เราพาทุกคนย้อนอดีตไปในสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่น่าจะคิดถึงกัน และไม่มีอะไรที่สามารถมาแทนความอบอุ่นใจนี้ได้ นั้นก็คือ “น้องเน่า” สัญสักษณ์แทนใจในวัยเด็กของเรา 😀
แบ่งปันเรื่องราว น้องเน่า สัญลักษณ์แทนใจในวัยเด็ก
เชื่อว่าเกือบทุกคนเคยมีน้องเน่าเป็นของตัวเอง บางคนอาจจะมีชื่ออีก ๆ เช่น อีเปรี้ยว เพราะเราอยู่กับมานานมากจนกลิ่นเปรี้ยวถึงจะซักจนหอมแล้วแต่เราก็ยังเรียกว่าอีเปรี้ยวอยู่ น้องเน่าเป็นผ้าห่มสีขาว
บางคนเป็นหมอน เป็นตุ๊กตา ที่ใช้ตั้งแต่เด็ก ๆ แต่พอโต มันเริ่มลายจาง มันเริ่มขาด แต่เรายังเอาไว้นอนกอดอยู่ พอวันหนึ่งมันหายไป เราทั้งรู้สึกงง เสียใจ คิดถึง เพราะน้องเน่ามีคุณค่าทางจิตใจ มีความทรงจำดี ๆ ร่วมกันกับเรา
Transitional Object วัตถุเปลี่ยนผ่าน
นักจิตวิทยาเด็กได้กล่าวไว้ว่า Transitional Object คือ อาการติดสิ่งของของเด็ก ที่เริ่มตอน 1-3 ขวบ เช่น ตุ๊กตา หมอนข้าง ผ้าห่ม หรือบางคนอาจจะติดข้อศอกแม่ ติดการสกินชิพ ซึ่งอาการติด จะค่อย ๆ หายไปเมื่อเรา
เติบโตขึ้น ตามความหมายของ Transition เลยที่พอเราโตเราอาจจะไม่รู้สึกหรือมีหรือไม่มีมันแล้วก็ได้ Transition ใช้อธิบายถึงช่วงวัยว่าตอนเด็กเราต้องการ พอเติบโตเข้าสู่อีกวัยเราอาจจะไม่ต้องการแล้ว
อีกความหมายหนึ่งจากเว็บไซต์ Refinery29 ที่สิ่งของเหล่านี้ถูกเรียกว่า Transitional Object เป็นเพราะใช้อธิบายถึงการที่ผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่เลี้ยง “ไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว”
คือ Transit หรือ Move ไปอยู่ที่อื่น เช่น ผู้ดูแลของเด็กอยู่อีกห้องหนึ่ง เด็กเลยต้องการบางสิ่งที่จะอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตุ๊กตา ของเล่น หรือผ้าห่ม
แล้ว Transition Object เรียกได้อีกอย่างว่า Attachment Objects นักจิตวิทยาพัฒนาการกล่าวไว้ว่า ที่เรียกแบบนี้เพราะ สิ่งของเหล่านี้สามารถสร้างความรู้สึกสบายใจ ปลอดภัยทางจิตใจ ให้กับเด็กได้
ช่วย Transit เด็กที่ต้องการการดูแลและพึ่งพาจากพ่อแม่มาก กลายเป็นต้องการตรงนี้น้อยลง เพราะมี Object ช่วย
คนยุคมิลเลนเนียล หรือผู้ที่เกิดในช่วงปี 1980-2000 ก็มีแนวโน้มยึดติดกับ Comfort Object มากขึ้น จากข้อมูลเว็บไซต์ The Cut เขาได้กล่าวไว้ว่า เพราะคนยุคมิลเลนเนียนต้องการให้สภาพแวดล้อมที่เขาโยกย้าย
ไม่ว่าจะเป็น การย้ายถิ่น การไปเรียนมหาลัย การแยกออกไปอยู่คนเดียวเมื่อเติบโตขึ้น ยังอยากมีอะไรที่คล้ายสภาพแวดล้อมบ้านหรือน้องที่เขารู้สึกปลอดภัย จึงมีความยึดติดกับ Comfort Object
น้องเน่า มีผลต่อจิตใจ จริงไหม?
- ถ้าสำหรับเด็ก เป็นเรื่องปกติมากที่จะติดน้องเน่า จากเว็บไซต์ the guardian มีการศึกษาพบว่า เด็กจะชอบน้องเน่าของตัวเองมากกว่าของเลียนแบบของเน่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เด็กต้องนอนแยกกับพ่อแม่ ทำให้ติดน้องเน่า เป็นเรื่องของการหาที่พึ่งทางจิตใจ
- ในเว็บไซต์ Babyspark น้องเน่าที่เราติด ๆ กันคนยุโรปในวัยเด็กจะติดมากกว่าคนเอเชีย เพราะเขาแยกห้องนอนตั้งแต่เด็ก ๆ การมีน้องเน่าก็เหมือนการทดแทนความรู้สึกของพวกเขา
- เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ความมั่นใจ และลดความวิตกกังวล เช่น ถ้าเรารู้สึกกลัวมาก ๆ หรือต้องอยู่ห่างไกลกับพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งคนที่เรารักไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหน น้องเน่าก็เปรียบเสมือนของแทนใจที่เขาเหมือนฝากไว้กับเราหรือตัวแทนที่ทำให้เรารู้สึกอุ่นใจ
- แต่สำหรับผู้ใหญ่ น้องเน่าอาจยังสำคัญสำหรับบางคนอยู่ มีร้านสำหรับซ่อมน้องเน่า ชื่อว่า ‘ร้านรับซ่อมความทรงจำ’ โดยเจ้าของอินสตาแกรม sewing_thing ชื่อคุณตุ๊ก เขาเล่าว่าได้แรงบันดาลใจจากแม่บ้านญี่ปุ่นที่ซ่อมตุ๊กตาโดเรมอนเก่าให้เหมือนใหม่ เลยอยากลองทำบ้าง เรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่าน้องเน่าไม่ใช่แค่ของเก่า ๆ ที่ต้องทิ้ง หลายคนเลือกซ่อม เพราะสิ่งนี้ยังคงมีความหมายเสมอ
ตุ๊กตาเน่า เพราะอะไรถึงมีผลต่อจิตใจ?
เป็นเซฟโซน
- เวลานอนกับน้องเน่าจะรู้สึกปลอดภัย ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เพราะรู้สึกว่าสบายใจ
- จาก The Guardian บอกว่าน้องเน่าเปรียบเสมือน Emotional Comfort สิ่งที่สร้างความสบายใจ มีคนหนึ่งเล่าว่า ยังคงนอนกับผ้าห่มผืนเดิม เพราะเป็น Sleep Ritual ไปแล้วจริง ๆ Ritual แปลว่าพิธีกรรม แต่ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เหมือนรูทีนบางอย่างที่เฉพาะเจาะจงสำหรับบางคนเท่านั้น คือ เวลานอนต้องมีผ้าห่มนี้ไม่มีไม่ได้
- มีการสำรวจพบอีกด้วยว่า ผู้ใหญ่หลายคนยังคงเก็บหรือนอนกับตุ๊กตาเก่า ๆ ซึ่งการทำแบบนี้ส่งผลดีกับ คนที่มี Self-Esteem ต่ำ เพราะจะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลได้
เป็นวิธีฮีลใจ
- บางคนอาจจะชอบดูซีรีส์ บางคนอาจจะชอบไปเที่ยวกับเพื่อน เพราะงั้นการแค่กลับบ้านมาแล้วนอนกอดน้องเน่า อาจเป็นวิธีฮีลใจวิธีหนึ่งสำหรับบางคนเหมือนกัน
เป็นกลไกทางจิตวิทยา
- ในทางจิตวิทยามี Defense mechanism อันหนึ่งที่เรียกว่า Regression เป็นกลไกป้องกันจิตใจจากสิ่งที่ทำให้กังวล ไม่สบายใจ โดยจะมีพตกย้อนกลับไปเป็นเด็ก อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งการที่เราเล่น,พูดคุยกับตุ๊กตาเน่าเป็นพฤติกรรมหนึ่งในนั้นเหมือนกัน
การปลอบโยนตนเอง (Self-soothing)
- เมื่อเรารู้สึกเสียใจที่โดนพ่อแม่ดุในวัยเด็ก เราจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เสียใจ เพราะเรามีตุ๊กตาเป็นเพื่อนคอยปลอบใจ ช่วยเยียวยาใจของเขาให้มีความสุขอีกครั้ง
ความสัมพันธ์แบบ growth up together
- น้องเน่าก็เหมือนเพื่อนเราคนนึงที่เติบโตไปกับเรา อยู่กับเราตอนเด็กยันโต ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นหัวใจ
ติด น้องเน่า แบบไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ?
1. มีอาการหูแว่วหรือเห็นภาพหลอน เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงจากตุ๊กตา แล้วพูดคุยโต้ตอบกัน , เห็นภาพหลอน เห็นตุ๊กตาขยับได้ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
2. อ้างอิงถึง Podcast ของ R U OK ? ได้ประเด็นนี้มา คือ บางคน treat ตุ๊กตา เป็นเหมือนคนในครอบครัว เป็นเรื่องของความรักความผูกพัน แต่ถ้าถึงขั้นที่ว่า ตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต ต้องกินข้าว ต้องอาบน้ำ ต้องพาออกไปข้างนอก ห้ามใครยุ่งใครด่าว่า อันนี้อาจไม่ใช่เรื่องปกติแล้ว
3. การที่เราทำแล้วเรามีความสุข เช่น การตั้งชื่อให้สิ่งรอบตัว แปลว่าเราเป็นคนที่มีความ empty ต่อสิ่งรอบตัว เห็นคุณค่ากับสิ่งรอบตัว แต่ถ้าเราได้ยินหรือรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นตอบโต้เรากลับอาจจะต้องไปพบแพทย์เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะผิดปกติ
ถ้าวันนึงไม่มี หมอนเน่า แล้วเราจะหา วิธีอื่นอย่างไร เพื่อหาที่พึ่งทางใจ?
- ต้องยอมรับสิ่งวัตถุต้องเดินทางผ่านเวลาที่ทำให้เสื่อมสภาพลง บางอย่างเราต้องยอมรับว่าต้องตัดใจทิ้งลงไป มันอาจจะไม่ได้อยู่กับเราตลอดไปได้อยู่
- มีสิ่งอื่นที่มาทดแทนไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ ที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจของเราได้
อ้างอิง
Instagram Sewing_Thing
What is a Transitional Object?
the adults who sleep with soft toys
childhood blanket transition
Meet The Adults Who Still Sleep With Security Blankets
Security Objects
Post Views: 2,435