เป็นคนอ่อนไหว ” ดาวน์ง่าย ” จิตตกง่าย ดิ่งง่าย แบบไม่มีสาเหตุ ผิดปกติไหม? จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญ?
เป็นคนอ่อนไหว ดาวน์ง่าย จิตตกง่าย ดิ่งง่าย ทำอย่างไรดี?
ดาวน์ง่าย จิตตกง่าย ดิ่งง่าย ผิดปกติไหม?
ดาวน์ง่าย จิตตกง่าย ดิ่งง่าย คำนี้อาจจะไม่ได้อยู่ในศัพท์ทางการแพทย์ แต่เป็นคำที่ใครหลายคนเอามาใช้เวลาเกิดภาวะอารมณ์บางอย่าง ซึ่งคำเหล่านี้มักจะอยู่ในกลุ่มความรู้สึกแย่หรือเป็นอารมณ์ลบ
ถามว่าผิดปกติไหม คิดว่าเกิดขึ้นได้ เวลาที่ไปเจอเรื่องหรือสภาวะบางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ บางทีอาจจะวูบลงไปได้ เหมือนจมลงไปในหุบเหว ถ้าสมมติว่าเราดาวน์ จิตตก ดิ่ง
แล้วเราดึงตัวเองขึ้นมาได้ อาจจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่พบเจอได้ แต่ถ้าเป็นจนคิดว่าต้องทำอะไรบางอย่างกับตัวเอง หรือ ดาวน์ จิตตก ดิ่ง มาก ๆ จะเริ่มกลัวการเข้าสังคม พอกลัวการเข้าสังคม
เราจะเริ่มเก็บตัว ไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากเจอใคร ไม่อยากพูดกับใคร หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น จะแย่ลงไปด้วย เพราะเรารู้สึกว่าเราควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
ถ้าเป็นแบบนั้น คงต้องหาตัวช่วย ว่าเกิดอะไรขึ้น อีกสิ่งที่ต้องมองคือเรื่องของอาการที่เกิดขึ้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้น อยู่กับเรานานไหม นานไหม ไม่พออาจจะต้องดูต่อด้วยว่ารุนแรงไหม
รุนแรงในที่นี้คือ บางคนเวลาดาวน์มาก ๆ จิตตกมาก ๆ ดิ่งมาก ๆ เขาจะมีการทำร้ายตัวเอง บางคนจะเริ่มไม่อยากไปโรงเรียน ไปทำงาน ร้องไห้ง่ายขึ้น ถ้าเริ่มรุนแรง คงเป็นสัญญาณว่าต้องหาตัวช่วย
ดาวน์ง่าย จิตตกง่าย ดิ่งง่าย โดยไม่รู้สาเหตุ รับมืออย่างไร?
จริง ๆ ถ้าจะบอกว่า ไม่รู้ตัว อาจจะแปลว่า เขาไม่ทันกับความคิดของตัวเอง หรือ ไม่ทันกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะจริง ๆ แล้ว อารมณ์ดาวน์ จิตตก ดิ่ง หรืออารมณ์อื่น ๆ
ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจะ “มีที่มาที่ไปเสมอ” แม้กระทั่งพฤติกรรมของเรา เวลาเราทำอะไรลงไป มักจะมีที่มาที่ไปเสมอ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อยู่ ๆ วันนี้อยากช็อปปิ้งจังเลย เราอาจจะไม่ทันความคิด
หรือความรู้สึกตัวเอง ว่าตอนนี้เครียด พอเครียดเราเลยแค่อยากจะไปทำอะไรที่ผ่อนคลาย แต่ตอนที่ไป เราคงไม่ได้กลับมาคิด ว่าก่อนหน้านี้ทำงานเครียดจังเลย หัวหน้าขี้บ่นจังเลย
เพื่อนร่วมงานทำไมชอบพูดจาไม่ดีใส่เราจังเลย มันเครียดอยู่ข้างใน แต่เราไม่ได้จับกับความเครียดตัวเองได้ เรารู้แค่ว่าร่างกายต้องการผ่อนคลาย ต้องการพักผ่อน เราเลยเอาตัวเองไปช็อปปิ้ง
ซึ่งมันจะคล้ายกันกับ ดาวน์ จิตตก ดิ่ง สิ่งเหล่านี้จะที่มาที่ไป โดยส่วนมากแล้วจะเป็นเรื่องของความคิด เพราะว่าความคิดบางทีเข้ามาอย่างรวดเร็วแล้วค่อย ๆ เบาบางลงไป บางทีเข้ามาเร็วมาก
จนกระทบความรู้สึกเรา เราก็ดาวน์ได้ จิตตกได้ ดิ่งได้ ถ้าถามว่า จะไม่มีที่มาที่ไปเลย หลายคนอาจจะขัดแย้ง หรือรู้สึกว่าอยากโต้เถียงกับประเด็นนี้ แต่จริง ๆ อยากบอกว่า คงมีความคิดบางอย่างแว้บเข้ามา
ถ้าจะลองสังเกตตัวเองกลับไป บางทีนั่งเขียนงานอยู่ บางทีเราแว้บบางเรื่องเข้ามา เร็วมากแล้วสักพักเราแย่ลงไปเลย
จะรู้ทันความดาวน์ จิตตก ดิ่งของตัวเองได้อย่างไร?
จริง ๆ จิตวิทยาไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เราเพียงแค่ไม่เคยกลับมาทบทวนกับสิ่งนี้ แน่นอนว่า ในการเรียนจิตแพทย์หรือการเรียนของนักจิตวิทยาแต่ละท่าน จะต้องทบทวนตัวเองได้
ไม่งั้นคงทำความเข้าใจเคสที่อยู่ตรงหน้าไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เห็นภาพตัวเองชัดขึ้น เวลาเกิดอะไรขึ้น อยากให้ลองบันทึก คล้าย ๆ ไดอารี่ ถ้าวันหนึ่งเรากลับมาอ่านอีกที เราจะเห็นภาพตัวเอง
ว่าวันนั้นเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นไง เราเลยคิดแบบนี้ รู้สึกแบบนี้ แต่ธรรมชาติของคนไทยจะแยกความคิดและความรู้สึกไม่ได้ เพราะว่าตัวเราเองถูกสอนมาให้คิด
แต่ไม่ได้ถูกสอนมาเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง ทีนี้เวลาที่เราจะต้องทำความเข้าใจหรือจะต้องค่อย ๆ กลับมาดูตัวเองอีกครั้งหนึ่ง เราอาจจะแค่กลับมานี่แหละว่า
วันนี้เราทำอะไรไปบ้าง เรารู้สึกอะไรกับตัวเองบ้าง แล้วเราแสดงออกแบบไหน ส่วนคนที่ดาวน์ จิตตก ดิ่ง แล้วรู้สึกว่า สิ่งนี้มาแบบไม่มีที่มาที่ไป อยากชวนมองด้วย 4 คำถามง่าย ๆ คือ
1.เราทำอะไรอยู่
2. เราอยู่กับใคร
3. เราอยู่ที่ไหน
4. ความรู้สึกเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่
พอเราได้กลับมาตั้งคำถามกับตัวเอง เราจะเริ่มเห็นว่า จริง ๆ ณ โมเมนต์นั้นมีอะไรวิ่งเข้ามา เพียงแต่สิ่งนั้นไปเร็วมาก หรืออาจจะแว้บจากการที่เรานั่งทำงานอยู่ พอเรานั่งทำงาน
บางทีเราก็จะเริ่มคิดว่า งานนี้ยากจัง แล้ววูบลงไปเลย แต่จริง ๆ เป็นความคิดแค่ว่า ยากจังเลย แต่ในขณะเดียวกันเรายังทำงานนั้นอยู่ ทำให้อาจจะวูบลงไปได้ ถ้าเราลองกลับมาด้วย 4 คำถาม
เราจะเห็นภาพว่า เวลาความคิดนี้เข้ามา เราดิ่ง เราดาวน์ เราจะเห็นตัวเองชัดขึ้น จะไม่ใช่แค่ว่าเราเข้าใจตัวเองแล้วจะทำอะไรไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เรารู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง ว่าสิ่งเหล่านี้กระทบเรานะ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกแย่ ทำให้เรารู้สึกดิ่ง ดาวน์ เราจะรู้ได้ว่าเราจะจัดการอย่างไรดีเพื่อไม่ให้มีอารมณ์แบบนี้ขึ้นมาอีก บางคนใช้วิธีเบี่ยงเบนตัวเอง บางคนใช้วิธีหยุดอยู่กับความคิด
แล้วนำกลับมาทำความเข้าใจว่า คิดแล้วเกิดประโยชน์อะไร มีประโยชน์ไหมที่จะต้องคิดแบบนี้แล้วทำให้ตัวเองดิ่ง ดาวน์ แต่ละคนคงจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปในการจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง
เพียงแต่เราต้องมาเริ่มต้นตรงนี้เพื่อให้เราเข้าใจตัวเองก่อนว่า มันคงมีบางอย่าง มันคงมีที่มาที่ไปที่ทำให้มีความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้น
เวลากลางคืนทำให้ ดาวน์ง่าย จริงไหม ?
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดขึ้นได้ เราอยู่ที่ไหน ตอนนั้นเราทำอะไร เกิดขึ้นได้ยังไงบ้าง เราต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ถ้าพูดถึงเวลากลางคืน มันมีกลไกในร่างกายบางอย่างที่ sensitive กับกลางคืน
สารสื่อประสาทบางตัวจะทำงานได้เฉพาะกลางคืน ทำให้อาจจะมีบางอย่างกระทบกับภาวะอารมณ์ได้ด้วย นอกจากกลางคืนจะทำให้สงบลง มากกว่านั้นคือกลางคืนเราอยู่คนเดียว มันเงียบ มันมืด
มันดูได้กลับมาอยู่กับตัวเองจริง ๆ ได้เข้ามาทำความเข้าใจตัวเองจริง ๆ ช่วงเวลาแบบนั้นแหละ ความคิดจะวิ่งเข้ามาเยอะมาก ทีนี้พอวิ่งมาเยอะ แล้วเราไม่รู้จะดีลกับตัวเองยังไง มันเลยดาวน์ จิตตก ดิ่ง
เหมือนสภาพอากาศ ถ้าในต่างประเทศจะมีผลอย่างรุนแรงมาก เพราะอากาศเย็นมาก ๆ จะทำให้ฟ้ามืดเร็ว สอดคล้องกันไปอีกว่า หนาวด้วย มืดด้วย อยู่กับตัวเองด้วย อยู่คนเดียวด้วย
ความรู้สึกบางอย่างเลยวิ่งเข้ามาอย่างรวดเร็วได้เหมือนกัน มันคงมีผลต่อกันและกันอยู่แล้ว มากไปกว่านั้นคือเราไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคน มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมมาก ๆ
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราขาดฟังก์ชันนั้นไป อย่างเวิร์คฟรอมโฮมนาน ๆ เพื่อนก็ไม่ได้เจอ ไปห้างก็แทบจะทำไม่ได้ ขับรถไปข้างนอกก็ไม่รู้จะไปตรงไหน เพราะทุกอย่างดูรัดกุมไปหมด
เราจะเริ่มคิดมากตรงนั้น จะเริ่มจิตตกไป เราจะทำอะไรได้บ้าง อยู่กับตัวเองไม่พอ ไม่มีกิจกรรมให้ทำ แถมมากไปกว่านั้นคือเราไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเลย
คน sensitive จะดาวน์ง่ายกว่าคนอื่นไหม?
อาจจะแยกยาก เพราะคนที่ sensitive เขาอาจจะไวต่อความรู้สึกมากกว่าคนอื่น ไม่ใช่แค่ไวต่อเสียง ต่อสี ต่อแสง หรืออะไรก็ตาม แต่คนเหล่านี้ พื้นฐานของเขาคือคนที่อ่อนไหวง่าย
ไวต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ไวต่อสายตาของคนอื่น ไวต่อการรับรู้ของคนอื่น แน่นอนว่าเวลาที่มันไวมาก ๆ มันเลยกระทบไวมาก ๆ บางคนเลยดิ่งเร็ว แต่บางคนกระทบแล้วกลับมา
รู้สึกบางอย่างกับตัวเอง มันเป็นเรื่องของกลไกทางร่างกายของเขาด้วย รวมไปถึงเป็นพื้นฐานบุคลิกของตัวเขาเองด้วยที่เป็นแบบนั้น คนเหล่านี้อาจจะพ่วงไปด้วยคนที่แคร์คนอื่นเยอะ ๆ
คิดเยอะ ๆ กังวลกับสิ่งที่คนอื่นทำต่อตัวเองมาก ๆ มากไปกว่านั้นคือคิดถึงตัวเองน้อย เลยทำให้ความรู้สึกเหล่านั้นดูไวไปหมดเลย เพราะเรามัวแต่ไปคิดว่าคนอื่นจะคิดกับเรายังไง
ไปมองว่าคนอื่นจะพูดถึงเรายังไง หรือคิดว่าเราน่าจะเป็นคนยังไง มันจะทำให้เขาไวกว่าคนอื่นอยู่แล้ว แคร์คนอื่นเยอะ ๆ เราจะจัดการยังไงได้บ้าง บางทีต้องกลับมาว่าเราทำไปเพราะว่าอะไร
เบื้องหลังของคนที่ทำเพื่อคนอื่นไม่ได้แปลว่าเขาใจดีเสมอไป การที่เราหยิบยื่นสิ่งดี ๆ ให้คนอื่นเสมอ ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือเสมอไป ต้องมาดูพฤติกรรมที่เขาแคร์คนอื่นมาก ๆ
มันมีอะไรอยู่ข้างหลัง เช่น การที่เราพูดดี ๆ กับคนอื่น เราจะคาดหวังให้คนอื่นพูดดี ๆ กลับมา มันคงมีอะไรข้างหลังตรงนั้น หรือกับบางคน อาจจะชอบช่วยเหลือคนอื่น ไปให้อาหารน้องหมาน้องแมว
แน่นอนว่าเขาดูเป็นคนใจดี แต่ในเบื้องลึกลงไปจากนั้น อาจจะกลายเป็นว่าเขาคงรู้สึกดีกับตัวเอง มันคงมีอะไรอยู่ข้างหลังตรงนั้นด้วย มันไม่แย่เลยที่เราจะแคร์คนอื่น หรือเราจะเห็นสิ่งรอบ ๆ ตัวมากกว่าตัวเอง
แต่ถ้ามันมีมากเกินไป จนเราไม่สามารถเติมเต็มตัวเองได้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถมีจุดยืนจนทำให้เราขาดความมั่นใจในตัวเอง อาจจะต้องกลับมาที่ตัวเองก่อนว่าเราต้องการอะไร เราถึงทำแบบนั้น
เราให้คนอื่นขนาดนั้น แล้วเราโอเคหรือยัง เราชอบตัวเองไหมที่เป็นแบบนั้น ถ้าไม่ แล้วเราทำอะไรกับตัวเองได้บ้าง การที่เราจะแคร์คนอื่นได้อย่างเต็มใจ เราต้องแคร์ตัวเองได้ด้วย ถ้าเราแคร์คนอื่นมาก ๆ
แล้วเราก็คาดหวังให้คนอื่นแคร์เราด้วย มันอาจจะไม่ใช่ทางในการแคร์คนอื่นแล้วมันดีกับตัวเราเอง
ดาวน์ง่าย นำไปสู่ภาวะทางจิตเวชได้ไหม ?
จริง ๆ มันคงเป็นสาเหตุหนี่งที่เกิดขึ้นได้ อย่างที่บอกไปว่า เวลาเราดาวน์มาก ๆ จิตตกมาก ๆ ดิ่งมาก ๆ เราจะไม่อยากเจอคน เก็บตัว ไม่อยากออกไปข้างนอก ไม่อยากทำกิจกรรม
เพราะเราก็งง ๆ กับตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วสักพักหนึ่งเราจะเริ่มแบบ.. เกิดอะไรขึ้นกับเรา เราก็จะเริ่มรู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกแย่กับคนอื่น รู้สึกแย่ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว
มันอาจจะนำไปสู่ภาวะหรือโรคทางอารมณ์บางอย่างได้ หรือกับบางคนอยู่กับอาการดิ่ง ดาวน์ ของตัวเองมาก ๆ แล้วก็คิดอยู่อย่างนั้น คิดวนไปวนมา จนกลายเป็นกลัวการเข้าสังคม
กลายเป็นไม่สามารถเผชิญหน้ากับสังคมได้ หรือบางคนแย่ลงไปหน่อย คิดจนไม่สามารถหยุดคิดได้ อาจจะหลุดออกไปจากโลกความเป็นจริง เริ่มจินตนาการมากขึ้น
เริ่มมีลักษณะการคิดที่ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง มันเกิดขึ้นได้หมดเลย อยู่ที่ว่าสิ่งเหล่านั้นรุนแรงกับเขาขนาดไหน เข้าไปแล้วกระทบกับเขามากน้อยแค่ไหน
จะดีกว่าถ้าเราเริ่มรู้และสังเกตตัวเองว่าเริ่มเกิดขึ้นแล้วนะ ไม่ต้องรอให้กระทบหรือยัง รุนแรงไหม มาบ่อยแค่ไหน แค่เราเริ่มรู้ว่า เราเคยมีอารมณ์แบบนี้เกิดขึ้น อาจจะลองหาตัวช่วยดูก็ได้
มันคงทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่ามันเป็นภาวะปกติหรือไม่ที่เกิดขึ้นกับเรา ณ ตอนนี้ สำหรับคุณผู้ฟังหลายคนที่เพิ่งเริ่มสังเกตตัวเอง เราเริ่มรู้สึกว่าก้ำกึ่งกับตัวเองจังเลย หรือรู้สึกสงสัยในตัวเอง
ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ปกติหรือเรากำลังเกิดเป็นภาวะของโรคอะไรทางจิตเวชหรือเปล่า แนะนำว่าลองแค่ปรึกษาก่อน หรือว่าลองหาข้อมูลเพิ่มเติม แอปพลิเคชั่นเองก็ตาม หรือสายด่วนสุขภาพจิต
หรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ก็สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ได้ มากไปกว่านั้น การที่เราแค่เริ่มมีอาการ แปลว่าเรากำลังกลับมาสนใจในตัวเอง ดังนั้นการไปเจอผู้เชี่ยวชาญ การไปพบจิตแพทย์
อาจจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยทำให้เราเข้าใจตัวเอง ไม่คิดไปเองว่าตัวเราเองกำลังเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แล้วเราจะได้รับความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องรอให้อาการที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
แล้วค่อยไปเข้าสู่กระบวนการรักษา ไม่ผิดเลยถ้าเราจะเลือกเข้าคลินิกสุขภาพจิต หรือไปพบกับจิตแพทย์ เพราะโดยทั่วไปในสังคมปัจจุบัน เขายอมรับได้มากขึ้น มีคนที่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้มากขึ้น
Post Views: 3,208