ติดโซเชียล

ติดโซเชียล ทำให้รอไม่เป็นจริงไหม ?

เรื่องAdminAlljitblog

เรากำลัง ติดโซเชียล มากเกิดไปหรือเปล่า ? การเล่นโซเชียล ดูคลิปสั้น เลื่อนฟีดบ่อย ๆ ส่งผลกระทบทำให้เรารอไม่เป็นจริงไหม ? ข้อดีและข้อเสียของการเล่นโซเชียลมีอะไรบ้าง ?

 

แล้วถ้าเด็ก ๆ น้อง ๆ ที่บ้านเรามีอาการหงุดหงิดจากการเล่นโซเชียลเราทำอย่างไรดี Alljit Podcast

 

 

 

กำลังเสพ ติดโซเชียล (Social Addiction) อยู่หรือเปล่า?

1. สิ่งแรกที่ทำตอนตื่น คือ เช็คโซเชียลมีเดีย

2. ใช้โทรศัพท์ระหว่างทำกิจกรรมอื่น เช่น กินข้าว ทำงาน เรียน 

3. กระสับกระส่าย หงุดหงิดทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย 

4. กระวนกระวายใจเมื่อไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้หรือเเบตหมด (ใช้ไปด้วย ชาร์จไปด้วย)

5. ใช้เวลามากมายในการคิดและวางแผนโพสต์ รวมถึงเช็คเอนเกจเม้นต์หลังโพสต์

6. คิดว่าได้ยินเสียงโทรศัพท์ทั้งที่จริงๆ แล้วมันไม่ได้มีเเจ้งเตือนอะไรเลย

7. ละเลยงานอดิเรกที่เคยทำและเพิ่มงานอดิเรกใหม่ขึ้นมาคือไถโทรศัพท์

 

ไม่ว่าจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อกับเพื่อน ๆ  ดูคลิปเพื่อเพิ่มความบันเทิง หรือเล่น “ฆ่าเวลา” แต่การเล่นบ่อย ๆ อาจทำไปสู่การเสพติดได้ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้งานอดิเรกที่ดูไม่มีพิษมีภัยกลายเป็น “สิ่งเสพติด”

ทำไมถึงเสพ ติดโซเชียล?

1. โดปามีน : เมื่อเข้าใช้งานแอพต่าง ๆ สารโดปามีนในสมองจะเพิ่มขึ้น (สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสุข) เมื่อได้รับโดปามีนมากขึ้น

 

สมองจะติ๊กถูกว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมให้รางวัลที่ควรทำซ้ำ และโดปามีนอาจเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อเราโพสต์รูปหรือข้อความของตัวเอง แล้วได้รับการตอบรับดี  ทำให้เกิดอาการติด (เหมือนสารเสพติต)

 

2. เบี่ยงเบนความสนใจ : โซเชียลมีเดียอาจเป็นสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อรู้สึกโดดเดี่ยว ยิ่งใช้งานมากเท่าไหร่ สมองจะยิ่งจดจำและบอกเราว่านี่เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยลดความเหงาได้ 

 

หรือเบี่ยงเบนตัวเรามาจากความเครียดที่กำลังเผชิญ เป็นกิจกรรมคลายเครียดอย่างหนึ่งได้

 

3. จากเว็ปไซต์ BBC  บอกว่า ในปี 2549 Mr.Raskin วิศวกรเทคโนโลยีชั้นนำ ได้ออกแบบ การเลื่อนที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของแอพจำนวนมากที่ตอนนี้ถูกมองว่าเป็นการสร้างนิสัยติดมือถือ 

 

 

โซเชียลทำให้รอไม่เป็นจริงไหม

มีส่วนที่คิดว่าจริงและไม่จริง เพราะถ้าต้องให้รออะไรสักอย่าง เชื่อว่าทุกคนสามารถรอได้ ไม่ได้หมายความว่าการที่เล่นโซเชียลเเล้วจะรอไม่ได้เลย

 

แง่นึงของคำว่า “รอไม่เป็น” คือ ร้อนใจเมื่อต้องรอ  การที่รอดาวน์โหลดแล้วกระวนกระวายใจหงุดหงิด อาจจะสื่อถึงคำว่า รอไม่เป็น 

 

หรือการโซเชียลเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันทำให้เรารออยู่เฉย ๆ ไม่ได้ เช่น รออาหารต้องเล่นมือถือ รอขึ้นรถเมย์ต้องเล่นมือถือ รออะไรก็ต้องเอามือถือคนอื่นขึ้นมา 

 

ซึ่งหากให้รอเฉย ๆ เราก็อาจจะกระวนกระวาย หงุดหงิด รู้สึกว่านานมาก ๆ ก็ได้ 

 

 

เด็ก และ โซเชียลมีเดีย

เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมากับการใช้โทรศัพท์หรือโซเชียล  

  • มีปัญหาด้านการจัดการอารมณ์ : ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ขี้หงุดหงิด อารมณ์ร้าย รอไม่เป็น เพราะภาพในจอเปลี่ยนไปไว ไม่ชอบอันนี้ก็เลื่อนไปคลิปอื่น ซึ่งต่างจากชีวิตจริงที่ต้องรอคอยสิ่งต่าง ๆ
  • ส่งผลต่อความเข้าใจ : แยกแยะ จริง/ไม่จริง ถูก/ผิด ไม่ออก และ content ที่ไม่เหมาะกับช่วงวัยของเขา เช่น คอนเทนต์บทบาทสมมติ คิดพล็อตมา ไม่ใช่ความจริง เด็กไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจริงหรือไม่จริง สุดท้ายอาจเกิดเป็นพฤติกรรมลอกเลียนแบบ

 

มิเชล มานอส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ของเด็ก อธิบายว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สมองของเด็ก ๆ เริ่มคุ้นชินกับคลิปที่มาไวไปไวมาก ๆ

 

แล้วสมองก็จะเกิดอุปสรรคที่จะเรียนรู้โลกแห่งความเป็นจริงที่สิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เคลื่อนผ่านเร็วเหมือนอย่างกับในโลกดิจิทัล 

 

  • สมาธิสั้น : ด้วยความที่คอนเทนต์ปัจจุบันมีความกระชับมากขึ้น ไม่ถึง 1 นาทีก็มี การที่เขาเคยชินกับคลิปสั้น ๆ ที่ใช้สมาธิไม่กี่นาทีในการจดจ่อ ก็กลับไปโฟกัสกับอะไรนาน ๆ ไม่ได้แล้ว ตั้งแต่การอ่านหนังสือ การทำการบ้านให้เสร็จหรือการดูภาพยนตร์เต็มเรื่องก็ยาก 

 

มีอาการที่เรียกว่า “Tiktok Brain” คือ พฤติกรรมสมองของเด็กที่ดูคลิปสั้นมากเกินไป จนทำให้สมาธิสั้น คำนี้มาจากบทความของ Wall Street Journal (WSJ)

 

เจมส์ วิลเลียมส์ นักจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า “มันเหมือนกับการที่เราปล่อยให้เด็ก ๆ อยู่ในร้านขนม กินขนมในร้านเท่าไหร่ก็ได้

 

แล้วพอวันหนึ่งเราบอกให้เด็ก ๆ มากินผักสักจาน พวกเขาก็จะปฎิเสธมัน” การเปรียบเทียบนี้ สื่อถึงการที่พ่อแม่ปล่อยให้เขาดูคลิปสั้นมากเกินไป

 

การจะบอกเขาว่าให้จดจ่อกับการเรียน 1 วัน ดูหนัง 1 เรื่องยาว ๆ คงเป็นเรื่องยาก

สมาธิสั้นแท้ และสมาธิสั้นเทียม 

โรคสมาธิสั้นเทียมมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้นทุกอย่าง แต่ต่างกันที่สาเหตุ เพราะโรคสมาธิสั้นเทียมจะไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของสมองเหมือนโรคสมาธิสั้น

 

แต่เกิดจากพฤติกรรมบางอย่างที่เมื่อทำบ่อย ๆ แล้วจะทำให้เราเสียสมาธิในระยะยาวอย่าง เช่น การเล่นมือถือ

ข้อดีและข้อเสียที่ตรงข้ามกัน

1. สะดวกสบาย / รอไม่เป็น

เราสามารถติดต่อกันได้สบายมาก อยู่คนละซีกโลกก็สามารถติดต่อกัน วิดีโอคอลกันให้หายคิดถึงได้ เราสามารถรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสงสัยได้แบบไม่ต้องไปห้องสมุดแล้วค้นหาหนังสือทีละเล่ม

 

นี่คือความสะดวกสบาย แต่กลับกันเลย ความสะดวกสบายนี้อาจจะทำให้เรา ทนรอสิ่งที่ต้องใช้เวลานานไม่ได้ เมื่อก่อนการดูการ์ตูนที่ชอบ เราต้องรอนะ กว่าจะได้ดู รอวันเสาร์ ต้องตื่นเช้า

 

ข้ามเรื่องที่ไม่ชอบก็ไม่ได้ แต่ปัจจุบันไม่ต้องรอเลย เเค่พิมพ์ค้นหาก็เจอแล้ว ไ่ชอบก็เเค่เลื่อน ชีวิตง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่ในความเป็นจริงมันก็มีเรื่องที่ต้องรออยู่เหมือนกันนะ

 

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness Syndrome) เกิดขึ้นหลังจากที่อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทุกอย่างทำได้อย่างสะดวกสบายและไวมาก

 

ไม่ว่าเป็นการค้นหาสิ่งที่สงสัย เล่นโซเชียล การเลื่อนคลิปที่ไม่ชอบ หรือค้นหาคอนเท้นต์ที่ชอบ ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนที่เสพติดการเล่นโซเชียล

 

จากคนที่ใจเย็น สามารถรอบางสิ่งบางอย่างได้ดี กลายเป็นคนใจร้อน หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย รอไม่เป็นแม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น รอการดาวน์โหลดรูปภาพนาน ๆ

 

หรือหงุดหงิดเมื่อคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือค้าง ทำให้กลายเป็นคนไม่รอบคอบ ไม่ใช้เวลาคิดหรือตัดสินอะไรให้ละเอียด พอมีเรื่องอะไรที่ต้องการคำตอบหรือแม้กระทั่งหาของไม่เจอจะรีบถามคนอื่น

 

 

2.เชื่อมต่อเรากับคนอื่นๆได้ง่าย/ ละเลยความสัมพันธ์ในชีวิต “จริง”

ข้อดีคือ เชื่อมต่อกับคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น ดูสตอรี่ไอจีเพื่อรับรู้ชีวิตคนอื่น ๆ วันนี้เขาทำอะไรไปที่ไหน แต่ด้านตรงข้ามคือ ตัดขาดลดปฏิสัมพันธ์และสื่อสารระหว่างคนรอบข้าง

 

ภาพของการเล่นโทรศัพท์ระหว่างมื้ออาหาร ดูเป็นภาพที่คุ้นชินกันมากๆ ทั้งที่เมื่อก่อนการกินข้าวกับที่บ้านเป็นช่วงเวลาแลกเปลี่ยนความรู้สึกกันและกัน

 

3. รู้ข้อมูลข่าวสารได้ไว/แต่ขาดความสามารถในการเรียนรู้

ในโซเชียลข่าวจะไวมาก รู้ทันข่าวเกือบทุกข่าว บางครั้งก็ไวยิ่งกว่าข่าวในทีวี แต่เราอาจจะคุ้นเคยกับการอ่านอะไรสั้น ๆ ไม่อ่านข้อมูลทั้งหมด

 

หรือถ้าเป็นโพสต์ยาวๆก็อ่านแบบไม่ละเอียด ความถูกต้องของการรับรู้ก็อาจจะผิดเพี้ยนไป

 

 

4. เพิ่มความรู้สึกดีกับตัวเอง / เปรียบเทียบ ไม่พอใจในชีวิตตัวเอง

ถ้าเราลงรูปหรือโพสต์ข้อความเเล้วคนมากดไลค์ ชมเรา เราก็จะรู้สึกดี เหมือนได้รับการยอมรับจากคนอื่น แต่กลับกันเลยถ้าเราลงไปแล้วไม่มีคนมารีแอคอะไรเลยละ

 

เราจะรู้สึกยังไง เพราะบางคนก็เอาความรู้สึกไปผูกกับยอดเอนเกจเม้นท์ อีกแง่นึงที่อยากแชร์คือ การที่เราเห็นชีวิตคนอื่นได้ง่ายก็ทำให้เราเปรียบเทียบและไม่พอใจกับชีวิตตัวเองได้ง่ายเช่นเดียวกัน

 

5. เป็นเครื่องมือทำหากิน ซื้อของ ขายของ /การถูกหลอก ล่อล่วง จากมิจฉาชีพ

สื่อสังคมออนไลน์สามารถเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับสิ่งที่ดี ช่วยให้ผู้คนติดต่อกันได้แม้จะอยู่ห่างไกลกันหลายพันไมล์ สื่อสารด้วยความเร็วที่เกือบจะทันที ขายของได้ ซื้อของได้ง่าย

 

 

 

เล่นอย่างไรให้ดี

การใช้มือถือเพื่อเป็นตัวช่วยที่เป็นประโยชน์ในการหาความรู้ หรือ กำหนดเวลาในการโฟกัส ใช้แอพเป็นตัวช่วยในการอ่านหนังสือ เป็นการใช้แอพเพื่อช่วยให้เราโฟกัสกับการอ่านหนังสือให้ได้นานมากขึ้น

 

กำจัดสิ่งเร้า เพิ่มบรรยากาศให้เหมาะกับการเรียนรู้และกระตุ้นให้เราอยากอ่านหนังสือ เช่น Forest แอพช่วยให้เราคอนเนคกับธรรมชาติ เมื่อเราตั้งเวลาว่าจะไม่เล่นมือถือ

 

ต้นไม้จะเริ่มถูกปลูกโดยอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเราออกจากแอพต้นไม้เราจะไม่โต ต้องเริ่มต้นใหม่ ปลูกไปเรื่อย ๆ ถ้าเราทำตามเวลาได้ครบโดยไม่เล่นมือถือเลย เราจะได้เงินตอบแทนมาด้วย

 

  • Focus Timer แอพที่ต้องคว่ำหน้าจอโทรศัพท์เท่านั้นถึงจะจับเวลาให้ เหมาะกับคนที่ติดมือถือ แต่ไม่มาก ยังพอมีสมาธิดีอยู่

 

  • Flipd เป็นแอพที่เหมาะกับคนที่ติดมือถือสุด ๆ เมื่อเราตั้งเวลาแบบ Full ปุ๊บ แอพจะทำการลบแอปทั้งหมดในมือถือของเรา ทั้งเกม และ Social ต่าง ๆ หมดเกลี้ยง แม้แต่การค้นใน Google ก็จะไม่มี แต่เมื่อเราอ่านครบเวลาที่ตั้งไว้แล้ว แอปทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิม ข้อมูลต่าง ๆ จะไม่หายไป

 

  • Social Detox ซึ่งมีหลากหลายวิธีมาก ๆ อาจจะทำในแต่ละวัน จัดตารางการทำวันละเล็กละน้อย เช่น วันที่ 1 จะไม่เล่น Facebook เลย วันที่ 2 จะงดเล่น Instargram  

 

ในส่วนของผู้ปกครองที่จะลดการเล่นโซเชี่ยลของเด็ก ๆ จากข้อมูลของ NY time กล่าวว่า ผู้ปกครองอาจต้องนั่งลงกับลูก ๆ และสร้างข้อตกลงในการใช้เทคโนโลยีโดยสรุปรายละเอียดต่าง ๆ

 

เวลาที่เด็ก ๆ สามารถใช้หน้าจอได้ และนานเท่าไหร่ หรือ เด็กเล็กอาจดูสื่อได้ก็ต่อเมื่อผู้ปกครองอยู่ด้วย บางทีสิ่งสำคัญที่สุดคือพ่อแม่ควรพูดคุยกับลูก ๆ เป็นประจำเกี่ยวกับหน้าจอและโซเชียลมีเดีย

 

ถามพวกเขาว่าพวกเขากำลังดูอะไรและสนใจอะไร และแลกเปลี่ยนกับลูก ๆ อธิบายถึงความเป็นจริง และเข้าใจความเป็นจริงในสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย ลองเล่นให้เป็นเวลา 

 

หากิจกรรมอย่างอื่นทำแทนในช่วงเวลาที่เราแบ่งเอาไว้ กิจกรรมที่ไม่ต้องใช้โซเชียลมีเดีย เช่น วาดรูป ทำกับข้าว รดน้ำต้นไม้ ออกกำลังกาย มันคือการเปิด “silent mode” ให้กับตัวเอง 

 

อ่านบทความอื่น ๆเพิ่มเติม ได้ที่นี่

 

ที่มา

โรคทนรอไม่ได้

เหรียญสองด้านของโซเชียลมีเดีย

ทำความรู้จัก Tiktok Brain ปล่อยเด็กดูคลิปสั้น พาสมาธิสั้น-ความจำสั้น

สมาธิสั้นเทียม

Social media apps are ‘deliberately’ addictive to users

What is social media addiction?