การพึ่งพาคนอื่นเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่ถ้าเราพึ่งพาคนอื่นมากเกินไปจนเราไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือถ้าคนที่เราพึ่งพาเขาเริ่มรู้สึกอึดอัดกับเรา เราจะทำอย่างไร ..
เพราะมนุษย์จำเป็นต้อง พึ่งพาคนอื่น
พออ่านจากหัวข้อแล้วเดี๋ยวจะเข้าใจกันผิดว่า เอ๊ะ การพึ่งพามันไม่ดีหรือ ใคร ๆ ก็ต้องพึ่งพากัน และใช่เลยการพึ่งพากันเป็นเรื่องปกติ เพราะ “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” แนวคิดดังกล่าวมาจาก อริสโตเติล
อริส โตเติล ให้แนวคิดไว้ว่า มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เพราะต่างคนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน ติดต่อสัมพันธ์กัน และทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ เพื่อสร้างสรรค์พลังหรือผลงานอันยิ่งใหญ่ได้
เพราะเราไม่สามารถสร้างอาคารบ้านเรือน ส่งจรวดไปดาวอังคาร หรือเปิดร้านอาหารใหญ่โตได้ด้วยตัวคนเดียว การพึ่งพากันเป็นเรื่องปกติ แต่การพึ่งพาจนเกิดความไม่ปกติก็มีเหมือนกัน
Dependent Personality Disorder
เป็นโรคหนึงที่อยู่ในส่วนของโรค Personality Disorder หรือว่า ความผิกปกติทางบุคลิคภาพ ซึ่งก็จะแยกออกมาเป็น คลัสเตอร์ A B และ C อีก และแต่ละคลัสเตอร์ ก็จะแบ่งแยกออกมาอีกหลายตัวโรคอีก
ในส่วนของตัว Dependent Personality Disorder บุคลิกภาพแบบพึ่งพาผู้อื่น ถูกจัดอยู่ในคลัสเตอร์ C เป็นอาการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ ปฏิเสธผู้อื่นไม่เป็น ไม่มีความมุ่งมั่น
กลัวการทะเลาะเบาะแว้ง ต้องการอยู่กับผู้อื่นตลอดเวลา กลัวการอยู่คนเดียว ยอมทำตามความต้องการผู้อื่นมากกว่าความต้องการของตน ไม่ชอบการเป็นผู้นำ มักเป็นผู้ตาม และพอมีคำว่า Disorder ห้อยท้ายแล้ว
จึงมีความไม่ปกติตามมา เป็นพฤติกรรมที่ยอมตามและยอมจำนนคนอื่น ต้องพึ่งพิงคนอื่นตลอดเวลา ไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรด้วยตนเองในชีวิตประจำวัน พอรู้ถึงความหมายคร่าว ๆ
ก็รู้สึกว่าจุดประสงค์ของสิ่งนี้คือต้องพึ่งพาคนอื่นจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ไม่กล้าตัดสินใจอะไร ทำอะไรตามคนอื่น โดยอาจจะไม่ได้ตรงตามความต้องการของตัวเอง
พฤติกรรมของกลุ่มคนที่เป็น Dependent Personality Disorder
- หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
- หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบส่วนตัว
- เสียใจ รู้สึกแย่ ได้ง่ายจากการวิจารณ์หรือไม่ยอมรับ
- หมกมุ่นอยู่กับความกลัว การถูกทอดทิ้งมากเกินไป
- กลายเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่โต้ตอบ
- รู้สึกเสียใจมากหรือ ทำอะไรไม่ถูก เมื่อความสัมพันธ์สิ้นสุดลง
- มีปัญหาในการตัดสินใจโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น
- มีปัญหาในการแสดงความไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น
- ยอมให้คนอื่นตัดสินใจในเรื่องของชีวิตของตัวเอง เช่น ตัดสินใจว่าเราไม่ควรคบกันคนนั้นคนนี้
- ไม่อยากเป็นผู้นำ สะดวกใจกับการเป็นผู้ตามมากกว่า เพราะไม่อยากรับผิดชอบความรู้สึกของคนหลาย ๆ คน
เปรียบเทียบ Attachment Anxious และ Dependent Personality Disorder
Attachment Theory หรือ ‘ทฤษฎีความผูกพัน’ คือทฤษฎีที่ว่าถ้าเราถูกเลี้ยงดู ถูกรัก มาแบบไหนในวัยเด็กมีแนวโน้มว่าเราจะเป็นแบบนั้นในตอนโต
ซึ่งทฤษฎีนี้จะมีอยู่ 4 อันแต่วันนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบของ Attachment Anxious รูปแบบความสัมพันธ์แบบวิตกกังวล คนที่มีรูปแบบความสัมพันธ์แบบวิตกกังวล
ในวัยเด็กมักจะไม่ได้รับความใส่ใจ ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องอาจจะด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่างส่งผลให้ตอนโตรู้สึกกังวล โหยหาความรัก อยากได้รับการเอาใจใส่ตลอดเวลา
เมื่อไม่ได้อยู่กับคนรักจะไม่มีความมั่นใจ เอาความสุขไปผูกกับคนรักมากเกินไป พอไม่ได้อยู่กับคนรักจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า
จะเห็นได้ว่าระหว่าง Attachment Anxious และ Dependent Personality Disorder มีความคล้ายกัน ใกล้เคียงกันแต่ไม่ใช่แบบเดียวกัน
ถูกพึ่งพามากเดินไป จนทำให้รู้สึกอึดอัด
ความรู้สึกน่าอึดอันนี้บางครั้ง หรือในหลาย ๆ ครั้งก็มาในรูปแบบของความรัก คู่รัก หรือครอบครัว เรียกว่า Codependency หมายถึง บุคลิกภาพแบบที่พึ่งพาอีกฝ่ายหนึ่งทางความรู้สึก
เกิดจากความรู้สึกไร้ตัวตนจึงทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือคุณค่าของตัวเองมากโดยที่มันเกินไป เหมือนเราเอาตัวเราไปพิงไว้ที่ใครอีกคน
ถ้าเขาล้ม หรือเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนไป เราก็อาจจะล้มลงไปด้วย เพราะเราเอาความรู้สึกคนอื่นเป็นฐานยืนให้กับตัวเอง จึงนำไปสู่พฤติกรรมต่าง ๆ
ที่เราพยายามทำเพื่อรักษาความสัมพันธ์ไว้ เช่น ตามใจคนแฟนมากไม่กล้าปฏิเสธ และมีความกังวลอย่างมากต่อการสูญเสียอีกฝ่าย ต้องการยอมรับจากผู้อื่นเพื่อที่ตัวเองจะได้มีความสุข
รวมไปถึงการพยายามเอาใจ คนรอบข้างตลอดเวลา ในทางกลับกัน ผู้ที่ต้องถูกพึ่งพิง และอยู่ในความสัมพันธ์ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ต้องตอบสนองความต้องการของคนอื่นตลอดเวลา
ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจเวลาอยู่ร่วมกัน คนรัก และสุดท้ายความสัมพันธ์ก็ล้มเหลวในที่สุด
วิธีรักษาในทางการแพทย์
หากว่าเรารู้สึกว่ากำลังมีสภาวะ Dependent Personality Disorder มีความคิดลบกับตัวเองอย่างต่อเนื่อง ไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ ต้องให้คนอื่นนำจนรู้สึกไม่เป็นตัวเอง
การไปพบแพทย์ก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเพื่อตัวของเรา ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีอาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิด Dependent Personality Disorderได้ เช่น ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก กับเพื่อน ผู้ปกครอง หรือครู ก็สามารถช่วยป้องกันได้
การบำบัดด้วยการพูดคุยถือเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด จุดมุ่งหมายคือเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีภาวะนี้สามารถเลือกทางเลือกในชีวิตได้อย่างอิสระมากขึ้น ยา อาจช่วยรักษาอาการทางจิตอื่น ๆ เช่น ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความผิดปกตินี้
แนวทางการปรับตัวไม่ให้ พึ่งพาคนอื่น มากจนเกินไป
ถ้าเรามีความรู้สึกกังวลว่าเราพึ่งพิง พึ่งพาคนอื่นมากจนเกินไปไหมนะ แล้วรู้สึกว่าอยากปรับนิสัยก็มีวิธีง่าย ๆ จาก missiontothemoon
1.ดูแลตัวเอง คือสิ่งสำคัญที่สุด ดูแลตัวเองในที่นี้ คือทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ สุขภาพกาย สุขภาพใจ เมื่อเรามีพื้นฐานที่อยู่ในตัวเราที่ดี การพึ่งพาคนอื่นในแบบที่ทำให้ใจพัง น่าจะไม่เกิดขึ้น
2.มีขีดจำกัดที่ชัดเจน แน่นอนเราต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่แล้วในชีวิตของเรา แต่เราจะพึ่งพาเรื่องอะไรบ้าง เรื่องไหนจำเป็นบ้าง และพึงพาใครบ้าง ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำการบ้านกับตัวเอง
3.ยอมรับว่าบ้างเรื่อง เราก็ต้องพึ่งพากันและกัน เราขอความช่วยเหลือได้ มันเป็นเรื่องปกติ
Post Views: 3,044