ประเทศไทยมีอยู่ 3 ฤดู แต่ฤดูที่เราจะสัมผัสได้ส่วนใหญ่คือร้อนกับฝน แต่เมื่อฤดูหนาวมาถึงกลับรู้สึกเหงากว่าปกติ มาร่วมพูดคุยและแชร์เกี่ยวกับ “ความเหงาในฤดูหนาว”
กับรายการพูดคุย Alljit X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
ความเหงาในฤดูหนาว
ภาวะ Seasonal affective disorder
เป็นอะไรที่เกิดขึ้นตามช่วง ของการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาล อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับแสงแดดน้อยลงผิดปกติ โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่เช้ากว่าสว่าง เย็นมืดไว ทำให้ร่างกายร้างเมลาโทนิน
ซึ่งเมลาโทนินจะทำให้รู้สึกง่วงเป็นพิเศษ จนทำให้ไม่อยากทำอะไร รวมถึงได้รับวิตามินไม่เพียงพอ ฤดูกาลมีส่วมสัมพันธ์ให้เราอ่อนไหวผิดปกติ ‘ยิ่งหนาวยิ่งเหงา’ สิ่งที่ต้องยอมรับเลยคือเมื่อหนาวเราอยากทำให้อบอุ่น
เราเชื่อมโยงความอบอุ่นไปในตัวบุคคล การมีบุคคลที่เราเชื่อมโยงจะทำให้เรารู้สึกไม่เหงา พอมีสารสื่อประสาทให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงตามอากาศทำให้ส่งผลกับฮอร์โมนในร่างกายด้วยจึงส่งผลให้เกิดความเหงามากกว่าปกติ
“เหงา” เกิดจากอะไร ?
ข้างหลังของความเหงามันมีอะไรอยู่บ้าง เราถูกเติบเต็มไม่มากพอ สาเหตุหลัก ๆ มาจากอะไร เหงาเป็นทางบวกหรือทางลบ เราสามารถอยู่กับความเหงาได้ไหม ตอนเราเหงา แต่ถ้าเหงาแล้วเป็นทางลบต้องถามตัวเราว่าเกิดอะไรขึ้น มองให้เห็นที่มาที่ไปของความรู้สึกเหงาเหล่านั้น
“เหงา” แก้ไขยังไง
อะไรที่เราทำแล้วเราไม่เหงา วิธีคลายเหงาของแต่ละคนแตกต่างกัน ระบายกับคนที่เรารู้สึกว่าเราระบายได้ คนอาจจะหยิบยื่นอดิเรกบางอย่างให้เรา แต่สิ่งหลัก ๆ คือเราต้องเรียนรู้จากตัวเองก่อนว่าความเหงาเกิดจากอะไร ต้องรับรู้จากสาเหตุเพื่อที่เราจะแก้ไขได้ถูกต้อง
ถ้าเรารู้สึกเหงานานเกินไป
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เราเหงา ถ้าสาเหตุนั้นเราไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที และเราก็ไม่อยากใช้วิธีเบี่ยงเบนความเหงาไปไถโทรศัพท์ หรือเล่นอินเทอร์เน็ต การที่เรามีสังคมรอบตัวก็เป็นส่วนช่วยที่ทำให้ความเหงาเราคลายลงได้บ้างเหมือนกัน
หรือถ้าการปรึกษาคนรอบข้างไม่ได้ช่วยเราได้ขนาดนั้นการหานักจิตบำบัด เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเหงานานเกินไปก็สามารถช่วยเราได้เหมือนกันนะ 🙂
Post Views: 2,490