นอยด์ เวลาเราอารมณ์ไม่ดี มีเรื่องอะไรที่ทำให้หมดแรง เศร้า บางครั้งเราก็จะพูดคำนี้ แต่จริง ๆ แล้วในทางจิตวิทยามีคำว่า พารานอยด์ ด้วย ทั้งสองคำนี้เหมือนกันไหม ?
วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn&Share Alljit Podcast
Paranoid ?
Paranoid ในทางการแพทย์ อธิบายไว้ว่าเป็นอาการที่ คน ๆ หนึ่งกำลังรู้สึกอย่างแรงกล้า ว่ากำลังตกเป็นเป้าหมายของใครบางคนอย่างไม่มีเหตุผล และไม่สามารถที่จะสั่งให้ตัวเองหยุดได้ เช่น
เวลาเห็นใครบางคนคุยกันแล้วเรากำลังคิดว่าเขากำลังนินทาเรา ซึ่งถ้าให้เราถามหาเหตุผลว่าทำไมเราคิดแบบนั้น เราก็หาสาเหตุไม่ได้แต่เราจะคิดว่ามันต้องใช้แน่ ๆ เขากำลังคิดแบบนั้น
แต่คนทั่ว ๆ ไปอาจมีสาเหตุหวาดระแวงแบบสมเหตุสมผล เช่น การที่เราเดินคนเดียวในที่เปลี่ยวที่มืด ระแวงกลัวคนมาทำร้าย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ การระวังตัว การตั้งคำถามที่ตอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
ประเภทของ Paranoid
ดร.ดาเนียล ฟรีแมน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด รวมทั้งเป็นนักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ Paranoid: The 21st Century Fear ได้มีการแบ่งอาการพารานอยด์ออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. Non-Clinical
Non-Clinical คือ ความหวาดระแวงที่พบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งความระมัดระวังตัว ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคหรือผลเสียในการใช้ชีวิตมากมายนัก
อาการที่แสดงออก เช่น มีความวิตกกังวลมากกว่าคนทั่วไป ไม่ไว้ใจใครง่ายๆ มักระแวงว่าคนอื่นไม่มีความเป็นมิตร และมีความรู้สึกเหมือนโดนจับผิด
2. Clinical
Clinical คือ ความหวาดระแวงที่เข้าขั้นโรคทางจิตเวช ซึ่งความรู้สึกนึกคิดจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการที่แสดงออก เช่น มีความคิดว่าจะมีคนมาทำร้าย มีอาการหูแว่ว ชอบแยกตัวจากผู้อื่น
ไม่สามารถแยกระหว่างความจริงกับจินตนาการได้ ความจำและการใช้เหตุผลลดลง หวาดระแวงโดยที่ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เช่น มุดไปอยู่ใต้โต๊ะเพราะกลัวแผ่นดินไหว ทั้งที่ไม่มีสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใด ๆ
Paranoid Personality Disorder
เมื่อมีคำว่า Disorder แปลว่า เป็นโรค ๆ หนึ่งที่ผิดปกติ ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง ผู้ป่วยจะไม่ไว้ใจบุคคลรอบข้างง่าย ๆ
เพราะคิดว่าคนอื่นหวังผลประโยชน์จากตน ขี้ระแวงโดยไม่มีเหตุผล ไวต่อความรู้สึกมาก อีกทั้งกังวลว่าจะมีคนทำร้ายหรือ หักหลังอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการหวาดระแวงในระดับเบา ๆ ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ผู้ที่เป็นโรคบุคลิกภาพแบบหวาดระแวงมักจะไม่คิดว่าพฤติกรรมและวิธีคิดของพวกตัวเองเป็นปัญหา
ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการความผิดปกติทางบุคลิกภาพ Cluster A ผู้ที่เป็นโรคบุคลิกภาพแบบหวาดระแวงมักเริ่มมีอาการและแสดงสัญญาณของอาการดังกล่าวในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
รีเช็คตัวเองเป็นคนขี้ นอยด์
– เราสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจนทำให้เราไม่มีความสุขหรือเปล่า
– ความหวาดระแวงเกิดขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุ ไม่สมเหตุสมผลหรือเปล่า
– สงสัยในความหวังดีของคนอื่น คิดว่าคนที่เขามาทำดีด้วยมีเจตนาอะไรแอบแฝง
– ระแวงว่าแฟนของเราจะนอกใจโดยไม่มีสาเหตุหรือเหตุผล
– มีปัญหาในการทำงานร่วมกับคนอื่น
– ไม่ให้อภัย เก็บความรู้สึกโกรธแค้นเอาไว้เมื่อมีใครมาทำไม่ดีด้วย
– อ่อนไหว ไม่สามารถยอมรับได้ถ้ามีใครมาวิจารณ์
โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง Paranoid Schizophrenia
Paranoid Schizophrenia คือ โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง โรควิกลจริตชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เชื่อหรือ ยอมรับความจริง รวมทั้งมีอาการประสาทหลอนหรือพฤติกรรมแปลก ๆ
หากไม่ได้รับการรักษาจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการหวาดระแวงรุนแรงมากที่สุด ซึ่งอาการแตกต่างกันโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง หรือ Paranoid Personality Disorder
ขี้ นอยด์ เกินไปจนไม่แฮปปี้ทำอย่างไรดี
วิธีการดูแลหัวใจของตัวเอง หลากหลาย ซึ่งวิธีการต่าง ๆ นำมาปรับใช้ได้ตามสถานการณ์และ ไลฟ์สไตล์ของตนเอง
1. พูดกับตัวเองอย่างอ่อนโยน
2. ให้โอกาสตัวเองได้เสมอ
3. หาสาเหตุของการนอยด์ แล้วเคารพความรู้สึกของตัวเอง
อารมณ์ของเรามันมีทั้งดีและร้ายปนกันไป เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง สักพักก็หายไป และมันก็กลับมาอีกครั้งยอมรับและค่อย ๆ จัดการความรู้สึกของตนเอง
ที่มา :
Paranoid Personality Disorder (PPD)
Paranoid Personality Disorder
Paranoid Personality Disorder
Paranoid Personality Disorder
Paranoia
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก
Post Views: 1,146