การ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้เราต้องเจอกับเรื่องราวและปัญหามากมาย เราจะทำอย่างไรให้ไม่เจ็บปวดเกินไป ตอนที่เราเป็นเด็กเรารู้สึกว่าทำไมมันดีจังเลยนะ
ทำไมกันนะตอนเราเป็นเด็กถึงอยากจะรีบโตไว ๆ อยากเป็นผู้ใหญ่จัง อยากมีอิสระ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วรสชาติของการเป็นผู้ใหญ่มันทั้งขม และไม่ได้สนุกอย่างที่เราคิดเลย
ในวัยเด็กทุกคนต้องเคยวาดฝันไว้ว่า โตมาเราอยากเป็นแบบไหน? อยากทำอาชีพอะไร? อยากไปเที่ยวที่ต่าง ๆ เมื่อเราโตขึ้น?
ความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่ต้องเจอ เมื่อ เติบโตเป็นผู้ใหญ่
ปัญหาที่ต้องเจอ เปลี่ยนแปลงไป
เพราะถ้ามองกันจริง ๆ ในวัยหนึ่งเรามีภูมิคุ้มกันเท่านี้ ปัญหานี้อาจจะหนัก แต่ถ้าเราเติบโตไปสู่อีกวัยหนึ่ง เรามีประสบการณ์ เข้าใจคนเข้าใจโลกมากขึ้นแล้ว
ปัญหาเดิมที่เคยเจออาจจะเบาปัญหาที่ต้องเจอ มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ใช่หนักขึ้นสำหรับทุก ๆ คน ปัญหาที่ต้องเจอแตกต่างกันไปแต่ละวัย
การอยากได้การยอมรับ
อยากเป็นที่ยอมรับจากคนที่เรารักจนกดดันตัวเองมากเกินไปจนทำให้เราไม่มีความสุข
อารมณ์ ความรู้สึก
นอกจากเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก ร่างกาย คงจะเป็นเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกของเรา เรื่องที่เราเคยร้องไห้ตอนเด็กโตมาเราอาจจะไม่ร้องไห้แล้ว
เมื่อเราโตขึ้นเราจะมีประสบการณ์ในการรับมือกับปัญหาที่มากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าบางปัญหาเราจะสามารถรับมือได้เพียงคนเดียว การที่มีใครสักคนอยู่ข้าง ๆ นั้นสำคัญมาก
การมีคนอยู่เคียงข้าง บางครั้งเราไม่สามารถก้าวผ่านปัญหาบางอย่างไปได้ด้วยตัวคนเดียว ถ้าเอาตามธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่ต้องพึ่งพากันและกันอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องผิดที่จะต้องนำมาตอกย้ำทำร้ายตัวเองซ้ำ ๆ เลย คนที่บอกตัวเองว่า เพราะเราแย่ ฉันไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ ที่จะจัดการกับสิ่งนี้
การยอมรับให้ได้ว่าเราอาจจะต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นเรื่องสำคัญ
เปรียบเทียบชีวิตและความสำเร็จของคนอื่นเมื่อเติบโตขึ้น
ขออนุญาตอ้างอิงถึงบทความ “คนกระโปกแห่งยุคสมัย 199x ทำไมเด็กเจนวายไม่ยอมโต” ของ The 101 World Life & Culture
ส่วนใหญ่เด็ก Gen Y มักจะรู้สึกผิดหวังที่เห็นว่าตัวเองไม่โต ยังใช้ชีวิตไม่มีคุณภาพ สภาพการเงินยังไม่มั่นคง
อีกจุดที่เห็นด้วยกับบทความนี้คือ กรอบทางสังคมกดดันว่าต้องเก่ง ไม่งั้นจะถูกรุ่นหลังแซง เป็นเหตุให้คนเจนวายมักจะแสวงหาความสุขทางใจ
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นอะไรที่เชื่อมโยงกับวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน เกม รวมถึงมีการกระทำไม่มีวินัยไม่เป็นผู้ใหญ่
น่าคิดเหมือนกันนะว่า แล้วใครกำหนดว่าต้องอายุเท่าไหร่ต้องทำอะไรหรือต้องมีอะไร หลาย ๆ ครั้ง การยึดตามกรอบความคิดค่านิยม ทำให้เราเกิดความทุกข์โดยไม่จำเป็นเลย
บางคนอาจเลยเถิดไปถึงขั้นว่า รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า
เติบโตอย่างไรให้มีความสุข
อยากแชร์โควทของ คิมแทรี จากซีรีส์ Twenty Five Twenty One “สำหรับฉัน ความสำเร็จคือการมีจิตใจที่ยืดหยุ่น ฉันต้องการเป็นคนที่แม้จะอยู่ในวัยชรา ก็ไม่ถูกจำกัดด้วยความคิด และจะทำอะไรก็ได้”
เป็นโควทที่ปลอบใจได้ทุกวัย ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ขอให้ใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ
ยอมรับว่าจะต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงแล้วปรับตัวไปตามสถานการณ์ เราไม่รู้หรอกว่าเราจะเจอกับอะไร ปัญหาที่เราได้ยินมา อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นกับเราไม่มีใครรู้
แต่ถ้าเรารู้จักยืดหยุ่น ค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ แก้ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยพาตัวเองผ่านวันยาก ๆ เหล่านั้นไปได้
อีกอย่างคือ ลองให้เวลาและไม่กดดันตัวเองจนเกินไป สำรวจตัวเองดี ๆ ว่าในช่วงวัยที่เราอยู่ เราต้องการอะไร เราทำอะไรแล้วมีความสุข ถ้ารู้แล้วลองใช้เวลาของเราเอนจอยไปกับช่วงวัยนั้นได้น่าจะดีไม่น้อยเลย
อย่าลืมว่าเราไม่จำเป็นต้องสู้ตัวคนเดียวตลอด เวลาเราไม่ไหว เราต้องการความช่วยเหลือ การพึ่งพาคนรอบข้างที่ไว้ใจได้ไม่ใช่เรื่องผิด
วิธีการมีความสุขของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน บางคนแค่ดูหนัง ฟังเพลง ก็มีความสุข แต่สำหรับบางคนที่ไม่รู้ว่าความสุขคืออะไร
อยากให้ลองสำรวจตัวเองว่า เราหัวเราะหรือยิ้มกับอะไรบ่อย ๆ สิ่งนั้นแหละอาจจะเรียกว่าความสุขของเรา
แนวคิด The Theory of Well-Being แบบจำลองการมีความสุขแบบ PERMA model
PERMA model ย่อมาจาก
Positive Emotion = ความรู้สึกเชิงบวก
ความรู้สึกอารมณ์เชิงบวกที่มากกว่าความสุข ได้แก่ ความหวัง ความสนใจ ความสุข ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ถ้าเราสามารถจัดการความรู้สึกให้มีความคงที่และสามารถยืดหยุ่นกับอารมณ์เชิงบวกได้
ก็จะทำให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้น แต่ถ้าบางทีเราไม่อยากรู้สึกเชิงบวก รู้สึกไม่ดีมาก ๆ ไปเร่งเวลาให้ผ่านช่วงลบไว ๆ
จะเหมือนการกดความรู้สึกตัวเอง ถ้าเรารู้จักการยืดหยุ่นความรู้สึก อารมณ์ตัวเอง จะทำให้เราได้พบกับความสุขที่แท้จริง
Engagement = การมีส่วนร่วม
การอยากเป็นที่ยอมรับของสังคม การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ หากเราสามารถแบ่งปันช่วงเวลา
มีส่วนร่วมการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับคนในชีวิตของเราได้จะสามารถทำให้เรามีความสุขมากขึ้นและรับรู้ถึงคุณค่าการใช้ชีวิต
Relationships = ความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ที่ดี จะประกอบไปด้วย ความยินดี เสียงหัวเราะ ความภาคภูมิใจในความสำเร็จ อยากมอบความรัก ความหวังดีให้คนรอบข้างด้วยความรู้สึกด้วยใจปิติ
การที่เรามีความสัมพันธ์กับคนอื่นจะทำให้เรารู้สึกได้รับรู้ถึงการมีความหมายของชีวิต
Meaning = การมีความหมาย
ความรู้สึกของความหมายและความรู้สึกถึงการมีชีวิตไม่ใช่แค่เพื่อตัวของเราเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงการอยู่ร่วมกับคนอื่น
มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น ครอบครัว อุดมคติ เมื่อตระหนักว่าชีวิตเรามีความหมายก็จะทำให้มีความสุขมากขึ้น
Accomplishment = ความสำเร็จ
ความสำเร็จ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญสามารถทำให้เรามีความสุขได้ เพราะธมชของมนุษย์คือการอยากทำบางอย่างในชีวิตให้สำเร็จ
เช่น การแข่งขันที่เราได้ที่ 1 หรือการทำอะไรสำเร็จเพียงเล็กน้อยก็ทำให้มนุษย์มีความสุขได้ ความสำเร็จที่ทำให้เราดีขึ้น พัฒนาตัวเองมากขึ้น
รับมืออย่างไรกับคำพูด คนอื่นเจอปัญหาหนักกว่านี้อีก
หลาย ๆ ครั้ง คำพูดที่หวังดี แต่แฝงการกดดันและการเปรียบเทียบระหว่างวัย อย่างเช่น พ่อแม่พูดกับลูก
“แค่นี้ทำไมรับไม่ได้ โตไปทำงานเดี๋ยวเจอปัญหาหนักกว่านี้อีก” หรืออะไรทำนองนี้ แน่นอนว่าผู้ฟังจะต้องรู้สึกแย่ไม่มากก็น้อย เราจะจัดการความรู้สึกตัวเองอย่างไรได้บ้าง
ในกรณีที่เป็นพ่อแม่เราเป็นคนพูด พ่อแม่เราก็ยากที่เราจะเปลี่ยนนิสัยพวกเขาเหมือนกัน บางทีเราก็ต้องยอมรับว่าพวกเขาเป็นแบบนี้ การจะไปพูดให้เขายอมลดคำพูดที่มันเจ็บปวดสำหรับเรา
ในบางครอบครัวอาจจะทำได้ แต่บางครอบครัวการพูดอาจจะทำให้ทะเลาะกันกว่าเดิม
ระบายให้เพื่อนฟังหา social support เลือกคนที่เราจะพูดปัญหาของเราให้ฟัง อันนี้สำคัญจริง ๆ เราจะรู้ด้วยตัวเองว่าคนไหนเราพูดเรื่องไหนด้วยได้ มันจะช่วยลดความเสี่ยงที่เราจะรู้สึกแย่กว่าเดิมได้เยอะเลย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ เพื่อนแต่ละคนจะแตกต่างกันมาก บางทีแค่อยากระบายจะพูดกับเพื่อนคนนี้ หรือบางครั้งอยากได้ข้อคิดเห็นจะพูดกับเพื่อนอีกคน
อ้างอิง :
คนกระโปกแห่งยุคสมัย 199x ทำไมเด็กเจนวายไม่ยอมโต – The 101 World Life & Culture
becommon
positivepsycholog
ppc.sas.upenn.edu
Post Views: 5,172