ความเครียด สิ่งที่อยู่เป็นเพื่อนเราเสมอ แต่หากว่ามันมาบ่อย ๆ และกลายเป็นความเครียดที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ เราจะจัดการความเครียดได้อย่างไรบ้างในทางจิตวิทยา
ความเครียด คืออะไร
เราต่างก็เคยมี ความเครียด ไม่ว่าจะเครียดน้อยหรือเครียดมาก ต่างก็เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นสิ่งที่ตอบสนองกับสมองเป็นหลัก
เป็นธรรมชาติสร้างให้มนุษย์เพื่อให้เรารู้เกี่ยวกับภัยที่จะเกิดขึ้น
ความเครียด มีหลายรูปแบบ
1.ความเครียดเฉย ๆ เมื่อรู้สึกถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
2.ความเครียดเฉียบพลัน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีจากสิ่งนั้น ๆ อาจจะเป็นเจ้านายคือสิ่งกระตุ้น
3.ความเครียดเรื้อรังคือเราไม่สามารถปล่อยวางความเครียดจากเรื่องนั้นได้เลย สะสมมาเรื่อย ๆ เป็นเวลานาน
4.ความเครียดก็คือความเครียดที่สร้างความสุข เหมือนว่าความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาไปได้ด้วยดีก็จะสร้างความสุขให้เรา
ความเครียดส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง
ทางด้านร่างกายส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เครียดลงกระเพาะ มวนท้อง หรือทำให้มีอาการเป็นเหน็บชา ตะคริว ทางด้านจิตเวชก็มีอาการเครียดจนมือสั่น มืออ่อนแรง เหงื่อออก แพนิค ใจสั่น
วิธีจัดการกับความเครียด เรื้อรัง ความเครียดเฉียบพลัน
สิ่งที่ดีที่สุดของการจัดการความเครียดคืออย่าให้ความเครียดเกิดขึ้นจะดีที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก สิ่งที่เราเครียดเรื้อรั้งอาจจะไม่ใช่กลไกทางสมอง แต่เป็นกลไกทางจิตใจร่วมด้วย
เพราะต้องมีสิ่งที่ทำให้เรายึดติดหรือมีประสบการณ์บางอย่างที่ฝังใจ การจัดการที่ดีคือควรจัดการความเครียดโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดเป็นความเครียดสะสม คือการจัดการกับเหตุการณ์นั้น ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียด
ต้นเหตุของความเครียด หากเราจัดการที่ต้นเหตุและไม่มีอะไรแอบแฝง ความเครียดเราจะหายไปเร็วขึ้น ไม่คิดถึงเหตุการณ์ต่อจากนี้จนเกิดความกังวล
แต่หากเป็นความเครียดเรื้อรังควรพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเพราะว่าอาจจะมีปมในใจซ่อนอยู่ เพื่อปลดล็อคจิตใจเรา การพบแพทย์คือทางเลือดที่ดีอีกหนึ่งทาง
ความเครียดมีข้อดีไหม?
ความเครียดก็มีข้อดีเพราะทำให้เรารู้ว่าสิ่งไหนสำคัญ ไม่สำคัญ แต่ในจุดที่เราเกิด ความเครียดก็อาจจะมองข้ามได้ว่าความเครียดมีข้อดี แต่ก็ไม่ได้แปลว่าความเครียดคือสิ่งที่ดี
เพียงแต่ทำให้เรารู้ว่าควรทำอะไรและรับมืออย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เหมือนเป็นภูมิคุ้มกันอีกหนึ่งชั้นหากเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เราสามารถนำมาเป็นบทเรียนได้
การเครียดโดยไม่รู้ตัวควรรับมืออย่างไร
ควรรู้จักตัวตนของตัวเองก่อนว่าเราเป็นอย่างไร มีสิ่งไหนที่เกิดขึ้น ความรู้สึก ณ ตอนนั้น เป็นแบบไหน เพื่อให้เราเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น
สามารถทำให้เรารู้ว่าเรามีอาการอะไรและควรจัดการตัวเองด้วยวิธีแบบไหนถึงจะดีต่อเราในเวลานั้น
วิธีจัดการความเครียดแบบจิตวิทยา
เลือกที่จะใช้ชีวิตให้มีคุณภาพ เครียดให้เป็นและถูกเวลา สามารถจัดการและวางแผนให้ตัวเองได้ ควรรู้ว่าควรพักอย่างไร รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรกับชีวิต
การรับมือที่ดีที่สุดของความเครียดคือไม่ใช่ทำให้หายไป แต่ต้องอยู่กับเครียดได้ เข้าใจกับความเครียด และใช้ความเครียดให้เป็นประโยชน์
Post Views: 3,283