เคยผ่านช่วงเวลาที่ได้ดูการ์ตูนตอนเช้าในวัยเด็ก การ์ตูนสีสันสดใส ตัวละครน่ารัก จริง ๆ แล้ว การ์ตูน ในวัยเด็กมีอะไรมากกว่าที่คิดนะ
มุมมองที่มีต่อ การ์ตูน
“การ์ตูนคือเพื่อน” “การ์ตูนทำให้เราเติบโต” และ “การ์ตูนทำให้เราเป็นหนึ่งเดียว”
เพราะการ์ตูนเป็นส่วนหนึ่งในตัวเรา เราทุกคนโตมากับการ์ตูน บทเรียนที่ได้ในนั้นทำให้เราโตขึ้นขัดเกลาความเชื่อ ความคิด ความรู้สึกของเรา และที่บอกว่าการ์ตูนทำให้เราเป็นหนึ่งเดียว
เพราะไม่ว่าเราจะอยู่คนละอำเภอ คนละจังหวัดหรือ คนละประเทศ การ์ตูนก็ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนเราเติบโตไปพร้อม ๆ กัน
ย้อนไปในวัยเด็กมีการ์ตูนหลายเรื่องที่เราดูแบบเพลิน ๆ ดูไว้เพื่อไปคุยกับเพื่อนตอนไปโรงเรียน ไม่ได้หาเหตุผลว่ายังไง ทำไมถึงเป็นแบบนี้
แต่พอโตมาได้มีโอกาสกลับไปดูการ์ตูนในวัยเด็กที่เคยดูรู้สึกว่ามีมุมมองที่เปลี่ยนไปจากการ์ตูนเรื่องนั้น ได้ข้อคิดแบบใหม่ รู้สึกว่าการ์ตูนที่เราดูแต่ละเรื่องมีหลายมุมมองมาก
มีข้อคิดหลายอย่าง และรู้ว่าการ์ตูนตอนเด็กไม่ได้มุมมองที่สวยงามอย่างเดียวมันก็แฝงให้ผู้ใหญ่อย่างเราได้คิดตามเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงของ การ์ตูน ในสมัยก่อน-ปัจจุบัน
เจ้าหญิงดิสนีย์เห็นได้ว่าจากยุคสมัยก่อน ๆ ที่ ซินเดอเลร่า สโนไวท์ เบลเจ้าชายอสูร …. ตัวการ์ตูนที่เป็นผู้หญิงดำเนินเรื่องหลัก จะถูกรังแก มีปัญหากับครอบครัว ไร้ทางสู้
ในบางเรื่องก็ถูกเซตไว้ว่าผู้หญิงต้องทำงานบ้าน เป็นแม่บ้านแม่เรือน สารที่ดิสนีย์กำลังส่งผ่านออกมาจากสื่อการ์ตูนได้มีการเปลี่ยนไปจากการ์ตูนเจ้าหญิงที่ไร้ทางสู้ รอวันที่จะได้ปลดแอกตัวเอง
โดยการมีเจ้าชายหรือใครสักคนยื่นมาช่วย พอโลกเปลี่ยนไปสารที่สื่อออกมาเริ่มเปลี่ยน เช่น เอลซ่าที่แสดงให้เห็นชัดเลยว่าเขาไม่ต้องการความรัก ไม่ขวนขวาย โหยหาอิสระ
และ โมอาน่า ที่พยายามชั่วเหลือคนในชนเผ่าของตัวเอง “ด้วยตัวเอง”โดยปราศจากความช่วยเหลือของเจ้าชาย หรือผู้ชายใด ๆ ทั้งสิ้น
หรือเปรียบเทียบในการ์ตูนที่ใช้สัตว์ต่าง ๆ อย่างซูโทเปีย ภาพที่เราเห็นคือ เป็นเรื่องราวของสัตว์น่ารัก ๆ แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องนี้สะท้อนหลายมุมทั้งระบบโครงสร้าง ระบบราชการ การกดทับ พรีวิลเลจ อคติ
จะเห็นว่าในเรื่องนี้ทำให้เราเห็นถึงปัญหาเชิงโคงสร้าง ที่มีทั้งมุมมองของ นักล่าอย่างหมาป่า กับเหยื่ออย่างกระต่าย
สองสิ่งนี้ในการ์ตูนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่สิ่งที่ต้องแก่งแย่งกันเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตของคนเหมือนกัน การแตกต่าง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การใช้ชีวิตร่วมกันคือการที่เราอยู่อย่างยอมกับความแตกต่างซึ่งกันและกัน
เลือกสื่อ หรือ ปิดกั้น
การเลือกสื่อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สื่อทุกสื่อมี Rate อายุที่เหมาะ อย่าง Peppa Pig ก็เหมาะกับเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป ประเภทของการ์ตูน คือ การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ มีสื่อบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับเด็กบางช่วงวัย
เเละอีกอย่างคือเด็กเลือกเองไม่เป็น เสื้อผ้าเราเลือกให้ อาหารเราเลือกให้ ถ้าเขาทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ส่งผลกับเขา เช่นเดียวกันกับสื่อ ถ้าเสพสื่อที่ไม่เหมาะก็ส่งผลโดยตรงต่อตัวเขา
อย่างสื่อ Youtube kids ที่คัดสรรเนื้อหาที่เหมาะกับวัยเด็ก เพราะว่าในปัจจุบันเข้าใจได้ว่าการหลีกเลี่ยงเขาออกจากสื่อหรือโทรศัพท์เป็นเรื่องยาก การเลือกสื่อไม่ได้หมายความว่าเราปิดกั้นจินตนาการเด็ก
แง่คิดที่ได้จาก การ์ตูน ในวัยเด็ก
Finding Nemo
นีโม่ เป็นการ์ตูนที่มีพ่อเลี้ยงเดี่ยวคือ มาร์ลิน ที่ประคบประหงบนีโม่แบบสุด ๆ จนวันนึงนีโม่ก็ทนไม่ไหวอยากไปเที่ยวเล่นจึงผลัดหลงกับพ่อ และมาร์ลินก็ไปเจอ ดอรี่ และช่วยกันตามหานีโม่
แต่ทำไมมาร์ลินถึงกลายเป็นพ่อม่ายได้ ทำไมถึงเป็นคนขี้กังวลเกินเหตุ นั่นเพราะก่อนหน้านี้ ขณะที่ครอบครัวปลาการ์ตูนที่มีภรรยาอยู่ด้วย กำลังคุยกันเรื่องอนาคตกับลูก ๆ ที่ยังเป็นไข่ทั้งหมด 400 ใบ
ก็มีผู้ล่าเป็นปลาตัวใหญ่แสนน่าเกรงขามบุกมาทำร้ายบ้านของพวกเขา พ่อแม่ปลาการ์ตูนพยายามปกป้องไข่เต็มที่ แต่ระหว่างช่วงชุลมุน มาร์ลินก็ถูกทำร้ายจนหมดสติไป
เมื่อฟื้นขึ้นมา มาร์ลินก็พบว่าตัวเขาได้สูญเสียภรรยาและลูก ๆ อีก 399 ตัวไปเสียแล้ว มีเพียงเขากับไข่ใบเดียวที่มีชีวิตเหลือรอดมาได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างแผลที่ฝังรากลึกในใจของผู้เป็นพ่อคนนี้
เขาจึงกลัวตลอดเวลาว่าอะไรจะมาทำร้ายเขากับลูกอีก ตอนเด็กเราดูแบบไม่ได้คิดอะไรในจุดนี้เลยเราโฟกัสแต่น้องที่จัดฟันที่รังแกปลา แต่พอกลับมาดูแล้วเออมันลึกมันมีอะไรให้เราคิดพอโตขึ้น
Toy Story
เป็นเรื่องราวของแก๊งค์เพื่อนของเล่นที่ดูเหมือนว่าจะไร้ชีวิต แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ในช่วงเวลาหนึ่งพวกเขากลับมีชีวิตและร่วมผจญภัยไปด้วยกัน พ้อยต์ของการทำให้ของเล่นมีชีวิต คือ การสอนเด็ก ๆ ว่า ให้รักษาของเล่นให้ดี เพราะเขามีชีวิตจิตใจ
-Teamwork และ Social Support สำคัญ ลองนึกภาพว่าบัซและวู้ดดี้จะทำยังไงหากไม่มีกันและกัน และจะเป็นยังไงถ้าไม่มีเพื่อน ๆ ในเรื่องทอยสตอรี่ ในระหว่างทางอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ว่าบัซและวู้ดดี้จะพยายามทำภารกิจเดี่ยวกี่ครั้งก็ตาม แต่สุดท้าย Teamwork ทำให้พวกเขาผ่านภารกิจยาก ๆ ไปได้
-เราทุกคนล้วนต้องเติบโตและความชอบเปลี่ยนไปเสมอ การเติบโตจะยากเสมอเมื่อเราไม่อยากโต แต่การที่เราโตขึ้นไม่ได้หมายความว่าเราจะสูญเสียความเป็นเด็กในตัวเราไป เหมือนกับแอนดี้ที่เล่นกับของเล่นของเขาเป็นครั้งสุดท้าย
ก่อนจะส่งต่อให้บอนนี่ มันเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจว่าทุกคนย่อมมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เราต้องโอบรับช่วงเวลาที่มีและพร้อมที่จะปล่อยวางเพื่อการเดินหน้าต่อไป แก๊งของเล่นเองก็รู้แอนดี้ต้องเดินหน้าต่อไป แม้ว่าพวกเขาจะสะเทือนใจแค่ไหน แต่เพราะความรัก พวกเขาก็พร้อมปล่อยเขาไป
-ทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง จาก Toy Story 4 Forky ตัวละครใหม่ที่ถูกประดิษฐ์จากของเหลือใช้ของบอนนี่ Forky คิดเสมอว่าเขาสมควรที่จะอยู่ในถังขยะ (ไม่มีค่า) แม้ว่าบอนนี่จะมองเขาเป็นสมบัติล้ำค่าก็ตาม ตลอดทั้งเรื่อง
วู้ดดี้พยายามโน้มน้าวให้เขาเห็นคุณค่าและความสำคัญในตัวเอง ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง บางครั้งเราอาจจะมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ด้วยกรอบอะไรบางอย่างที่มี เช่น หน้าตา ฐานะ ความฉลาด บุคลิกภาพ
หรืออาจจะมาจากการมองเห็นตัวเองจากที่คนอื่นมองหรือจากที่เรามองตัวเอง แต่สิ่งทั้งหมดไม่สามารถนำมาวัดคุณค่าในตัวใครได้ แค่คุณมีความสำคัญต่อใครบางคน อาจจะแค่คนเดียว นั่นก็หมายความว่าเราเองนั้นมีคุณค่าไม่ต่างจากใคร
ชินจัง
การ์ตูนที่เราดูตอนเด็กเราจะเห็นว่าชินจัง ทะลึ่ง ทะเล้น เกินเด็ก 5 ขวบ ที่เติบโตมากับแม่ พ่อ น้องสาวฮิมาวาริ และสุนัขชื่อชีโร่ ตอนเด็ก ๆ พอโตขึ้นมาเราได้ข้อคิดจากชินจังเยอะเหมือนกัน
อาจารย์ที่เขียนชินจังเขาตั้งใจทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เสียดสีสังคมในยุคนั้น ที่ญี่ปุ่นเต็มไปด้วยความเครียด เลยตั้งใจทำการ์ตูนครอบครัวที่ค่อนข้างรีเลทกับสังคมมา
เราจะเห็นได้ว่ามิซาเอะที่หัวหมุนกับการเลี้ยงลูกอยู่บ้านทำกับข้าว พ่อที่ทำงานเช้า-เย็นกลับมาเมาที่บ้าน บางทีเห็นผญก็มองบ้าง และคุณครูที่โรงเรียนชินจังที่อายุเกือบ 30 ที่วิ่งหาความรัก ซึ่
งพอกลับมามองแล้ว ค่อนข้างจะชีวิตจริงมาก ๆ ในเรื่อง เรายังเห็นการใช้ชีวิตแบบการ์ตูนเรื่องชินจังในชีวิตจริงที่เกิดขึ้นกับเราและคนรอบตัว
Winnie and The Pooh
-รูปแบบความสุขต่างออกไปเมื่อผู้คนต่าง – ‘Donkey For A Day’ ซึ่งเป็นตอนแรกของ The New Adventures Of Winnie The Pooh เริ่มต้นด้วยการที่ Piglet คอยเฝ้าดูกิจวัตรยามเย็นของ Eeyore ที่นั่งคนเดียวบนเนินเขา
และเริ่มกังวลเกี่ยวกับความหม่นหมองนั้น เลยอยากช่วยอียอร์ พิกเล็ตจึงขอให้เพื่อน ๆ ที่เหลือ ใช้เวลาหนึ่งวันให้กำลังใจเขา โดยไม่สนใจคำทักท้วงของอียอร์ ทุกคนผลัดกันทำสิ่งที่ชอบร่วมกับอียอร์
แต่ว่าแต่ละกิจกรรมก็จบลงแบบแย่ ๆพิกเล็ตคิดกิจกรรมสนุก ๆ ไม่ออก เลยขอโทษที่ไม่สามารถให้กำลังใจเขาได้ และได้เรียนรู้ว่า Eeyore ไม่เคยมีความสุขเลยตั้งแต่เริ่มต้น สิ่งที่ชอบของ Eeyore คือการได้นั่งดูดาว
ในท้ายที่สุด Piglet ทำให้เขามีความสุขที่สุดเพียงแค่ถอยหลังหนึ่งก้าวและฟังสิ่งที่เขาต้องการ การที่เรามีเพื่อนที่เขาไม่ชอบออกไปข้างนอก ไม่ชอบออกไปเจอสังคม ไม่ได้หมายความว่า เขามีปัญหา
เพราะ “ความสุข” แตกต่างกัน บางคนชอบทำงานอดิเรกเงียบ ๆ บางคนชอบดื่มด่ำไปกับจินตนาการของตัวเอง
-Families are built on love,not just blood. ใน The Tigger Movie: Tired of being “The onliest one,” เป็นเรื่องราวของทิกเกอร์ที่ออกเดินทางเพื่อค้นหาครอบครัวที่แท้จริงของเขา ในเรื่องก็จะมีการผจญภัยเกิดขึ้นหลายอย่าง
เจอกับความล้มเหลว ผิดพลาดหลายครั้ง ทิกเกอร์วิ่งหนีไปเข้าไปในพายุหิมะเพื่อตามหา Family Tree เพื่อน ๆ ของเขาก็ออกตามหาเขา ระหว่างนั้นเกิดหิมะถล่ม ทิกเกอร์ก็กระเด้งเพื่อน ๆ ของเขาไปยังที่ปลอดภัย
คือ กิ่งไม้ที่เขาเชื่อว่าเป็นครอบครัวของเขา ตอนนั้นทิกเกอร์ก็เลยตระหนักว่าเขามีครอบครัวมาโดยตลอด นั่นคือเพื่อนๆของเขาที่อยู่บนกิ่งไม้นั้น
เรื่องนี้สอนเกี่ยวกับความหมายของการเป็นครอบครัว ครอบครัวส่วนใหญ่ผูกพันกันด้วยสายเลือด แต่ก็ไม่เสมอไป เช่น ครอบครัวของ Tigger ที่สร้างขึ้นจากกลุ่มเพื่อนที่ใกล้ชิดซึ่งห่วงใยซึ่งกันและกัน
ความรักระหว่างพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเป็นครอบครัว
การ์ตูนหรือแม้กับละคร หนัง เพลง หนังสือ ให้บทเรียนที่เเตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคนที่เสพว่าทัชใจในส่วนไหน ตีความได้ในส่วนไหน การที่เราได้นั่งดูการ์ตูน สามารถเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขท่ามกลางความเครียดของชีวิตได้
ไม่ว่าเราจะอายุมากเท่าไหร่ การ์ตูนก็ยังเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคนอยู่ดี ถ้าวันไหนที่เครียดจนไม่รู้จะหาทางออกยังไง ลองเลือกการ์ตูนสักเรื่อง อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เคยดูหรือเรื่องที่เคยดูตอนเด็ก ไม่แน่ว่ามุมมองของเราที่มีต่อเรื่องนั้นอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้นะ
ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การ์ตูน หนัง เพลง ชีวิต เพื่อน ๆ ต่างรอบตัวเรา ตอนวัยเด็กเรารู้สึกแบบนั้น โตมาเราอาจจะรู้สึกอีกแบบ มีมมุมมองที่มากขึ้น คิดได้มากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดีนะไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่กาตูนก็จะพาเรากลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง 😀
ที่มา
ชินจังความขำในของความขมของชีวิต
5 IMPORTANT LIFE LESSONS I LEARNED FROM THE ‘TOY STORY’ MOVIES!
8 Life Lessons From Winnie The Pooh
Post Views: 2,391