พฤติกรรมที่เราชอบ ตื่นกลางดึก เป็นพฤติกรรมที่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ สาเหตุอาจจะเกิดมาจากความเครียด ความกังวล การคิดมากก่อนนอน เรามาพูดคุยกับนักจิตวิทยาคลินิก
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพจิตใจ
ตื่นกลางดึก ผิดปกติไหม ?
ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในช่วงเปลี่ยนวงจรแต่ละขั้นของการนอนหลับ จะทำให้เราตื่นขึ้นมาได้ง่ายขึ้นถ้ามีอะไรมารบกวน ซึ่งถ้าเป็นต่อเนื่องในระยะเวลานานอาจเกิดปัญหาได้
หากตื่นกลางดึกแล้วสามารถหลับต่อได้เลยยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ
สาเหตุของอาการ “ ตื่นกลางดึก “
สาเหตุคือ การที่เรานอนหลับยาก เพราะนำความเครียด ความวิตกกังวล เข้านอนด้วย เมื่อถึงเวลาที่ควรนอนจริง ๆ เราก็หลับไม่สนิท ร่างกายจะอยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น และสะดุ้งตื่นได้ง่ายขึ้นมาก
ทั้งนี้ต้องสำรวจตัวเองว่า สาเหตุหลักของการนอนไม่หลับของเราคืออะไร เช่น การดื่มคาเฟอีน กาแฟ หรือแม้แต่การ ดื่มน้ำก่อนนอน สภาพแวดล้อมของห้องนอน เพราะสาเหตุของเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน
การแก้ไขสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
หากสาเหตุของเรา คือการวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกินขึ้นในอดีต หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง อาจจะต้องฝึกการดึงตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน บอกตัวเองว่าถึงเวลาที่เราต้องพักผ่อนแล้วนะ
ตรงไหนที่เรายังคิดอยู่ ค่อย ๆ ผ่อนคลายส่วนนั้นลง และกลับมาอยู่กับลมหายใจของตนเอง ทั้งนี้ต้องสังเกตพฤติกรรมของตนเองว่าเกิดจากอะไร แล้วมาแก้ที่สาเหตุให้ถูกต้องและตรงจุด
อาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ส่งผลอะไรได้บ้าง?
1. ภาวะอารมณ์ หงุดหงิดได้ง่าย ควบคุมอารมณ์ได้น้อยลง
2. ความคิด สมองของเราจะอ่อนล้ากว่าปกติ การคิด การตัดสินใจ จะประมวลผลได้ช้าลงกว่าปกติ ในสมองของเราเมื่อนอนหลับ จะมีระบบกวาดบางอย่างที่ไม่จำเป็นในระบบประสาททิ้ง ซึ่งถ้าไม่ได้ทำงาน ก็จะทำให้ทุกเรื่องยังวนอยู่ในหัวของเรา ไม่ถูกจัดระเบียบ
3. กระทบต่อสุขภาพกาย เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือโรคในระบบร่างกายต่าง ๆ ฯลฯ
โรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับ เกิดจากการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากสารสื่อประสาทในสมองหลั่งผิดปกติ และเกิดเป็นโรคนอนไม่หลับได้
จึงต้องเข้าไปให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
Post Views: 8,891