นอนไม่หลับชอบ สะดุ้งตื่นกลางดึก

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหมที่นอนไม่หลับ ” สะดุ้งตื่นกลางดึก ” หากเป็นบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าการนอนของเราไม่ปกติ 

 

 

นอนไม่หลับชอบ สะดุ้งตื่นกลางดึก

จากข้อมูลของเว็บไซต์ Thammasat กล่าวไว้ว่า การนอนหลับของแต่ละคนขึ้นอยู่กับกลไก 2 ระบบ คือ 

 

1.ระบบนาฬิกาชีวิต (Circadian process) ระบบนี้จะควบคุมการหลับตื่นผ่านฮอร์โมน อุณหภูมิร่างกาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้มีวงจรการนอนอยู่ประมาณ 24.2 ชั่วโมง 

 

2.ระบบสะสมความง่วง (Homeostasis process) หมายถึง เวลาตื่นอยู่ ร่างกายจะเริ่มสะสมความง่วงจนได้ที่ แล้วถึงจะต้องการการนอน เมื่อได้นอน ความต้องการนอนจะ ลดลง

 

การนอนมีหลายระดับ คือ “หลับลึก” กับ “หลับตื้น” ช่วงต้นของคืนจะหลับลึกมากกว่าหลับตื้น ส่วนปลายคืนจะหลับตื้นมากกว่าหลับลึก ถ้าหลับตามวงจร ร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่ 

 

แต่ละคนจะมี “ระบบการนอน” กับ “ระดับการนอน” แตกต่างกัน ทำให้บางคนหลับเร็วบางคนหลับช้า นอกจากนี้ยังต้องการชั่วโมงการนอนไม่เท่ากัน โดยจำนวนชั่วโมงขึ้นกับหลายปัจจัย 

 

สะดุ้งตื่นกลางดึก เกิดจากอะไร

1. การกิน

ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รับประทานอาหารมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการขาดวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน B6

2. ความเครียด

ความเครียดและความวิตกกังวลสามารถปลุกเรายามดึกได้ การทำสมาธิและการหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ สามารถบรรเทาอาการในบางคนได้ในบางครั้ง

3. สภาพแวดล้อม 

สภาพแวดล้อมภายในห้องนอนไม่เหมาะสม มีสิ่งรบกวน เช่น แสง เสียง อากาศ กลิ่น ความสะอาด การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมปัจจัยเหล่านี้จึงสำคัญมาก ๆ

4. ความต้องการเข้าห้องน้ำ

ความต้องการเข้าห้องน้ำรบกวนการนอน อาจมาจากการดื่มน้ำมากเกินไป การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือโอเอบี (OAB)

 

สะดุ้งตื่นกลางดึก ที่ผิดปกติ 

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ healthgrades สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นกลางดึกมีหลากหลาย เช่น 

1. เป็นโรคเกี่ยวกับการนอน 

– โรคตื่นกลางดึก Middle Insomnia

– โรคหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea

– โรคขากระตุกขณะหลับ Periodic limb movement disorder

2. รับประทานยาบางตัว

การรับประทานยาบางตัวอาจทำให้มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก การปรึกษาแพทย์จึงเป็นเรื่องจำเป็น

3. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ในผู้หญิง ถ้าฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนลดลงก่อนถึงช่วงเป็นประจำเดือน จะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

 

ผลกระทบ สะดุ้งตื่นกลางดึก

1. อารมณ์

เครียด หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลง่าย

2. การทำงานของสมอง

ความจำไม่ดี สมาธิไม่ดี ส่งผลต่อการตัดสินใจ การเรียน การทำงาน

3. การขาดการพักผ่อนที่ดี

พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรงกายแรงใจ

 

เช็คตัวเองว่าที่เป็นอยู่ผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ

1. เช็คสภาพแวดล้อม

เช็คสภาพแวดล้อมว่ามีสิ่งรบกวนหรือไม่ หากไม่มีสิ่งรบกวนแต่ยังสะดุ้งตื่นกลางดึก อาจเป็นสัญญาณเตือนกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ผิดปกติ 

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

หากการสะดุ้งตื่นกลางดึกกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้รู้และจัดการสิ่งนั้นได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ

 

วิธีจัดการตัวเองเบื้องต้น

1. ไม่ฝืนนอน ไม่ดูนาฬิกาหาสิ่งผ่อนคลายทำ

2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์

3. หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า โดยการงดจ้องจอก่อนเข้านอน 15-20 นาที

4. หลีกเลี่ยงการเสพสื่อที่ตื่นเต้น เพราะสิ่งที่กระทบอารมณ์ จะทำให้ตื่นกลางดึกได้

5. พยายามใช้ชีวิตตามปกติ ไม่นอนตื่นสายกว่าปกติ ไม่งีบหลับกลางวัน ความรู้สึกเหนื่อยจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นในตอนกลางคืน ไม่สะดุ้งตื่นกลางดึก

 

อ้างอิง

– https://www.springnews.co.th/spring-life/820160

https://www.self.com/story/waking-up-at-night-reasons

https://tu.ac.th/thammasat-240364-med-expert-talk-insomnia

– https://www.healthgrades.com/right-care/sleep-disorders/10-causes-of-middle-of-the-night-insomnia

https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/up-in-the-middle-of-the-night-how-to-get-back-to-sleep