บาดแผลจากการถูกหักหลัง จะทำยังไงเมื่อความรักนำไปสู่แผลใจและ สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ Learn & Share นี้ขอพาทุกๆ คนมารู้จักกับ Betrayal Trauma ว่าคืออะไร ส่งผลเสียอย่างไร
และควรรับมืออย่างไรเมื่อคนที่เรารักและไว้ใจกลายเป็นคนที่ทำให้เราต้องเจ็บทั้งตัวและใจ
Betrayal Trauma บาดแผลจากการถูกหักหลัง
ความปวดใจเพราะถูกทรยศ (Betrayal trauma) เป็นคำที่คิดค้นขึ้นมาโดย เจนนิเฟอร์ เฟรด (Jennifer Freyd) นักวิจัย ด้านจิตวิทยาชาวอเมริกัน เมื่อปี 1994
เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอาการบาดเจ็บ (ทางใจ) จากการถูกหักหลัง เมื่อผู้คน สถาบันที่บุคคลที่คน ๆ หนึ่งที่เราไว้วางใจ กลับละเมิดความไว้วางใจต่อกัน
หรือ เป็นพฤติกรรมที่เรารู้สึกไม่ไว้วางใจ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเรา ทำให้คน ๆ นั้นเกิดความเครียด ความผิดหวัง และความบอบช้ำอย่างรุนแรงทางจิตใจ
สามารถเกิดขึ้นได้จากรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย ดังนี้
ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ เช่น เด็กที่ต้องเติบโตมากับการถูกพ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดูทารุณทำร้าย*
ความสัมพันธ์เชิงระบบ เช่น ระบบการทำงานขององค์กร ระบบการสนับสนุนทางสังคม ระบบกฎหมาย
ความสัมพันธ์กับคนรัก เช่น การถูกคู่รักทารุณทำร้ายร่างกาย การถูกนอกใจ
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น มีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน สมาชิกในครอบครัว
รูปแบบต่าง ๆ ของ Betrayal
Institutional betrayal การทรยศต่อสถาบัน
การทรยศต่อสถาบันเป็นแนวคิดที่อธิบายโดยนักจิตวิทยา เจนนิเฟอร์ เฟรย์ด ซึ่งหมายถึง “การกระทำผิดที่สถาบันกระทำต่อบุคคลที่พึ่งพาสถาบันนั้น
รวมทั้งความล้มเหลวในการป้องกันหรือตอบสนองอย่างสนับสนุนต่อการกระทำผิดของบุคคล เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ ที่เกิดขึ้นภายในบริบทของสถาบัน”
เป็นการขยาย ทฤษฎี บาดแผลจากการทรยศเมื่อสถาบันต่าง ๆ ในสถานที่ทำงานเช่นกัน บุคคลจำนวนมากต้องเผชิญกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การล่วงละเมิดทางจิตใจ และอื่น ๆ
แล้วพอการหยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพูดมักจะทำให้คนมองว่าพวกเขาเป็นคนเอาแต่ใจหรืออ่อนไหวเกินไป การปฏิบัติที่ ไม่ดีจะถูกอธิบายหรือเพิกเฉย การกระทำเช่นนี้
จะปฏิเสธอันตรายที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้น บิดเบือนความเป็นจริง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง และอับอาย นี่คือการหักหลังทางระบบประเภทหนึ่ง
Government betrayal การทรยศทางรัฐบาล
ความเจ็บปวดจากการถูกทรยศโดยรัฐบาลหรือองค์กรทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง เช่น ความรู้สึกว่าถูกชักจูงให้เข้าใจผิด ถูกหักหลัง หรือถูกละเมิดสิทธิโดยหน่วยงานของรัฐ
Betrayal Blindness ปฎิเสธความรู้สึกไม่ยอมรับว่าถูกหักหลัง
การยอมให้เขาหักหลังทั้ง ๆ ที่เจ็บ เรียกว่า Betrayal Blindness ไม่ยอมรับรู้ว่าตัวเองถูกหักหลัง ที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองเจ็บปวดเพราะถูกหักหลัง
เพราะรู้สึกว่าตัวเองยังต้องพึ่งพาสถาบันหรือ คนนั้น ๆ รู้สึกว่าพวกเขาเหล่านั้น คือ เสาหลัก เป็นผู้มีพระคุณ เป็นฮีโร่ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาอาจจะไม่จริงใจ
บาดแผลจากการถูกหักหลัง
1. การเลือกที่จะมองข้ามปัญหา หรือ Betrayal Blindness คนที่เป็นเหยื่อจะไม่เห็นถึงปัญหา ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว และปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อไป
2. มีปัญหาเรื่องการเชื่อใจ หรือ Trust Issue เพราะเคยโดนหักหลัง โดนทำร้ายไม่ว่ากายหรือใจ เมื่อออกจากความสัมพันธ์แล้ว อาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อใจในความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใหม่
3. มุมมองต่อความรักเปลี่ยนไป อาจจะเห็นบ่อยในกรณีพ่อแม่ลูก คือเมื่อเราอยู่ในความสัมพันธ์แบบนั้นนานๆ แล้วออกมาไม่ได้ เราจะเผลอปรับความคิดของเราไปเรื่อย ๆ ว่าปกติของความรักหน้าตาเป็นแบบนี้
4. ตกเข้าไปใรูปแบบเดิมซ้ำๆ เมื่อความหมายของความรักเปลี่ยนไป ก็ยากมากที่ความสัมพันธ์ในครั้งต่อ ๆ ไปจะดีขึ้น
5. นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรค PTSD หรืออาการนอนไม่หลับ
การรักษา บาดแผลจากการถูกหักหลัง
1. ถอยออกมามองความสัมพันธ์นั้นเหมือนคนนอก ไตร่ตรองตามคึวามเป็นจริงว่า การอยู่กับคนคนนี้ ทำให้สุขภาพใจเราดีจริง ๆ ไหม และเราควรอยู่ในความสัมพันธ์ต่อไปหรือไม่
2.ยอมรับทุกความรู้สึก อย่าหนี ไม่ว่าจะโกรธ เสียใจ กลัว ยอมให้ตัวเองได้ว่าตัวเองถูกหักหลัง
3. กู้คืนใจตัวเองกลับมา ลองนึกกับตัวเองว่าอะไรที่ทำแล้วมีความสุข คนแบบไหนที่เราเคยอยู่ด้วยแล้วเราสบายใจ ลองไปหาคนนั้น ทำกิจกรรมนั้น ๆ ที่ทำให้เรามีความสุข หาตัวเองให้เจอ
บทความอื่น ๆ ของ ALLJIT BLOG
ที่มา :
Institutional Betrayal and Institutional Courage
Betrayal Trauma บาดแผลจากการถูกหักหลัง
What is “institutional betrayal”?
Betrayal Trauma’s Divisive Narrative
Trauma
The Cause and Effect of Partner Betrayal Trauma
The Ultimate Guide To Betrayal Trauma Recovery
Post Views: 16