถประกอบให้เชื่อมกันได้ทันที ต้องอาศัยเวลา และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในชีวิตเหมือนกัน
คินสึงิ
โทมาส นาวาร์โร จิตแพทย์ ชื่อดังชาวสเปน เปลี่ยนจาก ‘ลบรอย’ เป็น ‘ยอมรับ’ คือ ปรัชญาที่ซ่อมแซมของที่แตกมีชื่อว่า ‘คินสึงิ’ ( Kintsugi ) เริ่มจากที่ โชกุน ทำกาน้ำชาใบโปรดแตก
จึงนำไปส่งซ่อมพอได้กลับคืนมารู้สึกว่า ไม่ถูกใจ จนไปเจอช่างฝีมือท้องถิ่นท่านหนึ่ง ซึ่งต่อรอยร้าวของถ้วยชามด้วยทอง เป็นวิธีซ่อมรอยแตกร้าวให้ภาชนะ โดยนำยางไม้จากต้นอุรุชิของญี่ปุ่นมาผสมเข้าด้วยทอง
พอเอาใบที่ซ่อมมาติด ปรากฎว่าโชกุนชอบ เพราะมีความเป็นเอกลักษ์ สวยงาม และความสวยงามนี้ต้องเกิดจากการที่กาน้ำชามีร่องรอยก่อน การเอากานำชาเก่ามาใช้ ทำให้เห็นความงามไม่รูปแบบที่ต่างออกไป
หลักการนี้ชาวญี่ปุ่นเอามาใช้กับชีวิต คนเราเวลาเจอเรื่อง ร้าย ๆ ในชีวิตก็เหมือนการแตกสลายของกาน้ำชา เรื่องราว ๆ ที่เจออาจไม่ได้เลวร้ายไปซะหมดแต่มันคือการเปลี่ยนแปลง
คินสึงิ ( Kintsugi ) คือเทคนิคศิลปะแบบโบราณที่สะท้อนแนวคิดวะบิ-ซะบิได้เป็นอย่างดี โดยเป็นการซ่อมแซมเครื่องดินเผาหรือเซรามิคด้วยการใช้ยางไม้มาเชื่อมส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
แล้วนำทองมาเขียนตกแต่งลงบนรอยเชื่อมนั้น เกิดเป็นความงามอีกรูปแบบที่มาจากความบุบสลายของวัตถุ
วาบิซาบิ วะบิ-ซะบิ (Wabi-Sabi) มาจากการรวมระหว่างสองคำ ได้แก่ คำว่า วะบิ ( Wabi ) ที่แปลว่าความเรียบง่าย ความสงบเงียบ และ ซะบิ (Sabi ) ที่หมายถึง ความงามที่ทรงคุณค่าตามกาลเวลา
อันนำมาซึ่งความไม่ สมบูรณ์ได้ซึ่งจะบอกว่าแนวคิดของญี่ปุ่นที่เราได้ยินบ่อย ๆ คือ อิคิไก คินสึงิ และ วาบิซาบิ เหมือนเป็นปรัชญาหลัก ๆ ของชาวญี่ปุ่น
เราจะอยู่ในความไม่สมบูรณ์แบบได้อย่างไร
– ต้องไม่ตัดสินตัวเองเพราะบนโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ
– เห็นอกเห็นใจตัวเองเหมือนที่เราปลอบใจคนอื่น
– มนุษย์ที่สามารถยอมรับข้อบกพร่อง จะสามารถผ่านชีวิตไปได้ง่ายกว่าคนอื่น ชีวิตที่เราเจอเรื่องที่ดีและเรื่องที่แย่ ล้วนแล้วเป็นบทเรียนและเป็นเรื่องที่สำคัญ
– มองหาความเป็นจริง ข้อเท็จจริงให้มากที่สุด อะไรที่ไม่รู้คือไม่รู้ หาเหตุผลไม่ได้ก็คือไม่ได้
– เรื่องเลวร้ายแต่ละคนไม่เหมือนกันอย่าเอาไปเทียบกับใคร
– พยายามไม่เอาตัวเองไปเทียบกับคนอื่น ยิ่งถ้าคนอื่นไม่ได้เลือกเดินทางเดินเดียวกันกับเราแล้วยิ่งไม่ควรเทียบเลย เพราะยิ่งทำแบบนั้นจะยิ่งบั่นทอนกำลังใจตัวเอง
ที่มา :
วิถีแห่ง ‘วะบิ-ซะบิ’ ความงามที่มีรอยตำหนิและกาลเวลาเป็นกัลยาณมิตร
How the philosophy behind the Japanese art form of kintsugi
Post Views: 1,359