พ่อแม่แยกทางกัน

พ่อแม่แยกทางกัน การหย่าร้าง ไม่ใช่ความล้มเหลวในชีวิต

เรื่องAdminAlljitblog

การหย่าร้าง ไม่ใช่ความล้มเหลวในชีวิต แต่มันคือพาร์ทนึงในชีวิต การแยกทางกันถึงหน้าที่สามีภรรยาจะจบลงแต่ไม่ได้หมายความว่าหน้าที่พ่อและแม่จะจบลงไปด้วย

 

แล้วเราจะทำอย่างไรไม่ให้ลูกใจสลายเมื่อต้องแยกทาง การทนอยู่เพราะลูกจะส่งผลดีต่อความครัวจริง ๆ หรือเปล่า ?

ในมุมของพ่อแม่

บอกลูกยังไง เมื่อต้อง หย่าร่าง

เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจหย่าร้างหรือเลิกรากัน ถ้าตัดสินใจและตกลงกันแล้ว ระยะเวลาสำคัญ รอในเวลาที่เขาพร้อม ทั้งทางจิตใจ อายุ ช่วงวัยและความคิด แต่อย่าปิดบังหรือปล่อยให้เขาไม่รู้นานเกินไป

 

เพราะเขามีสิทธิที่จะรับรู้ว่าตอนนี้ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลง มีสิทธิที่จะรับรู้ว่าชีวิตเขาจะเป็นอย่างไรต่อไปเมื่อหาจังหวะที่เหมาะสมแล้ว ค่อย ๆ บอกให้เขาเข้าใจว่าที่ตอนนี้ครอบครัวมีความเปลี่ยนแปลงเกิด

 

และอธิบายให้เขารับรู้ว่าเลิกกันเพราะอะไร เช่น ความคิดเห็นไม่ตรงกัน โดยที่การบอกลูกไม่ควรที่จะยัดเยียดความรู้สึกของตัวเองให้ลูก เช่น การด่าทออีกฝ่าย การกล่าวหาว่าใครดีไม่ดี ใครผิดไม่ถูก 

 

เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลในใจของลูกของเราได้ ไม่ควรยัดเยียดความเกลียดในใจเราเข้าไปในหัวเด็ก แค่อธิบายเรื่องการคิดไม่ตรงกันพร้อมเหตุผลก็เพียงพอ เด็กจะคิดอย่างไรให้สิทธิ์เขาคิดเองเมื่อเติบโตขึ้น

 

“ทนอยู่เพราะลูก”

ถ้าอยู่เพราะลูก ทำใจได้ทำ แต่ถ้าทำไม่ได้อยู่กันแล้วทะเลาะกันแล้วไปลงกับลูก คือสิ่งที่ไม่ควร เพราะสุดท้ายแล้วลูกจะเติบโตมาด้วยความทุกข์ จะมีบาดแผลในใจซึ่งนำไปสู่อะไรที่เลวร้ายได้มากมาย

 

อาจจะพัฒนามาเป็น Childhood Trauma ได้ การที่เราทั้งคู่ทนอยู่แบบทุกข์ใจมาก มันเหมือนกันเสิร์ฟความเครียดให้เขาแบบบุฟเฟ่ต์ มันไม่หยุดหย่อน เขาเองก็จะทุกข์ใจและเกิดบาดแผลตามไปด้วย

 

ทนอยู่เพราะลูกค่อนข้างสร้างความเจ็บปวดให้ทุกฝ่ายเลย คำว่า “ทน” คำ ๆ นี้ก็ค่อนข้างจะไม่โอเคสำหรับความรู้สึกแล้วเมื่อเราได้ยิน การต้องทนอยู่อาจจะเพราะยังไม่พร้อมออกมา

 

หรืออะไรหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ไม่สามารถห่างกันออกมาได้ อยากให้ลองหาวิธีทางที่จะออกมา เพื่อไม่ให้ทำร้ายกันไปมากกว่านี้

 

 

“ลูกควรอยู่กับใคร”

การที่ลูกควรจะอยู่กับใครไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่คนที่ลูกควรด้วยคืออคนที่พร้อมซัพพอร์ตลูก เพราะเด็กไม่ว่าจะวัยไหนก็ต้องการคนซัพพอร์ตทั้งนั้นทั้งด้านทางเงิน ด้านจิตใจ และร่างกาย

 

หรือพ่อแม่อาจจะจัดเวลาเป็นเวลาว่าใครจะอยู่กับลูก และที่สำคัญเลยต้องไม่แย่งกัน ต้องคุยกันให้เข้าใจ เพราะคนที่เจ็บปวดในการทะเลาะกันไม่ใช่เพียงแค่พ่อแม่แต่ลูกก็เจ็บเหมือนกัน 

 

มันมีสุภาษิตอันนึงที่บอกว่า “ขาดพ่อเหมือนถ่อหัก ขาดแม่เหมือนแพแตก” คำนี้แสดงให้เห็นว่า คนทั่วไป มองว่าลูกควรที่จะอยู่ในความดูแลของแม่มากกว่าพ่อ เพราะถ้าขาดพ่อไป แม่ก็สามารถทำหน้าที่แทนได้

 

แต่ถ้าขาดแม่ไป ก็เหมือนว่าลูกใช้ชีวิตแบบกระจัดกระจาย หาที่ยึดเหนี่ยวไม่ได้ เหมือนแพแตก… แต่ ไม่มีอะไรมาวัดได้ว่าใครควรเลี้ยงลูกมากกว่า นอกจาก ความรัก 

 

 

“ทำอย่างไรให้ลูกไม่ใจสลาย”

การทำความเข้าใจและยอมรับว่าหลังจากนี้มันจะไม่ได้เป็นเเบบเดิมอีกแล้วเป็นเรื่องยาก เขาเสียใจอยู่แล้ว นั่นเป็นเรื่องปกติมาก ๆ แต่สุดท้ายแล้วนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมาคิดร่วมกัน

 

ว่าเราจะทำอย่างไรให้เขาไม่แตกสลายนานเกินไป  เพราะอาจจะส่งผลต่อสุขภาพจิต เด็กจะมีความสุขที่สุดเมื่อได้อยู่ท่ามกลางความรัก เขาจะรับมือและดำเนินชีวิตต่อไปได้ ถ้าอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี

 

ต่อมาสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยคือ การสอนและส่งต่อความเข้าใจที่ดีและถูกต้องให้เขาเข้าใจว่า ครอบครัวไม่ได้ถูกกำหนดว่าต้องใช้ชีวิตร่วมกันเท่านั้น แต่ครอบครัวกำหนดด้วยความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ครอบครัวที่เปลี่ยนไป แต่ไม่ได้หมายความว่าครอบครัวจะหายไป

 

 

ในมุมของลูก

พ่อแม่แยกทางกัน ส่งผลกระทบต่อลูกอย่างไรบ้าง?

1. ทางจิตใจ ความรู้สึก 

  • เหงา,บางเรื่องก็ไม่รู้จะปรึกษาใคร
  • ไม่มีเป้าหมายเพราะขาดคนซัพพอร์ต อยากเรียนพิเศษ,ไม่ได้เรียน ไม่ได้เที่ยวแบบเพื่อน ๆ
  • low-self esteem โดนเปรียบเทียบกับครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ,ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องการใช้ชีวิต,กลัวการเข้าสังคมเพราะต้องอยู่คนเดียวตอนเด็ก
  • ความรู้สึกลำบากใจ รู้สึกผิด เช่น วันหยุดหรือปิดเทอม ต้องเลือกว่าอยู่กับใคร ถ้าเลือกอีกคนก็รู้สึกผิดกับอีกคน

 

2. สังคม

  • สายตาคนนอกที่มองมาเมื่อไม่อยู่พร้อมหน้าครอบครัว เช่น งานวันพ่อ งานวันแม่ที่โรงเรียน
  • ความสัมพันธ์ต่อคนอื่น พ่อแม่เลิกกันทำให้ลูกมีแฟนแล้วไม่ได้คิดถึงความสัมพันธ์แบบยืนยาว

 

3. คนรอบข้าง สังคม

  • ต้องตามใจ 

เพราะสงสารที่เขาไม่มีพ่อไม่มีแม่ หรือมองว่าเขาขาด การตามใจทั้งหมดนั่นไม่แปลว่าจะรับผิดชอบหรือเติมเต็มอะไรให้เขา แต่เป็นการที่เรารักเขาในทางที่ผิด

  • มุมมองต่อเขาที่ผิด 

ส่งผลให้เขาก็จะมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเองหรือมองว่าตัวเองมีปัญหาจริง ๆ

  • กลัวการตั้งคำถามของเขา

เพราะฉะนั้นคนรอบข้างก็เป็นครอบครัวให้กับเขาได้ เลี้ยงเขาดูแลเขาแบบเด็กปกติทั่วไปคนหนึ่ง จะทำให้เขามีมุมมองที่ดี ลองพูดข้อความดีๆกับเขา จะทำให้เขารู้สึกดีและเข้าใจในความเปลี่ยนเเปลง

 

ช่น การหย่าร้างครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดหรือความรับผิดชอบของเขา,เขาจะได้รับความรักและการปกป้องเสมอ,ถึงเขาทั้งสองจะหย่าร้างกัน แต่ก็ยังเป็นพ่อแม่ที่ดีของเขา,ความรักที่มีให้เขาสำคัญกว่าการอาศัยอยู่ร่วมกัน

 

 

รับมือกับเสียงคนรอบข้าง พ่อแม่แยกทางกัน=ปมด้อย=เป็นเด็กมีปัญหา

เป็น mindset ที่เกิดขึ้นและถูกส่งต่อมาเรื่อย ๆ ว่า พ่อแม่แยกทางกัน ครอบครัวแตกแยก เด็กจะมีปัญหา เพราะพอใช้คำที่ดูรุนแรง คนก็อาจจะคิดว่าผลกระทบอาจจะรุนแรงตาม แต่จริง ๆ คือไม่ใช่

 

การที่พ่อแม่ทางกันแล้วมันเป็นปัญหาคือผู้ใหญ่ทำให้เป็นปัญหา ทำให้เขารู้สึกแบบนั้น กลับกันเลยเด็กที่พ่อแม่อยู่ด้วยกัน แต่ทะเลาะกัน นั่นอาจจะมีปัญหาก็ได้ 

 

เพราะสังคมไทยค่อนข้างปลูกฝังว่า ครอบครัว ต้องมีพ่อแม่ลูก แต่ในความเป็นจริงการอยู่กับใครสักคน อยู่แค่พ่อ อยู่แค่แม่ ก็กลายเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบได้ คำว่าครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกเยอะ ๆ

 

แต่เราเน้นที่ปริมาณของความรัก ความรู้สึกอบอุ่นซึ่งกันและกันดีกว่า การจะรับมือกับเสียงคนรอบข้างที่มีความสงสับ เคลือบแคลงใจ หรือแอบนินทานั้น ถ้าพวกเขาเลือกจะทำแบบนั้นแปลว่าเขาไม่ได้ให้ความรู้จักเราดีเลย

 

ด็กที่พ่อแม่อยู่ด้วยกัน แต่ทะเลาะกัน นั้นก็คือปัญหาเหมือนกัน หากว่าตัวเรารู้ดีที่สุดว่า เรามีความสุขไหม เราไม่ต้องสนใจเสียงรอบข้างที่มารบกวนจิตใจของตัวเรา

 

พอดแคสต์คดีฆาตกรรมมา ของช่อง salmon podcast ฆาตรกรทั้งสองคนที่เป็นผู้ก่อเหตุ ต่างมีครอบครัวที่ไม่อบอุ่น พ่อแม่ไม่ได้อยากให้เกิดมา ชาย 2 คนเป็นผู้ก่อเหตุ ทั้งสองมักจะขับรถตู้ใครผ่านไปผ่านมา

 

บางทีอาสารับไปส่งตามสถานที่ต่าง ๆ แต่เรื่องเลวร้ายเริ่มจากที่เขารับผู้หญิง ไปล่วงละเมิดทางเพศและฆ่าอำพรางศพ ทำแบบนี้ซ้ำ ๆ พอจับได้ สอบสวนถึงรู้ว่าทั้ง 2 คนนี้เติบโตมากับครอบครัวที่ไม่อบอุ่น

 

พ่อแม่ไม่ได้อยากให้เกิดมา ทำให้เขาไม่ได้ถูกเลี้ยงดูมาดี ได้รับความรักความเอาใจใส่ที่เพียงพอ ที่หยิบยกมาเล่าเพราะอยากบอกว่าผลกระทบจะร้ายแรงขนาดไหนเราไม่มีทางรู้เลย

 

การหย่าร้างหรือเลิกรากันไม่ใช่สิ่งที่จะตัดสินว่าเราล้มเหลวในชีวิต เพราะมันคือพาร์ทนึงในชีวิต การแยกทางกันถึงหน้าที่สามีภรรยาจะจบลงก็จริงไม่ได้หมายความว่าหน้าที่พ่อและแม่จะจบลง

 

ม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดหนึ่งที่ต้องดูแลลูก ทุก ๆ การจากลามีการเริ่มต้นใหม่เสมอ อาจจะไม่ได้เริ่มต้นในรูปแบบที่มีความรักใหม่ แต่เป็นการเริ่มต้นใหม่กับชีวิตของเราเอง ได้เจอชีวิตที่อยากเราอยากใช้

 

ได้มอบความรักให้ลูกแบบมากขึ้นมากกว่าเดิม ได้มีโอกาสทำในสิ่งที่อยากทำ และอย่าลืมที่จะให้ความสำคัญ ใส่ใจความรู้สึกของลูกของเราด้วย เพราะการเติบโตของลูกจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในตอนเด็กด้วยส่วนใหญ่จริง ๆ

 

อ้างอิง

WHEN A FAMILY BREAKS UP: DIVORCE AND SEPARATION