ความกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลาหนึ่งอย่างฉับพลัน ที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าใจว่ามีภัยคุกคาม อาจเป็นอาการ ที่เรียกได้ว่า แพนิค
ซึ่งบทความนี้ไม่ได้กล่าวถึงเชิงลึกเกี่ยวกับตัวโรค แต่เป็นการอธิบายถึงในเชิงของภาวะแพนิค หรือ อาการแพนิค ภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล
อาการ แพนิค
ผู้ที่มี “อาการแพนิค” (Panic attacks) ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นโรคแพนิค (Panic disorder) เสมอไป หากมีอาการแพนิคเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ได้เกิดผลอะไรตามมาก็ไม่นับว่าเป็นโรคแพนิค
เช่น เครื่องบินสั่นมากตอนเจอสภาพอากาศที่ไม่ดี แล้วเกิดอาการขึ้นมา) เพราะในโรคแพนิคนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบซ้ำหลายครั้ง จนเกิดความกังวลว่าจะมีอาการนี้ขึ้นมาอีก กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ
กลัวว่าจะเสียชีวิต กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวว่าจะเป็นบ้า และอาจส่งผลทำให้ต้องเลี่ยงสถานการณ์บางอย่าง เช่น ไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่กล้าขับรถ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบซ้ำ ๆ ประกอบกับมีความกลัวต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงจะถือว่าเป็นโรคแพนิค (Panic disorder)
อาการ แพนิค เป็นอย่างไร ?
1. ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอd
2. เหงื่อออกมาก หนาว ๆ ร้อนๆ
3. หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
4. วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
5. รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
6. ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้
อาการ แพนิค ใกล้ตัวหรือไม่ ?
เรามักจะเห็นได้ว่ามีดารา นักร้อง นักแสดงที่มีอาการแพนิคกันเยอะมาก เช่น วู้ดดี้, โอ๊ต ปราโมทย์,แต้ว ณฐพร,ออม สุชา หรือศิลปินระดับโลกก็มีอีกเยอะมากมาย ซึ่งเรามองว่าอาการแพนิคเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ๆ
เพราะอาการแพนิคเริ่มมาจากความวิตกกังวล ความกลัว ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานการณ์
อาการกรดไหลย้อน อาการแพนิค สามารถส่งถึงกันได้
โรคทั้งสองนั้น เหมือนกันแทบจะทุกอย่าง ได้แก่ มีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง หายใจไม่อิ่ม หายใจขัด เจ็บหน้าอก ไม่มีแรง หน้ามืด หวิว ๆ คล้ายจะเป็นลม ปวดท้อง วิงเวียน ท้องไส้ปั่นป่วน
ทำให้โรคกรดไหลย้อนและโรคแพนิคมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากกรดไหลย้อนก่อให้เกิดโรคแพนิค และโรคแพนิคก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
ส่วนอาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่พบมาก ได้แก่ ท้องอืด จุกแน่นและแสบร้อนบริเวณกลางอก จุกในลำคอเหมือนมีอะไรมาขวางคออยู่ ทำให้กินอาหารได้น้อย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร กินยาไม่หาย นอนไม่หลับ
หาทางรักษาให้หายขาดไม่ได้ ก็เริ่มวิตกกังวล นาน ๆ เข้าก็มีภาวะเครียดสะสม ท้ายที่สุดก็กลายเป็นโรคแพนิค
และในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค มักเริ่มจากการทำงานหนัก เรียนหนัก ต้องเลี้ยงดูลูก มีภาระหน้าที่มากจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เริ่มมีภาวะความเครียดสะสม
ส่งผลให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนอะดรีนาลีนออกมา ทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ กระเพาะอาหารทำงานแปรปรวน จนทำให้เกิดเป็นโรคกระเพาะและเป็นกรดไหลย้อนในที่สุด
ประสบการณ์ของคนใกล้ตัวคนหนึ่งที่เป็นกรดไหลย้อน
เริ่มแรกคือการเป็นกรดไหลย้อนที่รุนแรง เริ่มแน่นหน้าอก จุกเสียด หายใจลำบาก เหมือนมีลมติดอยู่กลางหน้าอกและเริ่มมีอาการอึดอัด อยากจะขับลมออกจากร่างกาย ต้องการจะเอาตัวรอด
ต้องการจะหายใจ ก็ได้แต่พยายามหายใจให้มากขึ้น จนทำให้หัวใจเต้นเร็ว และกลายเป็นความรู้สึกตระหนกกับสิ่งที่ตัวเองกำลังเป็น จนเกิดเป็นอาการแพนิคขึ้น
พอรู้ตัวสิ่งที่ทำในตอนนั้นคือ ค่อย ๆ ลุกไปเดิน จิบน้ำอยู่เรื่อย ๆ จนอาการค่อย ๆ ดีขึ้นได้เอง
หากมีอาการ แพนิค รักษาอย่างไรดี?
อาการแพนิคไม่ได้เป็นอาการที่ร้ายแรง หรือทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ที่เป็น และต้องรักษาหากมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการ แพนิค
การฝึกรักษาทางใจ เป็นการทำจิตใจบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี ยกตัวอย่าง เช่น
1. ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว
หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
2. รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต
3. การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ
4. การฝึกสมาธิ
5. การฝึกคิดในทางบวก
หากอาการแพนิคของเราเริ่มส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจต้องพิจารณาและสังเกตตัวเองให้มากยิ่งขึ้น เพื่อประเมินตนเองว่าเราสามารถรับมือกับอาการแพนิคได้ด้วยตนเองมากน้อยแค่ไหน
หากเราไม่สามารถรับมือได้ด้วยตนเอง อาจต้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง หรือหาเวลาไปพบผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
อ้างอิง :
อาการแพนิค
อาการกรดไหลย้อน แพนิค ส่งต่อกันได้
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการแพนิค
Post Views: 5,491