ความคิดถึง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าเราจะคิดถึงบ้าน คิดถึงเพื่อน คิดถึงแฟน หรือแม้แต่สิ่งของ สถานที่ วันนี้มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ความคิดถึง ผ่านมุมมองของนักจิตวิทยา
นิยามของ ความคิดถึง
ความคิดถึงคือ ความต้องการอย่างแรงกล้า ต่อสิงใดสิ่งหนึ่ง หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่อยู่ไกล ไม่สามารถเข้าหา หรือไม่ได้รับการตอบสนองจากสิ่งนั้น
ความคิดถึงมาจากไหน
ความคิดถึงมาจากการตอบสนองทั่วไปต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต เช่น การเติบโตเป็นผู้ใหญ่, วันเกษียณ ,การย้ายถิ่นฐาน หรือแม้แต่การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี เป็นต้น
ความคิดถึงมักเกิดจากอารมณ์เชิงลบเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปความคิดถึงมาพร้อมกับรสชาติที่หวานหอมและขมขื่น เนื่องจากเราไม่สามารถสัมผัสช่วงเวลาที่คิดถึงได้อย่างเป็นรูปธรรม
คิดถึงอย่างไรให้มีความสุข
การคิดถึงโดยไม่เป็นทุกข์ นั่นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะสามารถกำกับตัวเองได้มากน้อยเพียงใด เพราะการคิดถึงนั่นก็อาจจะไม่ได้ทำให้ทุกอย่างแย่ลงเสมอไป
และอาจจะต้องมีความรู้สึกเช่นนี้บ้าง เพื่อให้เราได้เห็นคุณค่า หรือสะท้อนให้ชีวิตได้เห็นอะไรบ้างอย่าง
ประโยชน์ของความคิดถึง
1. ความคิดถึงสามารถพาเราออกจากความเจ็บปวด หรือความว่างเปล่าได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
2. พาชีวิตให้มีสีสัน
3. มองเห็นมุมมองที่หลากหลายในชีวิต
ความคิดถึงเกิดขึ้นได้ช่วงเวลาไหนบ้าง
ความคิดถึงเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ เวลา หากความคิดถึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอาจจะต้องเข้าพบคุณหมอ เพราะอาจจะมีอาการของจิตเวชบางประการเกิดขึ้น
คิดถึงจนเป็นทุกข์ทำอย่างไร
สิ่งแรกที่ทำได้ คือ ทำความเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากอะไร มีความรู้สึกใดซ่อนอยู่ เมื่อเข้าใจแล้วให้เราเข้าไปจัดการกับความรู้สึก มากกว่าจัดการกับสภาวะคิดถึงที่เกิดขึ้น
คิดถึง และ นึกถึง ต่างกันอย่างไร
นึกถึง คือ การใช้สมองเพียงอย่างเดียวในความคิดนั้น แต่ความคิดถึง จะใช้ทั้งใจ และความรู้สึกร่วมด้วยในความคิดนั้น
Post Views: 4,287