การหางานเป็นสิ่งที่ยากมากในยุคสมัยนี้ สำหรับคนที่เป็นซึมเศร้านั้นอาจจะยิ่งยากกว่าเดิม แล้วจริง ๆนั้น เป็นโรค ซึมเศร้าทำงานได้ไหม แล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้าง
วันนี้เรามาร่วมพูดคุยกันในรายการ “โลกซึมเศร้า”
เป็น โรคซึมเศร้าเสียประวัติไหม
การเป็นโรคซึมเศร้าจะไม่ถูกบันทึกลงในประวัติจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า ประวัติคนไข้เป็นความลับที่เปิดเผยไม่ได้ นอกจากมีหนังสือยินยอมจากผู้ป่วยเอง
โรค ซึมเศร้าทำงานได้ไหม ?
ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยต่าง ๆ ด้วยกัน
1. อาการ : มีอาการอะไรบ้าง กระทบกับงานอย่างไร
2. ลักษณะงาน : งานบางงานต้องใช้ความคิดและกดดันมาก ถ้าตัวเรายังไม่พร้อมอาจกระทบกับงานได้ และอาจจะต้องยอมรับว่าการเป็นโรคซึมเศร้านั้นทำให้ประสิทธิภาพและความโปรดัคทีฟของพนักงานลดลง
3. การรักษา : ยาบางชนิดอาจทำให้ง่วงนอน
ด้านข้อมูลจาก เพจ กฎหมายเเรงงาน อธิบายข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย “โรคซึมเศร้า” และการทำงาน ตอบข้อสงสัยที่ว่า เป็น โรคซึมเศร้า บริษัทมีสิทธิที่จะไม่รับหรือไม่ ?
โดยอธิบายไว้ว่า การพิจารณารับบุคคลเข้าทำงาน เป็นการพิจารณาเพื่อทำสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นความผูกพันกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 575 ที่ว่า
“อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”
ในส่วนของการป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” หรือโรคอะไรก็ตาม หากนายจ้างพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจไม่เหมาะกับงานก็อาจพิจารณาไม่รับเข้าทำงาน หรือไม่ตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานด้วยก็ได้
ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ส่วนกรณีเข้ามาทำงานแล้ว หากนายจ้างจะเลิกจ้างเพราะเหตุป่วย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
โรคซึมเศร้าเรียนจิตวิทยาได้ไหม ?
1. อยู่ที่ตัวบุคคลด้วยว่ารับไหวไหม บางคนสิ่งที่เรียนก็หนักจนเกินรับไหวทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะความกดดัน ความเครียด และความรู้สึกด้านลบอื่น ๆ
2. สำหรับคนที่อยากเรียนจิตแพทย์ การเข้าสอน กสพท เป็นสิ่งที่คนที่เรียนต่อสายแพทย์ต้องสอบ การที่ มีอาการจิตเวชขั้นรุนแรง อันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้อื่น
เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน ปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ
ปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวกับการทำงาน
1. Burnout Syndrome
Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นโรคที่เป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ภาระงานหนัก และปริมาณงานมากเกินไป
รวมถึงการที่งานมีความซับซ้อนและต้องทำงานแข่งกับเวลา หากปล่อยไว้สะสมนานวันเข้าอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้ อาการคือ เกิดความเครียด เหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย
รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข ไม่สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลงความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่างหรือเป็นไปทางลบกับผู้ร่วมงาน
Burnout Syndrome กับ หมด Passion แตกต่างกัน
การหมด Passion จะแตกต่างอาการหมดไฟหรือ Burnout ตรงที่อาการ Burnout จะเป็นความทุกข์ทรมานจากความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจ
ซึ่งทำให้เกิดการหมด Passion ได้ ในขณะที่การหมด Passion บางครั้งไม่ได้ทำให้เกิดอาการ Burnout เป็นเพียงอารมณ์รู้สึกที่ว่าไม่ได้หลงใหล ไม่ได้ชอบ หรือไม่ได้สนใจในสิ่งนั้น ๆ อีกต่อไป
2. ภาวะซึมเศร้าในที่ทำงาน
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ซับซ้อน สามารถเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน สารเคมีในสมอง อารมณ์ พันธุกรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือ เคยเจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจ
รู้หรือไม่ว่าสถานที่ทำงานอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เรากำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้าในที่ทำงานด้วย
Signs of Depression at Work
- ขาดงาน ลาบ่อย
- ขาดความสามารถในการจดจ่อหรือมีสมาธิกับงาน
- ไม่สามารถทำงานให้เสร็จตาม Deadline ได้
- ความรู้สึกซึมเศร้าแค่ตอนที่ทำงาน อันนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าสถานที่ทำงานเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
- เหนื่อยล้าเเละขาดพลังงา
3. แพนิก
โรคแพนิกเป็นอาการแพนิกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ผู้คนที่เป็นมักรู้สึกเหมือนจิตใจและร่างกายถูกปิดล้อม ทำให้ยากต่อชีวิตประจำวัน
แม้แต่หายใจได้ตามปกติอาจจะไม่ได้สร้างอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็นับว่าส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยอาจกลัวการเข้าสังคม
รวมไปถึงอาการแพนิคจะไปลดความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ไม่กล้าออกไปไหน ส่งผลให้กระทบกับการทำงานด้วยเช่นกัน
4. Toxic Workplace
พอเราพูดถึงการทำงาน เราแทบจะใช้ชีวิตในที่ทำงานเยอะกว่าที่บ้านเสียอีก คือ ตื่น ทำงาน กลับบ้าน นอน ทำให้พอโตขึ้นมา ปัญหาเรื่องงาน จะเป็นปัญหาหลัก ๆ ของเรา ทั้งสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตด้วย เลยจะเอา เช็คลิสมาฝากคุณผู้ฟังกันค่ะว่า สังคมในที่ทำงานของเราตอนนี้มีแนวโน้มเป็น Toxic Workplace อยู่หรือเปล่า
- พนักงานรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็นกับหัวหน้าหรือคนในทีม
- หัวหน้า หรือ คนในทีม ชอบถามเกี่ยวกับงานแบบไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่ถามเพื่อหาโอกาสตำหนิงาน หรือวิจารณ์
- พนักงานไม่สะดวกใจที่จะคุยกับ ฝ่ายบุคคลเพื่อรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น
- มีคำพูดที่ให้ความไม่สบายใจมากกว่าคำพูดสร้างกำลังใจ สนับสนุน
- ไอเดีย ข้อเสนอใหม่ๆ ถูกปัดตก
- พนักงานลาออกบ่อย ๆ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
- มีการกลั่นแกล้งในที่ทำงาน
- เวลามีความผิดพลาดเกิดขึ้น คนในทีมมักจะถามหาว่าปัญหามาจากใครมากกว่า อะไรคือสาเหตุของปัญหา
โรค ซึมเศร้าทำงานได้ไหม จัดการอย่างไรดี?
ผู้ป่วย
1. สร้างตารางงานที่ยืดหยุ่น : เพราะภาวะซึมเศร้าจะรบกวนการนอนหลับ อาจจะต้องเข้างานช้ากว่าเดิมนิดหน่อย งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าตารางเวลาที่ยืดหยุ่นช่วยเพิ่ม Productive ในที่ทำงาน
2. ตั้ง Mini task : เพื่อมีสมาธิโฟกัสกับงานมากขึ้น ให้แบ่งงานออกเป็นส่วนหลังจากทำภารกิจเสร็จแล้ว ให้พักสัก 5 นาทีเพื่อผ่อนคลายก่อนที่จะจัดการกับลิสต์ต่อไป จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจหลังจากทำงาน 1 อย่างได้สำเร็จ
3. สื่อสาร : อธิบายให้เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่อาจช่วยได้ และให้การสนับสนุนได้มากขึ้น
4. สร้าง comfort zone บนโต๊ะทำงาน : สร้างพื้นที่ทำงานในแบบที่เราชอบ อาจจะทำให้อารมณ์ของเราดีขึ้น ควรจัดพื้นที่ทำงานให้สบายและสงบ ลองวางรูปถ่ายหรือต้นไม้ไว้บนโต๊ะทำงาน ใช้สีที่ผ่อนคลาย
เพื่อนร่วมงาน
จากเพจ wall of sharing หากมีคนเป็นโรคซึมเศร้าในที่ทำงานกระทบกับงานเราไหม? ซึ่งเขาได้กล่าวไว้ว่า สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า การทำงานต่าง ๆ ก็จะช้าลงด้วย
เนื่องด้วยผลข้างเคียงจากยา การคิด การประมวลผลอาจจะช้าลง บางทีก็ต้องมีลาไปหาหมอบ้าง อาจจะทำให้งานที่ตั้งไว้ว่าต้องเสร็จตอนนี้ จะล่าช้าก็ได้ และบางครั้ง
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะต้องมีคำถามกับตัวเองว่าเราควรจะพูดคำไหนกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าดี เราสามารถเร่งงานเขาได้ไหม
อาจจะทำให้เราทำตัวไม่ถูก ซึ่งเขาได้แชร์เทคนิคว่า ** แสดงความจริงใจไปเลยว่าเราไม่รู้ แต่แสดงให้รู้ว่าแคร์นะ ** ถ้าคิดว่าส่งผลต่องานก็ลองคุยดู หาทางออกร่วมกัน
ให้เขาลองคิดว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นผลจากยาหรืออาการป่วยไหม ถ้าใช่แล้วจะแก้ไขอย่างไร ควบคุมตัวเองได้ไหม ช่วยอะไรได้หรือเปล่า
แต่ถ้าไม่มีผลต่องานก็ปฏิบัติต่อกันตามปกติ เพราะบางคนสังเกตและควบคุมตัวเองได้ดี ไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น โดยเฉพาะที่ทำงาน
องค์กร
1. “ขอบคุณ” ที่เปิดใจพูดคุย : อย่าลืมขอบคุณพนักงานที่เปิดใจเล่าถึงอาการและสิ่งที่เขากำลังเป็น เพราะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยในการเปิดใจเล่าถึงสิ่งที่กำลังจะเผชิญ
และอย่าทำให้เป็นปัญหาใหญ่ที่ร้ายแรง เพราะอาจทำให้พวกเขาอาย รู้สึกแย่หรือกลัวอนาคตของพวกเขา ที่สำคัญคือไม่ใช้อารมณ์มากเกินไป ปฏิบัติต่อคนนั้น เหมือนที่เขาทำในเวลาที่ผ่านมา
2. รับฟังแบบไม่ตัดสิน : ให้พื้นที่เขาได้พูดในสิ่งที่ต้องการจะพูดและบอกถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการในแง่ของความยืดหยุ่นหรือการอำนวยความสะดวก ฟังอย่างกว้างและปราศจากการตัดสิน
3. ช่วยเหลือเขาตามความเหมาะสม : อย่าพึ่งรับปากหรือสัญญาแบบยังไม่ได้ไตร่ตรง เพราะอาจจะทำให้เขาเกิดความขาดหวัง กำหนดขอบเขตของความช่วยเหลือที่เป็นไปได้
4. Don’t make it about you : ทุกคนมีความแตกต่างกัน ความกังวลของเขาแตกต่างจากความวิตกกังวลของคนอื่น ไม่มีใครเหมือนกัน อย่าพึ่งสรุปว่าเข้าใจสิ่งที่เขากำลังเผชิญและมองข้ามเรื่องราวของเขาไป
5. พิจารณาสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ : พนักงานอาจต้องการบางอย่างเพื่อให้พวกเขาสามารถดูแลสุขภาพจิตได้ดีขึ้น เช่น การแบ่งเวลาทำงาน การทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม การลาไปพบแพทย์ หรือมีวันพักผ่อน
6. รักษาความลับ : แต่ถ้ามีข้อมูลไหนที่จะเป็นประโยชน์ต้อตัวเขาเอง อาจจะต้องสื่อสารกับเขาให้ชัดเจน เช่น ต้องเเจ้งทาง HR เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ต่างๆที่เขาจะได้ ลองถามความสมัครใจและเหตุผลของเขาก่อน
โรคซึมเศร้า ใช้สิทธิประกันรักษาได้ไหม
1. สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง)
สามารถเดินทางไปยังหน่วยบริการใกล้บ้านที่มีสิทธิเพื่อรับการรักษาได้เลย แต่หากไม่แน่ใจในสิทธิการรักษาพยาบาล สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ สายด่วน สปสช. โทร 1330
2. สิทธิประกันสังคม
ให้ความคุ้มครองการรักษาโรคทางจิตเวชทุกประเภท โดยท่านสามารถใช้สิทธิในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ในระบบประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตรวจสอบสิทธิได้ที่ สายด่วนประกันสังคม โทร 1506
3. สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
ข้าราชการและครอบครัวสามารถเข้ารักษาโรคซึมเศร้าได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่นเดียวกับการใช้สิทธิในการรักษาโรคอื่นๆ ตรวจสอบสิทธิได้ที่ กรมบัญชีกลาง โทร. 02-127-7000
4. ประกันสุขภาพ
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช ส่วนใหญ่จะเป็นข้อยกเว้นในการเคลมประกัน ขึ้นอยู่กับแผนประกันแต่ละแผนด้วย ซึ่งมีบางบริษัทประกันที่รับทำแผนประกันสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า
แต่ค่าจ่ายสำหรับค่าเบี้ยประกันก็สูงมาก เพราะถือเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติทั่วไปและยังต้องใช้เวลาในการรักษานานอีกด้วย
ที่มา :
ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทำประกันสุขภาพได้ไหม
When Your Employee Discloses a Mental Health Condition
How to Deal with Depression at Work
‘ป่วยซึมเศร้า’ ทำประกันได้ไหม? ดูแลค่ารักษายังไง?
Post Views: 4,003