คนมีเพื่อนน้อย ทำไมยิ่งเติบโตคนรู้จักในวัยเด็ก วัยรุ่น ถึงหายไปตาลกาลเวลา ?
ยิ่งโต ยิ่งมีเพื่อนน้อยลง
การที่เรามีอายุมากขึ้น เพื่อนลดน้อยลงเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ ความชอบใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนก็แคบลง
การที่เพื่อนสนิทมีน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าเราแปลกหรือแตกต่างจากคนอื่น
ไม่มีเพื่อน การขาด Social Support
อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจทำให้รู้สึกขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ รู้สึกล้มเหลว
การมีเพื่อนคอยทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เรารู้สึกสนุก รู้สึกปลอดภัย
การไม่มีเพื่อนทำให้ความมั่นคงลดลง ไม่มั่นใจในตัวเอง
Social Support ไม่ใช่เพื่อนเสมอไป อาจเป็นครอบครัว ศิลปินดาราที่ชื่นชอบก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยขับเคลื่อนชีวิตได้เช่นกัน
วิธีรับมือเมื่อต้อง “สูญเสียเพื่อน”
การที่เราไม่สนิทกับเพื่อนเหมือนเดิมคล้ายกับอาการอกหัก ความสัมพันธ์ไม่มีความยั่งยืนเสมอไป
ทำความเข้าใจในเหตุผลที่เพื่อนแยกจากเรา เพื่อนอาจมีเหตุผลคือการมีความคิด มีประสบการณ์กับสังคมที่แตกต่างจากเรา
เปิดใจยอมรับเมื่อเจอกับความเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมในความสัมพันธ์เพื่อน ช่วงแรกเราอาจจะยอมรับไม่ได้ โกรธ โมโห
ในการรับมือสิ่งสำคัญที่สุดคือการยอมรับเหตุผลของเพื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าจะไม่เหมือนเดิมแต่เรายังเป็นเพื่อนกันได้เสมอ
สร้างความสัมพันธ์ใหม่อย่างไร
เริ่มจากชัดเจนกับความต้องการของตัวเองว่าต้องการเพื่อนแบบไหน คนที่จริงใจ คนที่คุยกันได้ทุกเรื่อง
จริง ๆ คนที่เราต้องการอาจอยู่เคียงข้างเรามาตลอดบางทีสิ่งที่เราอยากมี อาจทำให้เราเผลอมองข้ามหรือคิดว่าตัวเองไม่มีเพื่อน
หากเราลองสำรวจรอบข้างแล้วว่ายังมีคนที่หวังดีกับเรา คนที่พร้อมรับฟังเราเสมอ เรากลับมาให้ความสำคัญกับเขาก่อนได้
หากไม่มีจริง ๆ เราลองออกจาก Comfort zone ของตัวเองก่อน ไม่ปิดกั้นตัวเอง มองหาคนที่เรารู้สึกสบายใจหรือมีอะไรคล้ายกัน
อาจทำให้เราสบายใจที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ได้มากขึ้น 🙂
ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีใครซัพพอร์ตแต่เรายังมีตัวเอง กลับมาสำรวจตัวเราว่าทำอะไรแล้วมีความสุข รู้สึกสบายใจ
การทำกิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้เรามีความสุขได้ด้วยตัวเองช่วยทำให้ ผ่อนคลายและลดการโฟกัสการหาคนอื่นมาซัพพอร์ตความรู้สึกตัวเองได้
ลองใจดีกับตัวเอง ภูมิใจในตัวเองจากสิ่งเล็ก ๆ ที่ทำด้วยตัวเอง ก็ทำให้รู้ว่าโลกไม่ได้ใจร้ายกับเราขนาดนั้น
Post Views: 883