The Road Not Taken บนถนนที่เราไม่ได้เลือกเดิน
The Road Not Taken มาจากกวีในชื่อเดียวกันของ Robert Frost
ที่เขียนเพื่อล้อเลียนเพื่อนตัวเองที่เวลาเดินป่าจะชอบตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกเส้นทางไหน แล้วพอเลือกไปแล้วก็จะชอบบนว่าตัวเองน่าจะเลือกอีกเส้นทางดีกว่า
หลังจากนั้น Edward Thomas คนที่ Robert เขียนล้อเลียน ก็เอากวีที่เพื่อนแต่งเพื่อแซวตัวเขาเองไปอ่านให้นักศึกษาฟัง
กลายเป็นว่านักศึกษาที่ฟังกวีบทนี้ไม่ได้มองว่ามันเป็นกวีล้อเลียน แต่เป็นกวีที่ลึกซึ่งและชวนให้คิดไม่ตก
และแม้ว่ากวีบทนี้จะถูกเขียนตั้งแต่ปี 1915 แต่ก็เป็นกวีที่ถูกจัดว่าคลาสสิคและถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเพราะมันสามารถตีความได้หลากหลายแบบ หลากหลายประเด็น
เมื่อป่าใหญ่ให้ทางไปต่างแห่ง
ทางสองแพร่งแบ่งสายเป็นซ้ายขวา
ฉันยืนหยุดดูจุดหมายสุดสายตา
เสียดายว่าฝ่าได้…แค่สายเดียว
มีทางหนึ่งซึ่งเยี่ยมทัดเทียมเท่า
พงหญ้าเล่าเข้าประดูรกเขียว
รอผู้คนพ้นผ่านมานานเชียว
เส้นทางเปลี่ยวเลี้ยวลดจรดใด
ใบไม้คลุมสุมเท่ายามเช้าตรู่
ไม่มีผู้รู้ย่างย่ำทางไหน
ทางโล่งนั้นครั้นเล่ามิเข้าไป
ขอเก็บไว้ในตอน…เผื่อย้อนมา
ถอนหายใจไม่หยุดถึงจุดแบ่ง
ทางสองแพร่งแหล่งใดเดินไปหา
ขอเลือกทางต่างกันในมรรคา
ทางที่ว่าหาใช่…คนใฝ่เดิน…
ความหมายของกวีก็ตีความได้หลากหลายแบบมากๆ สามารถตีความถึงมนุษย์เราเองที่มักจะเสียดายกับอะไรที่เราไม่ได้เลือก
และมักจะละเลยคุณค่าของสิ่งที่เรามีหรือได้มา ในที่นี้ก็คือถนนที่เราไม่ได้เลือกเดิน
ขณะเดียวกันมันก็สะท้อนอีกว่ามนุษย์เรามักยืนอยู่บนทางแยก เราต้องเลือกและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
ในทางที่หลายๆ ครั้งเราก็ไม่รู้ว่าจะไปจบที่ตรงไหน หรือปลายทางมีอะไรรออยู่ เราเลยจำเป็นต้องเลือกและยอมรับในผลของการตัดสินใจนั้นๆ ของเรา
เส้นทางที่แตกต่างจะนำเราไปสู่การเติบโต
อีกการตีความนึงจากคุณ วลัยลักษณ์ ผดุงเจริญ บนเว็บ GotoKnow
กวีนี้อาจชี้แนะว่าการเลือกเดินบนเส้นทางที่คนสวนใหญ่ไม่เดินกันย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากคนอื่น
ไม่แน่ว่าการเลือกเส้นทางที่คนส่วนใหญ่ไม่เดินนั้น อาจสะท้อนถึงการเลือกในสิ่งที่เราให้คุณค่า
หรืออะไรที่ท้าทายไปจากเดิม และแน่นอนว่าเมื่อเราเลือกอะไรที่แปลกใหม่และท้าทาย เราจะเติบโตและเรียนรู้อะไรต่างๆ มากมาย
ความสุขกับ Hedonic Adaptation
คุณ Ryder พูดถึงว่าทำไมบ่อยครั้งคนเราประสบความสำเร็จ ถึงเป้าหมายที่อยากจะไป แต่กลับไม่มีความสุข
มันก็มีหลักการทางจิตวิทยามาอธิบายว่ามันเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Hedonic adaptation
หมายถึงแนวโน้มที่คนเราจะกลับสู่ระดับความสุขหรือความทุกข์ที่คงที่ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตก็ตาม
คงที่คือตรงไหน
และถ้าถามว่าระดับคงที่ของความสุขอยู่ตรงไหน คำตอบก็คือแล้วแต่คน
ประเด็นเรื่องความสุขยังเป็นอะไรที่กำลังถูกศึกษาอย่างต่อเนื้องและยังไม่มีคำตอบใดๆ ที่ชัดเจน
แต่นักจิตวิทยาบางส่วนเชื่อว่า ความสุขพื้นฐาน หรือ Set Point ของแต่ละคนไม่เท่ากันโดยมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและพื้นบุคลิกภาพของเราเอง
Some psychologists believe that as much as half of our happiness comes from an inherited genetic “set point”. Happy events, or negative experiences, affect us only for a short while. Then we return to a level of contentment mostly dependent on our personality.
Hedonic adaptation จึงอาจเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม เราจึงโหยหาความ สุขซ้ำๆ และไม่เคยมีความสุขที่มากพอในระยะยาว
จบที่ข้อสรุปว่า บางทีความสุขอาจมาจากการกระทำมากกว่าเป้าหมาย เพราะฉะนั้นแล้ว การตามหาสิ่งที่มีคุณค่า
มีความหมายและสำคัญกับเราต่างหากที่จะนำไปไปสู่ความสุขในระยะยาวได้ ซึ่งก็เป็นแนวคิดอิงมาจากปรัชญาแนว Eudaimonism
หลักจิตวิทยาเบื่องหลัง
The Road Not Taken หลักการคล้ายกับกระบวนการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Visualization ครับ
Visualization คือกระบวนการของการสร้างภาพจิตใจ ความรู้สึก หรือกระบวนการทำงานต่างๆ ของใจเราผ่านการใช้จินตนาการ
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในเชิงจิตวิทยาเพื่อให้เราทำความเข้าใจและทำงานกับจิตใจของเราเอง
The Road Not Taken ซึ่งก็จะเป็นกิจกรรมที่จะชวนเพื่อนๆ ลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นนักเดินทางที่กำลังยืนอยู่บนสองทางแยก
และชวนให้เราจินตนาการถึงชีวิตของเราทั้งสองแบบว่าจะเป็นยังไงและจบลงตรงไหน
ที่มา :
Robert Frost: “The Road Not Taken”
The Road Not Taken เส้นทางนี้ที่ไม่เลือก…
The Road Not Taken ทางที่ไม่ถูกเลือก
When Happiness Doesn’t Last
Hedonic Treadmill
Visualization: Definition, Benefits, and Techniques
Post Views: 57