ไม่ว่าจะเหนื่อยกับเรื่องอะไรมา แค่นอนหลับก็ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่ถ้านอนมากเกินไป แปลว่าเราขี้เซาหรือซึมเศร้ากันแน่ พฤติกรรมการ นอนมากเกินไป ของเราอาจจะกำลังบอกอะไรกับเราอยู่ก็ได้
เสพติดการนอน นอนมากเกินไป อันตรายกว่าที่คิด
ความผิดปกติของการนอน
ปกติเเล้วมนุษย์จะต้องนอนประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อร่างกายที่เเข็งเเรงและเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ปกติ แต่ถ้านอนมากหรือน้อยเกินจะส่งผลให้ทั้งร่างกายและจิตใจเราผิดปกติ
แต่ความต้องการของร่ายกายแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป การจะรู้ได้ว่าร่างกายต้องการการนอนวันละกี่ชั่วโมง ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง ว่าวันที่เราตื่นมาแล้วสดชื่น วันนั้นเรานอนไปกี่ชั่วโมง
สภาวะหรือโรคเกี่ยวกับการนอน
สภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอน แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ได้แก่
1. Dyssomnias เกี่ยวกับคุณภาพและปริมาณของการนอน
- Insomnia นอนไม่หลับ
- Hypersomnia นอนมากเกินไป
- Circadian rhythm sleep disorder ง่วงนอนช้า
2. Parasomnias เกี่ยวกับสรีระและการตื่นตัว
- Nightmare disorder ฝันร้าย จำความฝันได้
- Sleep terror disorder สะดุ้ง ผวา
- Sleepwalking disorder ลุกเดินโดยไม่รู้ตัว
นอนมากไปอาจเป็น โรคนอนเกิน
เป็นโรคที่หลับเกินพอดี นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา รวมถึงงีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม ความรู้สึกขี้เกียจ หรือนิสัยส่วนตัว
แต่เกิดจากโรคทางร่างกายหรือจิตใจ จุดสังเกตที่เอาไว้เช็คตัวเองได้เบื้องต้น คือ สิ่งที่เป็นอยู่กระทบชีวิตประจำวันหรือไม่ ถ้าใช่ อาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
อาการโรคนอนเกิน
1. ง่วงตลอดเวลา
นอนมากกว่า 8 หรือ 10 ชั่วโมงขึ้นไป เสมือนเป็นนักนอน ยิ่งช่วงกลางวันจะมีอาการง่วงแบบรุนแรง ถึงจะงีบหลับก็ไม่รู้สึกสดชื่น
2. ตื่นยาก
ขอเรียกว่า นักดื่มด่ำกับการนอน คือ เสพติดการนอนมากจนตื่นได้ยากในตอนเช้า
3. เฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา
ด้วยความที่รู้สึกว่าตัวเองนอนไม่พออยู่ตลอด ส่งผลให้ตื่นมาแล้วไม่รู้สึกสดชื่น นอกจากนี้การตื่นแล้วไม่ลุกไปไหน จะยิ่งทำให้เฉื่อย ไร้ชีวิตชีวา
4. กินน้อยแต่อ้วนง่าย
มนุษย์ถูกสร้างมาให้ทำกิจกรรมเพื่อเผาผลาญและนอนเพื่อหยุดพัก แต่ถ้านอนมากเกินไป ถึงแม้จะกินน้อย แต่ไม่ได้ขยับร่างกายเผาผลาญ ทำให้อ้วนง่าย
5. หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล
แน่นอนว่าถ้าเราพักผ่อนไม่พอ ง่วง ส่งผลต่ออารมณ์แน่ๆ อารมณ์เราจะไม่คงที่ มีอะไรเข้ามากระทบก็หงุดหงิดละ เจออะไรนิดหน่อยก็กังวล กระสับกระส่าย
6. สมองช้า ความคิดไม่แล่น ความจำไม่ดี
เวลาง่วงจะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะไม่ใช่แค่ร่างกายอย่างเดียวที่หมดแรง สมองก็หมดแรงด้วยเช่นกัน
7. พูดจาไม่รู้เรื่อง วกวน มึนงง
เป็นเรื่องของความสามารถการสื่อสาร ยิ่งง่วงมากเท่าไหร่ยิ่งพูดไม่รู้เรื่องเท่านั้น บางทีพูดอะไรออกไปอาจจะจำไม่ได้ด้วย
8. อาการซึมเศร้า
เมื่อพฤติกรรมการอนมากเกินไปสะสมต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้มีสภาวะซึมเศร้าได้
สาเหตุโรคนอนเกิน
1. อดนอน
การอดนอนเป็นระยะที่ยาวนาน อาจจะทำให้เกิดความง่วงและความเหนื่อยล้ามากๆ จนร่างกายต้องการการพักผ่อนแบบไม่รู้จบ
2. นาฬิกาชีวิต
สำหรับผู้ที่ต้องทำงานกะดึก เวลานอนอาจจะปรับเปลี่ยนได้ยาก การต้องใช้ชีวิตในเวลากลางคืนอาจจะส่งผลต่อการนอนและสุขภาพร่างกายได้
ผลกระทบ โรคนอนเกิน
- กระทบต่อการทำงานและการเข้าสังคม
- คุณภาพการใช้ชีวิตลดลง
- มีโอกาสการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น
การป้องกันและการรักษา โรคนอนเกิน
สุขภาพการนอนที่ดี ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ อาจต้องปรับการใช้ชีวิตเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน
1. รักษาการนอนหลับที่ดี
- นอนให้เป็นเวลามากขึ้น
- รักษาความสบาย ความสะอาด
- ดูเรื่องอากาศ แสงสว่าง เสียงรบกวน
2.รักษาการกินที่ดี
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอลล์
3.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจร่างกาย
- จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ในกรณีที่ความเครียดหรือภาวะทางจิตใจอื่น ๆ ส่งผลให้มีพฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลงไป
นอนมากเกินไป หรือ ซึมเศร้า
จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่เป็นอยู่ แค่นอนมากเกินไป หรือ กำลังเป็นโรคซึมเศร้า
1. สังเกตอาการร่วม
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Sleep foundation ว่า โรคซึมเศร้ากับการนอนมากเกินไปสัมพันธ์กัน คือ โรคซึมเศร้าจะทำให้การนอนผิดปกติ
จุดโฟกัสของอาการโรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่เรื่องการนอนอย่างเดียว แต่จะมีความคิดลบ ความรู้สึกลบ อารมณ์ลบ โดยเฉพาะอารมณ์เศร้า
2. สังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน
นอนมากเกินไป อาจไม่ใช่เพราะโรคซึมเศร้า แต่เพราะเป็นโรคเกี่ยวกับการนอน เช่น โรคนอนมากเกิน Hypersomnia เป็นต้น
หรืออยู่ในภาวะติดง่วงที่เรียกว่า Excessive daytime sleepiness คือ มีความง่วงนอนระหว่างวันที่มากเกินไป ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
3. สังเกตว่ากระทบกับชีวิตประจำวันหรือไม่
การถามตัวเองว่า ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติหรือเปล่า ช่วยให้ประเมินตัวเองได้เบื้องต้น แต่ถ้าเริ่มกระทบกับชีวิตประจำวันต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ที่สำคัญ คือ การจะรู้ได้ว่าเราตกอยู่ในสภาวะของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ต้องมาจากการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ก่อนที่การนอนที่เป็นวิธีการพักผ่อนจะทำร้ายเรา อย่าลืมใส่ใจดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ
อ้างอิง
hypersomnia
ความผิดปกติด้านการนอน
sleep-disorders
Post Views: 5,406