พฤติกรรมการนอนของเด็ก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จะสร้างนิสัยการนอนให้เด็กอย่างไร ให้นอนหลับเป็นเวลาและนอนหลับแบบมีคุณภาพ
พฤติกรรมการนอนของเด็ก สำคัญอย่างไร
เมื่อพูดถึงการนอนของทารกแรกเกิด จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะนอกจากจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย ยังส่งผลไปถึงอารมณ์และสติปัญญาของเด็กได้อีกด้วย
โดยผลการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน ซึ่งในขณะเดียวกันหากระยะเวลาการนอนของทารกไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิด ก้าวร้าว และงอแง
รอบการนอนหลับของลูกน้อยวัยแรกเกิดแต่ละครั้งจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ และส่วนใหญ่ที่ลูกน้อยหลับเรียกว่าเป็นการหลับฝัน ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาการของสมองของเด็กทารก
การนอนหลับเพียงพอ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำดีขึ้น
การนอนหลับที่เพียงพอ จะเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของวันรุ่งขึ้น และทำให้จำสิ่งที่เรียนรู้ของวันก่อนหน้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนอนหลับส่วน Non-rapid Eye Movement Sleep จะมีคลื่นสมองชนิดหนึ่งเกิดขึ้นมา
เรียกว่า Sleep spindles ซึ่งการเกิด Sleep spindles ในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิด Memory refreshment ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวันต่อมาดียิ่งขึ้น
และมีการศึกษาว่า sleep spindles ยังสัมพันธ์กับ IQ ของเด็กและวัยรุ่นด้วย นอกจากนี้ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ความจำระยะสั้นนั้น เป็นการเก็บข้อมูลของสมองส่วน Hippocampus
และจะส่งข้อมูลไปเก็บความจำระยะยาวที่เนื้อสมองส่วน Cerebral cortex ซึ่งจะทำงานได้ดีช่วงหลับลึก หรือ Slow wave sleep นั่นเอง
กล่าวโดยสรุป คือ การนอนหลับให้เพียงพอ มีผลต่อ การเรียนรู้ ความจำ และยังมีผลต่อ Executive function ของสมอง สมาธิ และการควบคุมอารมณ์อีกด้วย
พฤติกรรมการนอนของเด็ก แต่ละช่วงวัย
1.อายุแรกเกิดถึง 1 เดือน
นอนหลับรวมกัน 18-20 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน แต่ระหว่างวัน รวมถึงกลางคืน คุณแม่จะค่อยปลุกน้อง ทุก ๆ 2- 3 ชั่วโมง เพื่อดื่มนม ช่วงเวลานี้ผู้ปกครองแทบจะไม่ได้นอนกลางวันและกลางคืนเลย
วิธีที่จะช่วยให้น้องหลับสบาย : ชุดที่สวมใส่คือ ผ้าห่อหุ้มตัวเด็ก คือ ทำให้เด้กรู้สึกว่าอบอุ่นตลอดเวลา
2. อายุ 2 เดือนถึง 3 เดือน
น้องก็จะนอนหลับรวมกันประมาณ16-17 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน ผู้ปกครองพยายามหลับพร้อมกันกับน้องไปเลย กลางวันน้องจะนอนประมาณ 3-4 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
วิธีที่จะช่วยให้เด็กหลับสบาย : ชุดที่สวมใส่ให้น้องควรจะเป็นชุดที่ใส่สบายและมีผ้าห่อตัวห่อหุ้มตัวน้อง เมื่อน้องกลิ้งตัวไปมาได้ ให้หยุดใช้ผ้าห่อตัว และสวมใส่เสื้อผ้าแทน
3. อายุ 4 เดือน
น้องจะนอนหลับรวมกันประมาณ 14-16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน เริ่มฝึกน้องนอนยาวในตอนกลางคืน ที่สำคัญคือ คุณแม่พักผ่อนไปพร้อม ๆ กับน้อง เพื่อให้น้องนอนยาวที่สุดในช่วงกลางคืน
ไม่ควรให้นมมื้อดึกกับน้อง เมื่อน้องอายุเข้า 4 เดือน อาจจะทำให้น้องฟันผุได้ง่าย ควรฝึกวินัยโดยการไม่ทานมื้อดึก
วิธีที่จะช่วยให้เด็กหลับสบาย : กลางวันน้องจะนอนประมาณ 3 ครั้ง ผู้ปกครองควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายตามสภาพอากาศได้เลย
4. อายุ 5 เดือนถึง 6 เดือน
น้องจะนอนหลับรวมกันประมาณ 13-16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน ช่วงเวลากลางคืนเด็กสามารถนอนยาวได้เกือบ 10-12 ชั่วโมง เริ่มฝึก นอนตอนเช้า 1 ครั้ง และตอนบ่าย 1 ครั้ง บางคนอาจจะนอน 3 ครั้ง
วิธีที่จะช่วยให้เด็กหลับสบาย : ให้เรารอคอยประมาณ 5 นาที ก่อนตอบสนองเวลาที่น้องร้องเรียก
5. อายุ 6 เดือนถึง 12 เดือน
น้องจะนอนหลับรวมกันประมาณ 13-16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวันน้องสามารถนอนหลับยาวตลอดคืนโดยที่ ไม่ต้องให้นมมื้อดึก เพราะน้องสามารถกินอาหารที่เป็นพวกข้าว ทำให้น้องอยู่ท้อง
6. อายุ 1 ปีถึง 2 ปี
น้องจะนอนหลับยาวรวมกันประมาณ 11-14 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน น้องจะเริ่มนอนตั้งแต่หัวค่ำเวลา 1 ทุ่มหรือ 2 ทุ่ม
7. อายุ 3 ปีถึง 5 ปี
น้องจะนอนหลับยาวรวมกันประมาณ 10-13 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน น้องเริ่มนอน 2 ทุ่ม ไม่ควรให้น้องนอนดึก เพราะมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต เวลาการนอนของน้องจะลดลงเหลือการนอนเพียง 1 ครั้ง/วัน
วิธีช่วยให้เด็กมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี
การเข้านอนเป็นเวลาเป็นควรเริ่มจากการสร้าง “กิจวัตรประจำวันที่คาดเดาได้สม่ำเสมอ” มีกิจกรรมก่อนนอน ที่ผ่อนคลาย และช่วยให้เด็กรู้ว่าถึงเวลานอน เช่น อ่านนิทาน เล่าเรื่องสนุก พูดคุยกับลูก
นอนหลับกลางคืนห้องนอนควรมืด ไม่มี แสงรบกวน จัดห้องให้เงียบสงบ และอุณหภูมิเหมาะสม และ ค่อย ๆ ลด จำนวนมื้อดึกลง
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนเข้านอนของเด็ก
– ไม่ควรดูดนมจนหลับ กินอาหาร หรือ ขนมหวานก่อนนอน
– ไม่ควรสบตาเด็ก เพราะเป็นการกระตุ้นเด็กให้อยากเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อ
– เมื่อเด็กร้องไห้กลางดึกไม่ควรตอบสนองด้วยการดูดเต้า หรือดูดนมทันที
– ห้ามให้เด็กทารกนอนหลับในท่าคว่ำเด็ดขาด เพราะ ถ้าน้องนอนท่าคว่ำ หน้าน้องอาจไปแนบกับหมอน อาจจะทำให้หายใจไม่สะดวก
– ผู้ใหญ่ไม่ควรขู่เด็กว่าถ้าไม่นอนจะมีสัตว์หรือสิ่งไดมาทำร้า เพราะ อาจจะให้น้องเกิดความกังวล จนไม่กล้าที่จะนอน
– ไม่ควรหลีกเลี่ยงการเล่นสนุกหรือ กิจกรรมที่ตื่นเต้นก่อนนอน เพราะ ว่า น้อง ๆ อาจจะตื่นตัว อยากเล่นต่อ
เทคนิคที่ใช้ได้ผลจากประสบการณ์ของแม่ ๆ
น้องอายุ 1 ปี เวลาจะนอนคุณแม่จะทำกิจกรรมแบบเดิม ๆ ซ้ำในทุก ๆ วัน เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าจะได้เวลานอนแล้ว เช่น
เวลา 17.00น. พาลูกเดินเล่นชมธรรมชาติ
เวลา 17.30 น. อาบน้ำตอนเย็นค่ะ
เวลา 18.00 น. กินนมค่า แปรงฟัน
เวลา 18.30 น. อ่านหนังสือนิทานค่ะ
เวลา 19.30 น. เปิดไฟสลัว ๆ น้องอาจจะนอนดิ้นไปมา
เวลา 20.00 น. ลูกเข้านอน
ที่มา :
การนอนหลับ กลไกสำคัญพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อย
ทารกควรนอนกี่ชั่วโมง?
บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก
Post Views: 1,230