เคยสังเกตตัวเองไหมว่าเป็นคนที่ ชอบเอาชนะ หรือเปล่า? บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
การที่เราเป็นคนชอบเอาชนะบางทีก็สามารถทำให้เราเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ หรือกับบางทีเราอาจจะมองว่ามันคือความทะเยอทะยานที่เกิดขึ้น ทำให้เราพยายามมากกว่าคนอื่นจนทำให้ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต ถ้าเป็นแบบนั้นเราจะแก้ไขอย่างไรดี?
เราเป็นคนมีนิสัย ชอบเอาชนะ หรือเปล่า?
นิสัยชอบเอาชนะมีข้อดี แต่ต้องมีในลักษณะที่พอดีกับตัวเอง ในเรื่องบางเรื่องเราอาจจะรู้สึกว่าแพ้ไม่ได้เลย เพราะบางทีเวลาที่เรารู้สึกชนะทำให้เรารู้สึกมีความสุขกับตัวเอง
แต่ถ้ามันมีมากเกินไปทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล ส่งผลให้คนรอบข้างรู้สึกไม่ดี คนรอบตัวไม่อยากอยู่ใกล้ เพราะนิสัยเอาชนะของเรา ก่อนอื่นต้องมาสังเกตตัวเองก่อน
1. เราเห็นใครสักคนขึ้นเป็นที่หนึ่งเรารู้สึกหงุดหงิดใจไหมเวลาคนอื่นนำหน้าเราไปไกลกว่าเรา
2. เวลาที่มีใครมาเตือนอะไรเราบางอย่าง เราจะรู้สึกไม่พอใจหรือเปล่า โกรธมาก ๆ หงุดหงิดใจมาก ๆ โดยเฉพาะเวลาถูกตำหนิเรื่องงาน เราเป็นคนแบบนั้นหรือเปล่า?
แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องชนะอยู่ตลอดเวลา
เราให้ตัวเราได้แพ้บ้างก็ได้ บางทีเวลาที่เรารู้สึกแพ้บ้างทำให้ตัวเราได้เห็นว่าเรามีข้อบกพร่องอะไร ถ้าเราชนะกับทุกอย่าง ชนะกับทุกคน แต่ตัวเองไม่มีใครที่คอยอยู่ข้าง ๆ เลย จะทำให้ความรู้สึกว่าเราโดดเดี่ยว ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
ถ้าเราปรับเป็นคนไม่ปิดกั้นคำแนะนำของใคร มันอาจจะทำให้ตัวเราเองเป็นคนน่ารักของใครหลาย ๆ คน น่าเข้าหาในสายตาของใครหลาย ๆ คนได้เช่นกัน เราทุกข์ใจเวลาเห็นใครหลายคนที่ได้ดีคนที่รู้สึกแย่ที่สุดคือตัวเราเอง
เราต้องมีการปรับหรือลดเพื่อให้ตัวเรามีความสุขกับตัวเองมากขึ้น เอาจุดแข็งที่ชอบเอาชนะมาเป็นแรงผลักดัน และเรียนรู้ที่จะแพ้บ้างเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
จะแก้นิสัยอย่างเอาชนะอย่างไรดี?
1. ตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราแพ้บ้างเราจะเป็นอย่างไร? ถ้าเราแพ้จะทำให้เราชีวิตพังทลายล้มเหลวเลยหรือเปล่า? เราชนะแล้วคุ้มค่าไหมกับสิ่งที่ได้รับกลับมา?
ถ้าเราชนะแล้วเรารู้สึกโดดเดี่ยว เครียดตลอดเวลามันคุ้มค่าไหม? ฝึกการตั้งคำถามกับความเชื่อกับตัวเอง
ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราคิดว่าจะต้องชนะตลอดเวลาก็ทำให้เราเหนื่อยแล้ว ถ้าเราตั้งคำถามและยอมรับกับความรู้สึกของตัวเองว่าเราเหนื่อยมากเกินไปจะทำให้เรามีการปรับตัวเองมากขึ้น ยอมรับตัวเองมากขึ้น
2. โฟกัสที่ความสำเร็จที่มากเกินไปถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ แท้จริงแล้วการชนะไม่เท่ากับการประสบความสำเร็จในชีวิต กว่าจะประสบความสำเร็จก็ต้องมีแพ้บ้าง ล้มบ้าง
การยอมรับว่าชีวิตเราผิดพลาดกันได้ ตัวเราเองไม่ต้องสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ้นต์ เป็นคนที่เสมอกับคนอื่นบ้างก็ได้
3. เวลาที่เราแพ้เราชอบโยนความผิดไปให้คนอื่นไหม ถ้าเราเป็นแบบนั้นอยากให้ลองเปลี่ยนมุมมองของตัวเอง การที่เราแพ้แล้วโทษคนอื่นเรียกในทางจิตวิทยาว่า กลไกการป้องกันตัวเอง
ทุกคนแพ้ได้เสมอ ลองเปลี่ยนมุมมองเพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่น
4. ตัวเราเองไม่จำเป็นต้องแข่งกับใคร การที่เราแข่งกับตัวเองก็เหนื่อยแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนใคร เอาตัวเองไปเทียบกับใคร
เพราะการที่ตัวเราเองเป็นเรามันก็มีเรื่องที่ต้องเอาชนะตัวเองมากพออยู่แล้ว เช่น การที่เราเป็นคนขี้เกียจมาก การที่จะเอาชนะตัวเองในเรื่องความขี้เกียจก็ยากมาก ๆ แล้ว
เวลาที่ตัวเราอยากจะประสบความสำเร็จ เราต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ใกล้คนประสบความสำเร็จ หลาย ๆ คนมักจะตีความว่าเราต้องเอาตัวเราไปแข่งกับบุคลลเหล่านั้น เราถึงจะประสบความสำเร็จ
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เราเอาตัวเราเองไปอยู่ใกล้ ๆ เขาเราต้องซึมซับวิธีการของเขา ต้องไปศึกษาว่าเขาทำอย่างไร เพื่อให้ตัวเราเองได้ได้นำวิธีของเขามาปรับใช้ในแบบของเราเอง
เวลาที่เราเห็นใครผิดพลาดเราไม่ข้าม
เป็นคำที่นำมาเตือนใจเราได้ เมื่อเขาล้มแล้วเรามองข้ามเขา ถ้าเมื่อไหร่เรามีมุมมองแบบนั้น หมายความว่าเราเอาชนะในวันที่เขาเจ็บ
อย่าลืมว่าก็จะมีวันหนึ่งเช่นกัน ที่เขาก็จะยินดีในวันที่เราล้มเหลว วันนั้นก็จะไม่มีใครคอยอยู่ข้าง ๆ เรา เป็นตัวของตัวเองไม่จำเป็นต้องแข่งแกับใคร เอาชนะใจตัวเองก็พอ ชีวิตของเรามีสุขและมีทุกข์รู้จักใช้ชีวิตให้บาลานซ์กัน
บางครั้งที่ตัวเราเองชอบมีนิสัยชอบเอาชนะอาจจะมาจากด้านมืดของตัวเราเอง การที่เราเสพติดการแข่งขันมีแต่ทำให้ตัวเราเองเกิดเป็นความทุกข์
ถ้าเราไม่อยากเป็นคนแบบนั้นค่อย ๆ ดึงตัวเองออกมาจากความทุกข์ใจปรับมุมมองตัวเอง เพื่อสร้างนิสัยให้เรารู้สึกมีความสุขกับตัวเองมากขึ้น
Post Views: 8,123