” กล้าที่จะถูกเกลียด ” หนังสือแนวจิตวิทยา ที่จะทำให้เราได้เข้าใจมุมมองการพัฒนาตัวเองที่น่าสนใจ
อาจจะทำให้เรามีความสุขและรักตัวเองมากขึ้นได้ Alljit ร่วมกับ อ่านแล้ว อ่านเล่า (ธนานนท์ โดมทอง) รายการที่จะพาคุณท่องเข้าไปในโลกของหนังสือ พร้อม ๆ กับท่องเข้าไปในจิตใจของตัวคุณเอง
กล้าที่จะถูกเกลียด
เขียนโดยชาวญี่ปุ่น 2 คนชื่อว่า คุณคิชิมิ อิชิโร และโคะกะ ฟุมิทะเกะ เรื่องราวของหนังสือจะเป็นการอธิบายหลักจิตวิทยาของ คุณอันเฟรด แอดเลอร์ นักจิตวิทยาชื่อดังชาวออสเตรีย ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการพัฒนาตนเอง
เนื้อเรื่องจะเป็นการพูดคุยผ่านตัวละครสองคน คือชายหนุ่มและนักปรัชญา ชายหนุ่มในเรื่องเป็นผู้ที่มีปัญหาเกิดขึ้นในชีวิต เลยไปปรึกษากับนักปรัชญา นักปรัชญาก็ได้ให้คำแนะนำโดยนำเอาหลักการของ อันเฟรด แอดเลอร์ มาประยุกต์
กล้าที่จะถูกเกลียด : หลักจิตวิทยาของ “อัลเฟรด แอดเลอร์” บิดาแห่งการพัฒนาตนเอง
คนเราเปลี่ยนแปลงกันได้ทุกคน
คนเราเปลี่ยนแปลงกันได้ บางคนอาจจะติดอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า Comfort Zone นั่แต่การที่ไม่ลงมือทำ โอกาสสำเร็จจะเป็น 0 เปอร์เซ็นต์
ถ้าเราลงมือทำโอกาสก็เพิ่มมากขึ้น อาจจะเพิ่มจาก 0 เป็น 10 หรือ 20 หรือ 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับความพยายาม หลักจิตวิทยาแอดเลอร์หัวใจหลีกก็คือความกล้าและเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ความทุกข์ทั้งหมดของมนุษย์ล้วนเป็นความทุกข์ที่เกิดจากเรื่องของความสัมพันธ์
ความทุกข์ทั้งหมดของมนุษย์ล้วนเป็นความทุกข์ที่เกิดจากเรื่องของความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่น หลาย ๆ คนกลัวการที่จะมีความสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไป
คนเหล่านี้จึงแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่คู่ควรจะเป็นเพื่อนกับใคร ไม่คู่ควรที่จะมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับใคร เพื่อที่ตัวเองจะได้มีข้ออ้างที่จะไม่ต้องไปคบกับคนอื่นให้เกิดความผิดหวังขึ้น
ชีวิตคนเราไม่ใช่การแข่งขันกับคนอื่น
อันเฟรดบอกว่าเราไม่ต้องแข่งขันกับใคร แต่ให้เราก้าวไปข้างหน้า วิธีการก็คือไม่ต้องเปรียบเทียหรือแข่งกับคนอื่น
แต่ให้เเข่งกับตัวเราเองที่อยู่ในอุดมคติหรือว่าเป็นตัวเราที่ประสบความสำเร็จแล้ว ให้คิดว่าคนเหล่าแม้แตกต่างกัน แต่ก็เท่าเทียมกัน
แม้กระทั่งเด็ก ผู้ใหญ่ การปฏิบัติก็ให้ปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่ว่าคนที่อาวุโสกว่ากับคนที่เด็กกว่า คนที่มองทุกคนเป็นคู่แข่งก็เท่ากับว่า เป็นศัตรูกับคนทั้งโลก
อย่าใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น
หลาย ๆ สิ่งเที่เราทำถ้าเราทำเพื่อให้คนอื่นยอมรับในตัวเรา เหมือนกับว่าเรารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นการที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเลี้ยงดูในสมัยเด็ก
เป็นการเลี้ยงดูแบบที่คนส่วนใหญ่ใช้ คือ การให้รางวัลและการลงโทษ การใช้ชีวิตแบบที่สนใจว่าคนอื่นจะตัดสินตัวเราอย่างไร
จะทำให้เราใช้ชีวิตในแบบที่คนอื่นอยากให้เราเป็น ก็กลายเป็นว่าเราจะได้ใช้ชีวิตในแบบที่เราคาดหวังเอาไว้นะ ที่คอยแต่จะต้องไป มองคอยกังวล คอยพะวง เรื่องสายตาของคนอื่นที่เขามองมาที่เรา แล้วเราก็จะไม่ได้ใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ
แยกแยะธุระของแต่ละคนออกจากกัน
เรื่องของการแยกแยะธุระของแต่ละคนออกจากกัน เกือบทุกปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เกิดจากการที่เราเข้าไปก้าวก่ายธุระของคนอื่นหรือเขาเข้ามาก้าวก่ายในธุระของเรา
จะรู้ได้อย่างไรว่าธุระไหนเป็นของใคร?
วิธีการก็คือให้ดูว่า สุดท้ายแล้วใครเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจนั้นๆ คำแนะนำคือ ต้องทิ้งธุระที่ไม่ใช่ของตนเองหรือถ้าพูดในมุมกลับกัน ขอให้ทำจาก ธุระที่เป็นของเรา เราควรจะแบ่งเส้นของธุระให้ชัดเจน แม้แต่ครอบครัวก็ตาม
เพราะว่าในที่สุดแล้วเราไปบังคับใครให้เป็นแบบเดียวกันกับเราไม่ได้ การแยกแยะธุระไม่ใช่เป็นจุดที่สุดของความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น แต่เป็นจุดเริ่มต้น ทุกความสัมพันธ์ต้องมีระยะห่างที่เหมาะสม รักษาให้พอดี คือสามารถที่จะยื่นมือไปช่วยได้แต่ต้องไม่ใกล้จนไปรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว “ไม่ไปก้าวก่ายในจุดที่เป็นธุระของเขา”
ความสัมพันธ์แบบเท่าเทียม
การที่เราถูกชม เช่น เราพูดแล้วเราถูกชมว่าก็พูดได้ดี มันเหมือนกับเป็นคำที่คนที่สูงกว่ามองลงมาที่คนที่ต่ำกว่า การชมอาจจะมีเป้าหมายก็คือควบคุมก็ได้ ยกตัว อย่าง เช่น เวลาเพ่อหรือแม่ ชมลูกว่าเก่งจังเลย ก็เป็นการเแบ่งชนชั้นและเป็นการจูงใจพยายามให้ลูกทำในสิ่งที่เราชม
คนเราถึงแม้แตกต่างกันแต่ก็ต้องเท่าเทียม ความรู้สึกต่ำต้อยของเราที่เกิดมาจากการที่ถูกแบบตอนฉันนี่แหละครับ ลูก จะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นเด็กนะครับ วิธีการก็คือ ให้เรามองว่าเขาเป็นคน ๆ นึง เป็นคนเท่ากัน ให้พูดว่า “ขอบคุณ” หรือ “ช่วยได้เยอะเลย” เวลาที่ทำอะไรดี ๆ
ความสัมพันธ์ที่ดีกับความเชื่อใจ
ถ้าเกิดว่าเราคิดว่าการเชื่อใจใครสักคนแบบไร้เงื่อนไขจะต้องถูกหักหลังแน่ ๆ เลย แอดเลอร์บอกเอาไว้ว่า คนที่ตัดสินใจว่าจะหักหลังเราหรือไม่ อันนี้ไม่ใช่ตัวคุณอันนี้ครับเป็น ธุระของคนอื่น ดังนั้นธุระของเรามีแค่การตัดสินใจว่าจะเชื่อใจหรือไม่เชื่อใจเท่านั้นเอง
ถ้าเรามัวแต่ไปกลัวว่าจะเชื่อใจคนอื่นแล้วจะโดนหักหลังไหม ถ้ากลัวจะโดนหักหลัง ในที่สุดแล้วตัวเราก็จะไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับใครได้เลย
อย่ามองชีวิตเห็นแค่ด้านเดียว
คนที่มองชีวิตด้านเดียว จะเลือกมองแต่คนที่เกลียด ซึ่งอาจจะเป็นคนแค่ไม่กี่คนในชีวิต แต่คนเหล่านี้เอาคนที่เกลียดมาเป็นตัวตัดสินคนทั้งโลก ก็คิดว่าคนทั้งโลกเป็นแบบนี้
คนแบบนี้มักจะใส่ใจแต่เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ทางที่ดีจริง ๆ แล้ว มันอาจจะเป็นแค่เศษเสี้ยวของเรื่องราวทั้งหมด แต่กลับเอามันมาเป็นการตัดสินทุกอย่างในโลก
กล้าที่จะเป็นคนธรรมดา
การเป็นคนธรรมดาไม่ได้หมายความว่า เป็นคนที่ไร้ความสามารถ สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือ “การทำวินาทีนี้อย่างสุดกำลัง” ไม่ว่าจะเกิดอะไรมาก็ตามในอดีตหรือไม่ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ใช่ปัญหาที่เราจะมานั่งคิดในวินาทีนี้
คำแนะนำของ “อัลเฟรด แอดเลอร์”
แอดเลอร์ให้คำแนะนำมาไว้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “การทำวินาทีนี้อย่างสุดกำลัง ไม่ว่าจะเกิดอะไรมาก็ตามในอดีตหรือไม่ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ไม่ใช่ปัญหาที่เราจะมานั่งคิดในวินาทีนี้”
ถ้าเกิดว่าตัวเราเปลี่ยนแปลงโลกก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โลกรอบตัวเราไม่ใช่สิ่งที่ใครจะมาเปลี่ยนแปลงได้ โลกรอบตัวเราก็มีแต่เพียงตัวเราเองเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงได้
สุดท้ายแล้วถ้าจะต้องมีใครสักคนที่เริ่มก่อน คำแนะนำก็คือ “เราเองนี่แหละที่จะต้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อน” ถึงแม้ว่าคนอื่นอาจจะไม่มีท่าที่ว่าจะร่วมมือด้วยก็ตาม แต่นั้นไม่ใช่ธุระของเราที่จะต้องไปคิดกังวลว่าคนอื่นจะร่วมมือด้วยหรือไม่
Post Views: 2,818