ซึมเศร้าซ่อนเร้น (Masked Depression) ภาวะซึมเศร้าที่ยากต่อการรับรู้มักจะหลบซ่อนแสดงออกทางกายมากกว่าจิตใจ อยากจะชวยทุกคนมารีเชคกันว่าตอนนี้เราอยู่ในภาวะนี้หรือเปล่า?
ภาวะ ซึมเศร้าซ่อนเร้น (Masked Depression)
คำว่า “โรคซึมเศร้าซ่อนเร้น” คำนี้ถูกใช้อย่างมากเลยในปี 1970 และ 1980 โดยคำนี้จะบรรยายถึงภาวะที่ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงที่มีอาการทางกายมากกว่าอาการทางจิต
อาการทางร่างกายเหล่านี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุทางชีววิทยา ตามที่สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ได้กล่าว แต่มันเป็น ภาวะซึมเศร้า รูปแบบพิเศษที่มีลักษณะผิดปกติ
ซึ่งหมายความว่าจะมองไม่เห็นอาการ Masked ก็คือ แมสก์ ที่เราใช้แทนการปกปิดอาการทางจิตใจแล้วแสดงออกเป็นความเจ็บปวดทางกายแทน
โรคซึมเศร้าซ่อนเร้นเป็นคำศัพท์ที่นักจิตวิทยาและแพทย์เคยใช้เพื่ออธิบายภาวะ ซึมเศร้า ที่มีอาการทางร่างกายมากกว่าอาการทางจิตหรือทางอารมณ์คำนี้ไม่ได้ถูกใช้เป็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการอีกต่อไป
แต่ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยได้ใช้ในการวินิจฉัยโรค ก็อาจจะมีคำศัพท์อื่นที่นำมาใช้เเทนในปัจจุบัน เช่น Hidden Depression ภาวะซึมเศร้าที่ซ่อนอยู่ หรือคำศัพท์ทางเทคนิค เช่น
-
ภาวะโซมาติก Somatic Symptoms (SSD)
-
โรคโซโมโตฟอร์ม (Somatoform Disorder)
ผู้ที่มีภาวะนี้สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ เวลาเจ็บป่วยทางร่างกายยังสามารถไปหาหมอได้ตามปกติ หรือบางคนอาจจะเป็น ย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือ Workaholic บ้างานหนักมากไปเลย
เพราะในระดับจิตใต้สำนึกของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นจะมีความรู้สึกไม่มั่นคง มีความสงสัย และไม่มั่นใจในคุณค่าของตัวเอง จึงพยายามทุ่มเท ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดี สมบูรณ์แบบที่สุด
เพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น และถ้างานไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง จะรู้สึกผิดหวังรุนแรง โกรธเกรี้ยวหงุดหงิดง่าย อย่างไม่สมเหตุสมผลในบางรายความคาดหวัง
ความหมกมุ่นเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียดสะสมหรือปัญหาการนอนไม่หลับ จนต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้เหล้า สุรา ยานอนหลับ หรือสารเสพติด
อาการทางร่างกาย
ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดหัว หัวใจเต้นเร็วหรือใจสั่น เหนื่อยล้า ปวดท้องหรือปัญหาทางเดินอาหาร
อาการทางจิตที่พบบ่อย
หากใครที่เป็นภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น เราอาจพบอาการทางจิตเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย หรือพบอาการรองจากอาการทางร่างกาย และบางคนอาจพบอาการทางจิตและอารมณ์บางอย่าง
เช่น สูญเสียความสุขในกิจกรรมตามปกติของคุณ ความหงุดหงิด รู้สึกไร้ค่า มีความวิตกกังวล
พฤติกรรมและความคิด
1. มีปัญหาเกี่ยวสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้เป็นเวลานาน
2. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
3. พลังงานน้อย
4. ถอนตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)
อยู่แต่บ้าน ไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับสังคม ไม่เข้าสังคม อย่างถ้าเกิดขึ้นกับเด็กจะไม่อยากไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็อาจจะไม่อยากไปทำงาน ซึ่งเป็นระยะเวลานานมากกว่า 6 เดือน
5. Perfectionist
อาจจะมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ทุกอย่างต้องสมบูรณ์ เพราะลึก ๆ แล้วผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกไม่มั่นคงต่อตัวเอง จึงต้องการทุ่มเททุกอย่างเพื่อกลบและเติมความรู้สึกไม่มั่นคงที่เกิดขึ้น
ภาวะโซมาติก (Somatic symptoms disorder) หรือ ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น
ภาวะโซมาติก หรือ SSD เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งทางจิตเวชตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช โดยเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจ ปวดหัว ปวดท้อง หายใจไม่ทั่วท้อง มึนหัว
อาการสำคัญของภาวะนี้คือผู้ป่วยจะมีความหมกมุ่นหรือกังวลอย่างมากกับอาการเจ็บป่วยทางกายจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งลักษณะการป่วยทางกายภาพจะคล้ายคลึงกับภาซะซึมเศร้าซ่อนเร้นมาก ๆ
แต่ภาวะ โซมาติก จะมีความหมกหมุ่นทางด้านเจ็บปวดร่างกายทำให้บางคนก็ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน
พออาการของภาวะสองอย่างนี้คล้ายกันมันเลยทำให้การวินิจฉันของแพทย์ที่ต้องระบุว่าเป็นภาวะไหนกันแน่มีความล้าช้า และอาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แย่ได้
ซึมเศร้า กับ ซึมเศร้าซ่อนเร้น
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) จะมีอาการซึมเศร้าชัดเจน เช่น เหนื่อย ท้อเเท้ ผิดหวัง ไร้ค่า
แต่ ซึมเศร้าซ่อนเร้น มักไม่พบความเศร้าชัดเจน ยังใช้ชีวิต ทำงาน พูดคุยตอบโต้ได้ตามปกติ แต่มักจะมีความรู้สึก วิตกกังวลและไม่มีความสุขพ่วงมาด้วย
อาการที่แสดงออกชัดเจนคือความเจ็บปวดทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง เจ็บหน้าอก เพราะฉะนั้นเวลาคนที่ตกอยู่ในสภาวะนี้จะคิดว่าเป็นโรคทางกายและหาสาเหตุของความเจ็บปวดนี้ไม่พบ
ทำไมซึมเศร้าถึงเชื่อมโยงกับอาการทางกาย
บทความของ Healthline บอกว่า อาการซึมเศร้า อาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรม นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
นักวิจัยประมาณการจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น 2 ใน 3 ของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีอาการเจ็บปวดทางกายเป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ จากงานวิจัยยังบอกไว้อีกด้วยว่า
พื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และความเจ็บปวดทางร่างกาย ถูกรบกวนด้วยภาวะซึมเศร้า และอาการซึมเศร้ายังเชื่อมโยงกับการผลิตสารเคมีที่เรียกว่าไซโตไคน์
ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและเจ็บปวดได้คล้าย ๆ กับการที่ภาวะซึมเศร้าและการนอนหลับก็เชื่อมโยงกัน อาการซึมเศร้าทำให้นอนหลับไม่สนิท และการอดนอนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
การรักษา
การรักษาทำได้ค่อนข้างยากเพราะผู้ป่วยซึมเศร้าซ่อนเร้น มักจะปกปิดอาการ ความรู้สึกของตัวเอง ส่วนใหญ่จะไม่มองถึงอาการป่วยทางจิตแต่จะมองอาการป่วยทางกายมากกว่า พอไม่รู้สึกถึงอาการที่แปลกไปจากเดิม
กลายเป็นความเครียดสะสมทางอารมณ์ไปเรื่อย ๆ จนขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่มั่นใจในตัวเอง ดังนั้นหากเรารีเชคตัวเองหรือคอยถามคนใกล้ชิดเราที่มีแนวโน้ม
การค่อย ๆ ทำให้เขายอมรับอาการของเขา จะทำให้การวินิจฉัยและการรักษาง่ายมากขึ้น และการรักษาไม่มีขั้นตอนที่ตายตัวเหมือนการรักษาซึมเศร้าแบบปกติ จิตแพทย์อาจพิจารณาให้ความรู้ ความเข้าใจ ทำจิตบำบัด
ให้ศิลปะบำบัด และช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเอง ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์กว่าเดิม ไม่ทำร้ายตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเอง
หรือในบางรายอาจพิจารณายาแก้อาการซึมเศร้าได้บ้าง การออกกำลังกาย การเที่ยวพักผ่อนตามธรรมชาติเพื่อสงบจิตใจของผู้ป่วย การทำโยคะถือเป็นตัวช่วยที่ดีมาก ๆ เลย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่เราไม่ปล่อยผ่านทุกความปกติที่เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ การรีเช็คตัวเองเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ ถ้าเรามีการรีเช็คตัวเอง เราก็จะรู้จักตัวเอง และรู้ทันทุกสภาวะที่อาจจะเกิดขึ้นได้
อ้างอิง
masked-depression
Post Views: 9,519