ทำร้ายตัวเอง = โรคซึมเศร้า? หลายคนคงเคยเห็นภาพที่คนเป็นซึมเศร้า ทำร้ายตัวเองหรือ พบเจอคนทำร้ายตัวเอง แล้วมักบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้าเป็นแบบนั้นจริง ๆ ไหม หรือไม่ใช่ทุกคนเสมอไปที่ทำแบบนั้น
วิธีการระบายความเจ็บปวดข้องเรานั้นแตกต่างกัน ในบางคนการเจ็บปวดก็แสดงถึงการมีอยู่ ในบางคนเลือกที่จะสักผิวหนัง บางคนเลือกที่จะร้องไห้ แล้วสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเขาเลือกการทำร้ายตังเองจริงไหม
วันนี้เรามาร่วมพูดคุยกันในรายการ “โลกซึมเศร้า” กับหัวข้อ เป็นซึมเศร้าต้องทำร้ายตัวเองหรือเปล่า ?
คนเป็นโรคซึมเศร้าต้องทำร้ายร่างกายตัวเองจริงไหม?
ไม่อยากให้ให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าต้องทำร้ายตัวเอง หรือเห็นใครทำร้ายตัวเองและบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้าเลย เพราะแต่ละคนมีวิธีจัดการความรู้สึกเศร้าคนละแบบ
แต่ถ้ามีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง อยากบอกว่าจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องสื่อสารกับคนรอบข้างหรือนักวิชาชีพ ที่สำคัญคือโรคซึมเศร้าไม่ใช่อย่างเดียวที่เป็นปัจจัยในการทำร้ายตัวเอง
โรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น จิตเภท หรือ คนที่มีภาวะเห็นภาพหลอน หูแว่ว อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นอันตรายเหมือนกัน เช่น คิดว่ามีตัวอะไรอยู่ในผิวหนัง เลยพยายามแคะแกะจนเป็นแผลเลือดออกแตกต่างกันไป
อะไรที่ทำให้อยากทำร้ายร่างกายตัวเอง ?
สาเหตุมีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นการลงโทษตัวเองอย่างหนึ่ง หรือเป็นวิธีจัดการความรู้สึกอย่างหนึ่ง บางคนใช้วิธีนี้เพื่อปลดปล่อยหรือเบี่ยงเบนตัวเองจากความเจ็บปวดข้างใน หรืออีเป็นเรื่องของรสนิยมความชอบส่วนตัว
วงจรการ ทำร้ายตัวเอง จาก western tidewater
1. emotional suffering = รู้สึกแย่ รู้สึกเจ็บปวดทางใจ
2. emotional overload = ความรู้สึกนั้นจะท่วมท้น
3. panic = ตื่นตระหนก
4. self harm = ทำร้ายร่างกายตัวเอง
5. temporary relief = จะรู้สึกโล่งขึ้นระยะหนึ่ง
6. shame/grief = แต่สุดท้ายจะกลับมารู้สึกผิดที่ทำลงไป
การทำให้ตัวเองเจ็บ = การทำร้ายร่างตัวเองจริงไหม ?
ข้อมูลจาก GQ Thailand กล่าวว่า การสักและการเจาะถือเป็นการทำให้ตัวเองเจ็บที่ไม่อันตราย ไม่ใช่การทำร้ายตัวเองโดยตรง เช่น ดึงผม แกะผิว กรีดผิวหนัง อีกอย่างการทำร้ายตัวเองจะประสงค์ร้ายและขาดการควบคุมตัวเอง
“ความเจ็บ” ช่วยตอกย้ำ “การมีอยู่”
บางคนบอกว่าการทำร้ายตัวเองก็เป็นเหมือน “วงจร” ที่เข้ามาแล้วหาทางออกได้ยาก มักจะเริ่มต้นเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากความคิดและความรู้สึกที่ทับถมใจเรา
เมื่อทำไปแล้วรู้สึกว่าสิ่งนี้ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทางอารมณ์ของเราได้ชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดี แต่สิ่งสำคัญคือหลายคนไม่ทันรู้ตัวว่ามันไม่ใช่ทางออกที่จะพาเราออกจากโลกที่เจ็บปวดได้จริง
วิธีระบายความรู้สึก
ทุกคนจะมีวิธีการระบายความรู้สึกที่แตกต่างกันไป แล้วแต่รูปแบบของแต่ละบุคคล เช่น
- ร้องไห้ เป็นสิ่งที่ช่วยได้ เสมือนเป็นการระบายความรู็สึกอย่างหนึ่ง
- เดินออกไปตะโกนดัง ๆ หรือคุยกับตัวเอง เพื่อช่วยปลดปล่อยความรู้สึกที่อัดอั้นอยู๋ภายในใจ
- พูดคุย ระบายแบบให้เต็มที่ ไปเลยกับใครซักคน
การทำร้ายร่างตัวเองนำไปสู่จบชีวิตตัวเองจริงหรือ ?
Non suicidal self-injury : NSSI เป็นการทำร้ายตัวเองโดยไม่มีเจตนาที่จะให้อันตรายถึงชีวิต จาก National Library of Medicine กล่าวว่า
Non suicidal self-injury มักเกิดขึ้น เพื่อลดอารมณ์ทางลบ,เพื่อให้ได้ปลดปล่อย, และเพื่อลงโทษตัวเอง ส่วนน้อยที่จะต้องการทำร้ายตัวเองเพื่อให้กระทบกับคนอื่น
Post Views: 3,380