ความกังวล ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เป็นเหมือนสัญชาตญาณช่วยป้องกันอันตราย
ความกังวลเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรมี หากไม่มีความกังวลเลยเราก็จะไม่กลัวอะไร อาจทำให้เราไม่ระวังตัวในเรื่องที่อันตราย
ประโยชน์จาก ความกังวล
ความกังวลที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์สอนให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เรียนรู้ว่าความกังวลทำให้เรามองเห็นสิ่งที่อยู่ในใจเราชัดมากขึ้น
เราเลือกที่จะเรียนรู้ทำความรู้จักกับความกังวลและเรียนรู้การได้แก้ปัญหาจากเรื่องที่เรากังวลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเรา ทำให้เราได้ประโยชน์จากความกังวลของตัวเอง
เพราะอะไรทำให้ระดับความกังวลถึงแตกต่างกัน?
มี 3 ปัจจัย
- การเติบโตและประสบการณ์มีผลต่อความกังวลที่แตกต่างกันได้
บางคนมีความกังวลจะรู้สึกไม่แน่นอนเพราะประสบการณ์ชีวิตมีแต่เรื่องที่ไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน การเลี้ยงดูในวัยเด็กที่คาดเดาไม่ได้ ทำให้เราไม่มั่นคงในจิตใจส่งผลทำให้มีความกังวลอยู่เสมอ
- ความคาดหวังว่าทุกอย่างจะผิดพลาดไม่ได้
ส่งผลให้มีความกังวลมากกว่าปกติ การคิดวางแผนให้กับทุกเรื่องจะทำให้ไม่มีสิ่งที่ผิดพลาดแต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ
- การพยายามควบคุมทุกอย่างส่งผลให้เกิดความกังวลกับตัวเองว่าเราต้องรับผิดชอบทุกอย่าง หากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ควบคุมจะเกิดอันตรายกับตัวเอง
บางคนมีความยืดหยุ่นให้กับตัวเอง สามารถยอมรับความไม่แน่นอนได้ เข้าใจว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสามารถทำให้มีความกังวลไม่เท่ากัน
ความกังวลนำไปสู่ โรคทางจิตเวช ได้หรือไม่?
ความกังวลที่ไม่สามารถประเมินผลได้ การมีความกังวลมากเกินไปส่งผลต่อชีวิตประจำวัน สามารถนำไปสู่โรคทางจิตเวชได้
หากรู้สึกว่ามีการประเมินตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง เริ่มหนีปัญหา เก็บตัวอยู่กับตัวเอง อาจบ่งบอกได้ว่าเราควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ
การรักษามี 2 รูปแบบ
- การใช้ยา จิตแพทย์ประเมินความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ แนวโน้วการรักษาหากทานยาร่วมด้วยก็อาจทำให้จัดการได้ดีขึ้นการบำบัด
- จิตแพทย์มีการประเมินว่าเราสามารถจัดการตัวเองได้ อาจต้องมีนักจิตวิทยาเป็นผู้แนะนำในการบำบัดว่าควรจัดการกับความกังวลอย่างไรบ้าง หรืออาจประเมินแล้วว่าสามารถรักษาควบคู่กันได้
วิธีรับมือกับความกังวลในชีวิตประจำวัน
ค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องอะไร มีเหตุผลในการแก้ไขเรื่องที่เรากังวลอย่างไร
ฝึกการคิดเชื่อมโยงความกังวล บางครั้งความเครียดก็เป็นความกังวลและความกลัวได้ เริ่มรู้เท่าทันว่าตัวเรากำลังมีความกังวลนะ
มีการตั้งคำถามว่าเราจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างไรต่อไป ก็สามารถป้องกันความกังวลได้ดีขึ้น
บางครั้งความคิดกังวลที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงความคิดที่อาจจริงหรือไม่จริง
เรามีความกังวลเกิดขึ้นได้แต่อยู่ในความพอดี รู้เท่าทันความคิดของตัวเองว่าคิดกังวลเรื่องอะไร บางครั้งการคิดว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เรายอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ช่วยให้เราเข้าใจความกังวลได้
Post Views: 940