ช่วงเวลาแห่งการนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด เพราะเราไม่ต้องคิดอะไรให้หนักสมอง แต่เชื่อไหมว่า การ นอน ที่มากเกินไป จนเข้าขั้นการเสพติดการนอน อาจจะไม่ได้ดีต่อสุขภาพ
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนกันเถอะ
แปลกหรือเปล่าที่เราชอบ นอน ?
การนอนเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชีวิตจะต้องมีการนอน ไม่ว่าจะนอนกลางวันอย่างนกฮูก หรือเป็นมนุษย์เราทั่วไปที่ทั้งนอนกลางวันและกลางคืน
เพราะการนอนหรือการหลับพักผ่อนเป็นกลไกนึงของร่างกาย ที่จะช่วย Reboot ตัวเองเป็นการเก็บพลังงานเพื่อฟื้นฟูร่างกายเพื่อความอยู่รอด และแมวเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบนอนมาก
เฉลี่ยแล้วอายุของแมวอยู่ที่ 8 ปี แมวนอนไปแล้ว 5 ปี อีก 3 ปี คือการใช้ชีวิตของแมว เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนต้องการ ‘การพักผ่อนนอนหลับ’
ชอบนอน เพราะ การนอนช่วยให้เราหลบหนีจากความจริง.. ?
จริง ๆ มันคือการเบี่ยงเบนทางจิตใจอย่างนึง จากสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีหรือไม่พึงพอใจและเป็นทุกข์ การนอนหลับเหมือนช่วยให้เราไม่ต้องคิดอะไร แต่การหลับเพื่อหลีกหนีความจริง
มันเป็นสิ่งชั่วคราว เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องมาเผชิญหน้ากับความจริงอยู่ดี การตื่นขึ้นมาเผชิญกับความจริงตรงหน้าก็เหมือนกับการที่เราได้รับบททดสอบของชีวิต
เพราะไม่ว่าจะยังไงเชื่อว่าเราจะผ่านมันไปได้อย่างแน่นอน อาจจะไม่ได้ผ่านไปด้วยตัวของตัวเอง แต่อาจจะมี Social support ช่วยเราอีกทางนึง และการเผชิญหน้าอาจจะทำให้เราผ่านปัญหาได้เร็วกว่าการหลบหนี
หลับ ๆ ตื่น ๆ อันตรายไหม ?
Middle Insomnia หรือการหลับ ๆ ตื่น ๆ คืออาการของตื่นกลางดึกในเวลาเดิม ๆ เป็นหนึ่งในประเภทของโรคนอนไม่หลับ จะส่งผลทำให้การตื่นเช้าในวันต่อมาไม่สดชื่นและสมองไม่แล่น
การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ยังเป็นการนอนอย่างไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย
นอนมากเกินไป มีผลกระทบอะไรไหม ?
นอนมากเกินไปหรือจะเป็นสัญญาณบอกว่าเราขี้เกียจหรือขี้เซาก็ได้ ถ้าหากนอนมากเกินไปเพราะขี้เกียจหรือขี้เซา ผลกระทบอาจจะเป็นการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
การนอนเยอะเกินไปอาจจะทำให้เราเป็นคนเชื่องช้า เฉื่อย ทำอะไรโดยไม่มีประสิทธิภาพ
ถ้าหากนอนมากเกินไปจนไม่อยากลุกออกจากเตียง อยากนอนอย่างเดียวไม่อยากทำอะไรเลยติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 วัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน ผลกระทบคือมีโอกาสที่จะเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า
เพราะฮอร์โมนในร่างกายจะแปรปวน โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เป็น Serotonin (เซโรโทนิน) และ เอ็นโดฟินส์ (Endophins) ลดต่ำลง หรืออาจจะเป็นอีกโรคนึง คือ โรคนอนมากเกินไป
หรือไฮเปอร์ซอมเนีย ( Hyper somnia) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติ คนที่มีลักษณะที่อาการนี้จะตื่นยาก ปลุกก็ไม่อยากตื่นไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน
หากมีอาการเหล่านี้อาจจะต้องไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางออก
นอน แบบไหนถึงมีประสิทธิภาพ ?
โดยปกติคนเราจะนอนวันละ 8 – 10 ชั่วโมง โดยการนอนจะเป็นการนอนที่หลับสนิท ไม่ใช่การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ และควรนอนเวลาเดิมเพราะร่างกายจะจำเพื่อไม่ให้ร่างกายของเราแปรปรวน
การที่เราจะเช็คตัวเองได้ว่าเรานอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า ให้สังเกตตอนที่เราตื่น ตื่นมาเรายังเพลียอยู่ไหม ตื่นมาเรารู้สึกสดชื่น สมองปลอดโปร่งหรือเปล่า การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
อย่างเช่น Application Smartwatch ต่าง ๆ จะทำให้เรารู้ว่าเรานอนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า เพราะเขาจับการนอนหลับของเราและคำนวณเวลาให้ ทำให้เรารู้และช่วยเราได้เยอะเลย
ทริคการนอนให้สุขภาพดีและมีประสิทธิภาพ
นอนให้ตรงเวลาเดิมในทุก ๆ วัน เวลาที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 2 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่ควรจะเข้านอนเพราะเป็นช่วงเวลาที่ เมลาโทนิน (Melatonin) กำลังทำงาน
และนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง ไม่ควรนอนน้อยหรือมากเกินไปกว่านี้ ช่วงเวลาก่อนนอนควรงดเล่นโทรศัพท์เพราะหน้าจอมีแสงสีฟ้าเพราะจะทำให้เรารู้สึกตื่นตัวและนอนไม่หลับ
Post Views: 9,413