ฝันกลางวัน

โรคฝันกลางวันที่ไม่ใช่แค่ฝันกลางวัน

เรื่องAdminAlljitblog

ฝันกลางวันทั่วไปคือการ มโน การมีความหวัง การมีความฝัน การมีจินตนาการถึงภาพชีวิตที่สวยงาม

 

หรือการมีชีวิตตามต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าแบบไม่ปกติ คืออะไร?

 

 

 

โรคฝันกลางวัน

ภาวะหนึ่งในช่วงกลางวันที่ทำให้เราจินตนาการและเห็นภาพความคิดชัดเจนเป็นประจำ ชัดถึงขนาดที่เราจะรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเหมือนเกิดขึ้นจริง

 

อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะพอเกิดอาการนี้ เราจะหยุดทำกิจกรรมที่เราทำอยู่ทันที

 

เช่น เรียน ๆอยู่แล้วเกิดภาวะนี้ขึ้นมา เราก็จะหลุดโฟกัสไปอยู่ในจินตนาการของตัวเอง ก็จะเหม่อไปเลย และอาจจะเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการนั้นด้วย 

 

อาการของ โรคฝันกลางวัน

 

  • เห็นภาพอย่างชัดเจน  เป็นฉาก ๆ คล้ายกับการดูภาพยนตร์ 
  • ฝันกลางวันบางครั้งอาจยาวนานหลายชั่วโมง เกิดบ่อย รุนแรง และนาน
  • หลงใหลการฝันกลางวัน และอยากให้ความฝันเกิดขึ้นต่อ แม้จะมีสิ่งที่รบกวนหรือดึงตัวเองออกจากการฝันกลางวัน
  • มีการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะจินตนาการอยู่ แสดงสีหน้า พูดคนเดียว และมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น เดินวนไปมา โยนของ หรือหมุนสิ่งที่อยู่ใกล้มือ
  • ไม่สามารถจดจ่อกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
  • มีความยากลำบากในการควบคุม

 

มีความคล้ายกับโรคจิตเภท แต่ต่างกันที่ คนที่มีอาการฝันกลางวันมักรู้ตัวตลอดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเป็นเพียงความฝัน

 

แต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ ส่วนผู้ป่วยโรคจิตเภทจะ ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือแค่จินตนาการ 

 

โรคฝันกลางวัน เกิดจากอะไร

โรคฝันกลางวันไม่ได้จัดเป็นโรคทางจิตเวช แต่สันนิษฐานว่าโรคทางจิตอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น

 

หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ มีส่วนทำให้เกิดอาการหรือเป็นสัญญาณของโรคฝันกลางวันได้  

 

สาเหตุก็อาจเกิดจากเหตุการณ์ในวัยเด็ก เช่น ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ความโดดเดี่ยวจากการไม่มีเพื่อน

 

ารฝันกลางวันจึงเป็นวิธีหลีกหนีจากโลกแห่งความจริง เข้าไปอยู่ในโลกแห่งความฝันที่มีความสุขและปลอดภัยกว่า

 

หนีจากความกลัวการเข้าสังคม และทำให้ความต้องการที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริงสำเร็จ

 

เช่น หนังเรื่อง The Secret Life Of Walter Mitty ที่ตัวเอกมักจะหลุดเข้าไปในโลกจินตนาการบ่อย ๆ 

 

ตลอดจนอาจเกิดจากเพราะชีวิตประจำวันมันน่าเบื่อหรือมีความเครียดหนัก เลยอยากจินตนาการถึงเรื่องที่น่าตื่นเต้นในหัวแทนก็ได้

 

อีกตัวอย่างจาก กรมสุขภาพจิต เจย์น บีเกลเซน นักวิจัยสาวชาวอเมริกัน เคยประสบกับโรคนี้มาด้วยตัวเอง

 

โดยตั้งแต่ 8 ขวบ ทุกครั้งเวลาว่าง เธอจะเริ่มจินตนาการถึงซีรีส์ที่เธอชอบ แต่แทนที่เธอจะรอดูตอนต่อไป เธอกลับสร้างตอนใหม่ขึ้นมาในหัว

 

ภาพในหัวเธอนั้นมันชัดเจนมากแถมยังสนุกกว่าเรื่องต้นฉบับอีกด้วย ทุกครั้งที่เธอมีอาการฝันกลางวันนี้ เธอจะเดินวนไปวนมา หรือกำบางอย่างไว้ในมือ

 

เพราะทำให้มีสมาธิและภาพชัดขึ้น รู้ตัว ตลอดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเธอนั้นมันคือความฝันที่ไม่ได้เป็นจริง แต่เธอก็ยังคงหลงใหลที่จะฝันกลางวันแบบนี้ต่อไป

 

จนขึ้น high school เธอเริ่มรู้สึกว่าโลกความจริงและโลกจินตนาการมักจะเชื่อมโยงกันโดยที่เธอควบคุมไม่ได้

 

แต่ในทางการแพทย์ยังไม่มีการวิจัยไว้อย่างชัดเจนด้วยความที่เป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่

 

เธอเข้ารับการบำบัดอยู่นานจนเธอพบว่า การแชร์ประสบการณ์กันระหว่างผู้ที่เป็นโรคฝันกลางวัน เป็นเหมือน “ยาที่ดีที่สุด”

 

วิธีรักษา

  • สังเกตตัวเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ 
  • อยู่กับตัวเองในปัจจุบัน
  • พยายามทำตัวให้ไม่ว่าง ลองหาเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำอยู่ตลอด เช่น ออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงกลางวันแทนการอยู่แต่ในห้อง ออกกำลังกาย (สมาธิ สติ)
  • หรือใช้ประโยชน์จากจินตนาการ นำไปเขียนนิยาย เป็นผลงานของตัวเองแทนก็ได้
  • ตั้งเวลาฝันกลางวัน ค่อย ๆ ลดจำนวนเวลาลงจาก 45 นาที-30 นาที-15 นาที

 

ถ้าควบคุมอาการได้ดีขึ้น ก็อย่าลืมที่จะชื่นชมและให้กำลังใจตัวเองด้วย แต่ถ้าอาการเกินควบคุม แนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์ เพื่อหาทางออกและแนวทางการรักษาตามอาการ

 

ที่มา :

โรคฝันกลางวัน ภาวะของการหลุดเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ