“ถ้าไม่ไหว ไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญสิ” ผู้เชี่ยวชาญคือใคร นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ทำหน้าที่อะไรในการรักษาผู้ป่วย ถ้าเครียด เศร้า อกหัก ไปหานักจิตวิทยาได้ไหม
และวิธีเช็คตัวเองว่าตอนไหนที่เราควรไปพบผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมพูดคุยในรายการพูดคุย Alljit X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂 หรือรับฟังได้ที่ Alljit Podcast
นักจิตวิทยาคือใคร
นักจิตวิทยา คือ วิชาชีพที่ได้รับการเรียนรู้ หรือมีโอกาสได้ศึกษาสภาวะจิตใจ การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ หรือแม้กระทั่งอารมณ์และ ความรู้สึกต่าง ๆ ของมนุษย์
โดยการเรียนรู้ลงไปว่า เพราะอะไรเราถึงมีการคิดแบบนี้ ,โตมาแบบไหนถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ รวมไปถึงความขัดแย้งในตัวเองที่ส่งผลตอการแสดงออกอย่างไร เรียนเพื่อให้เข้าใจคนหนึ่งคน
นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ต่างกันอย่างไร
จิตแพทย์
จะทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเวช เช่น การตรวจวินิจฉัย ให้ยาในการรักษา ทำการบำ
นักจิตวิทยา
ไม่สามารถตรวจ และวินิจฉัยโรคทางจิตเวช และจ่ายยาได้ ทำได้เพียงการประเมิน เพื่อทำความเข้าใจในบุคคลนั้น
เครียด เศร้า อกหัก ไปหานักจิตวิทยา
สามารถไปหาได้หมดทุกความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาใด ๆ ก็สามารถเข้าไปพบนักจิตวิทยา เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือเพียงแค่หาใครซักคนที่รับฟัง เพื่อเอาบางสิ่งที่อึดอัดในใจออกมา
หน้าที่ของนักจิตวิทยา
นักจิตวิทยาถูกแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขา เช่น นักจิตวิทยาคลีนิค นักจิตวิทยาการปรึกษา นักจิตวิทยาในองค์กรค์ นักจิตวิทยาวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งในแต่ละสาขาก็จะเรียนแตกต่างกันออกไป
แต่ทุกสาขาวิชาถูกปูพื้นฐานมา เพื่อให้เข้าใจคนคนหนึ่งได้แบบภาพรวม โดยทำหน้าที่รับฟังและเป็นกระจกสะท้อนในมุมที่เขาไม่เคยเห็นหรือ ให้เขามองเห็นตัวเองแบบสอดคล้องกับโลกของความเป็นจริง
เคยไหมที่นักจิตวิทยารับฟังจนรู้สึกไม่ไหว
ในช่วงแรก ๆ ของการทำงานเกิดขึ้นบ่อย เพราะคาดหวังว่าทุก ๆ อย่างจะออกมาดี และจะช่วยเหลือเขาอย่างไรได้บ้าง ช่วงหลัง ๆ เมื่อประสบการณ์เพิ่มขึ้น เข้าใจวิธีการทำงานมากขึ้น ก็ทำให้รจัดการได้ความคิดได้มากขึ้น
หากรู้สึกว่าบางเคสเกินศักยภาพของตนเอง ก็สามารถวางแผนในการส่งต่อเคสไปยังนักจิตวิทยาท่านอื่นที่มีความเหมาะสมในการดูแลคนไข้มากกว่า
ในมุมของผู้รับคำปรึกษาสามารถขอเปลี่ยนนักจิตวิทยาได้หรือไม่
ผู้รับคำปรึกษามีสิทธ์ในการขอเปลี่ยนตัวนักจิตวิทยา เพียงแค่ควรหาเหตุผลว่าเพราะอะไรเราจึงอยากเปลี่ยนนักจิตวิทยา
นักจิตวิทยาเครียดจะเลือกคุยกับใคร
นักจิตวิทยาจะเลือกคุยกับใครขึ้นอยู่ความเครียดนั้นเป็นเรื่องอะไร ถ้าเป็นความเครียดด้านการทำงาน ก็จะเลือกปรึกษาอาจารย์ หรือเพื่อนที่อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน แต่หากความเครียกนั้นไม่เกี่ยวข้องกับงานก็จะเลือกปรึกษาคนใกล้ตัว
มีอาการจิตเวชสามารถเรียนจิตวิทยาได้หรือไม่
ควรประเมินตนเองว่าไหวหรือไม่ จะเรียนไปต่อได้หรือไม่ เพราะการเรียนจะทำให้รู้จักตัวเองชัดขึ้น มากไปกว่านั้นคือ มีความหนักในหน้าที่เพราะอาจต้องทำงานกับคนที่มีปัญหาคล้าย ๆ กับเรา
เมื่อไหร่ที่ควรเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ
สังเกตว่าอะไรที่เกินปกติ โดยวัดกับไม้บรรทัดของตัวเอง เช่น เคยทำได้ จัดการได้มาตลอด แต่ ณ ตอนนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว และต้องการใครซักคนที่จะทำให้เราเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
โดยไม่ต้องรอให้มีอาการอย่างชัดเจนเช่น นอนไม่หลับ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นต้น
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
Post Views: 2,568