โรคซึมเศร้า โดยจิตแพทย์

ทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า โดยจิตแพทย์

เรื่องAdminAlljitblog

โรคซึมเศร้า โดยจิตแพทย์  ใคร ๆ ก็รู้จัก จริงไหม? สิ่งที่เรารู้มาถูกต้องจริง ๆ หรือเปล่า? จึงรวมทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าไม่ว่าจะเป็น สาเหตุ การรักษา รวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้ตัวเอง

 

จะมีอะไรบ้าง  มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X จิตแพทย์  น.พ.ณัฏฐชัย รำเพย

 

โรคซึมเศร้า โดยจิตแพทย์

อาการไม่สบายอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับสมอง เมื่อสมองไม่สบายจึงส่งผลต่ออารมณ์และ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์สุข และอารณ์เศร้า จึงกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “โรคซึมเศร้า”

 

เศร้า VS โรคซึมเศร้า 

เศร้า คือ อารมณ์ปกติหนึ่งของมนุษย์ มีทั้งสุข และเศร้า สลับกันไป 

โรคซึมเศร้า คือ ความไม่สบายของสมองแล้วส่งผลต่ออารมณ์ (ไม่มีความสุข) 

 

 

คนที่เป็นโรคซึมเศร้า ต้องเศร้าอย่างเดียวหรือไม่ 

ไม่จำเป็นต้องเศร้าอย่างเดียวเท่านั้น  อาการหลักของโรคซึมเศร้าคือ ไม่มีความสุข ความสุขลดลง เศร้าหรือ  เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ไม่เพลิดเพลินกับสิ่งที่เคยเพลิดเพลิน  หากเป็นข้อใดข้อหนึ่งถือว่าเป็นโรคซึมเศร้า

 

แต่ต้องไปบวกกับอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ความเศร้าสร้างผลกระทบต่อตัวเอง และความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง เป็นต้น

 

สาเหตุของการเป็น โรคซึมเศร้า โดยจิตแพทย์

1. กรรมพันธุ์

 

2. มีความเครียดสะสม เป็นเวลานาน

 

3. สภาพเเวดล้อม สภาพสังคมที่กดดัน ทำให้ไม่มีความสุข

 

4. ร่างกาย พฤติกรรม เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ฮอร์ในร่างกายทำงานผิดปกติ 

 

รีเช็คตัวเอง

มั่นสำรวจตัวเองว่า โดยปกติแล้วความรู้สึกโดยปกติของเราเป็นอย่างไร แล้วดูว่าความรู้สึกของเราเหมือนเดิมไหม ความรู้สึกของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน 

 

หากเริ่มเศร้ามากขึ้น เริ่มเบื่อ ๆ ไม่อยากจะทำอะไร พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็สามารถเข้าไปรับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ได้

 

 

จิตแพพทย์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าอย่างไร

1. รับฟังเขามีอาการอย่างไร วิถีชีวิตของเขาเป็นอย่างไร เป็นต้น

 

2. พิจารณาว่าอาการต่าง ๆ เข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่

 

ข้อควรระวัง การทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ แต่สามารถทำแบบทดสอบเพื่อประเมินเบื้องต้นได้ แต่ต้องเข้าไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย 

 

“ยาต้านเศร้า” 

ในสมองของเรามีหลายส่วน โดยสมองแต่ละส่วนจะทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีตัวกลางเชื่อมโยงชื่อว่า สารสื่อประสาท ซึ่งหากสารนี้ทำงานผิดพลาด บกพร่อง หรือ เสียสมดุลไปจะทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์

 

และพฤติกรรม  ซึ่งเป็นต้นเหตุของภาวะซึมเศร้า  ฉะนั้นการรับประทานยาตามที่จิตแพทย์แนะนำ จะเขาไปช่วยให้สารสื่อประสาททำงานอย่างสมดุล ในแบบที่เขาควรจะเป็นเพื่อ ให้สารสื่อประสาททำงานอย่างปกติ

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นสมองเป็นอวัยวะที่ปลอบบาง ยาที่เข้าไปจึงต้องค่อย ๆ ทำงาน จึงเป็นเหตุว่า ไม่มียาต้านเศร้าตัวไหนที่ทำให้หายซึมเศร้าได้เร็ว 

 

 

การรักษา โรคซึมเศร้า โดยจิตแพทย์

การรักษาโรคซึมเศร้าที่จะทำให้การรักษาได้ผลควรดูแลทั้ง 3 องค์ประกอบคือ

1. ชีวภาพ เช่น ยา การกระตุ้นไฟฟ้า ตามแพทย์สั่ง

 

2. จิตวิทยา การดูแลด้านจิตใจ การพูดคุยรักษาบาดแผลทางจิตใจ การจัดการอารมณ์ เป็นต้น

 

3. สภาพสังคม สังคมที่อยู่เป็นอย่างไร เป็นตัวกระตุ้นเพิ่มภาวะซึมเศร้าหรือไม่

 

การพาคนใกล้ชิดไปพบจิตแพทย์ เริ่มอย่างไร

1. เริ่มจากตัวเราเอง โดยมองว่าเขาคนนั้นอาจมีแนวโน้มจะไม่สบายทั่วไป ไม่ต้องทำให้เหมือนเป็นเรื่องใหญ่ 

 

2. จากนั้นรับฟังเขาช่วงนี้เป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้น โดยเป็นผู้ฟังที่ดี 

 

3. ให้ข้อมูลเขา และสื่อให้เขารู้ว่าการเข้าไปพบจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเป็นเรื่องปกติ 

 

 

ดูแลคนใกล้ชิดที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างไร

1. รับประทานยาให้สม่ำเสมอ

 

2. การดูแลสุขภาพพื้นฐาน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย เป็นต้น

 

3. ตระหนักรู้ว่า เราไม่มีทางเข้าใจอารมณ์ของเขา แต่ให้เข้าใจว่าเขาไม่สบาย สิ่งที่เขาเป็นมันสามารถเกิดขึ้นได้

 

4. รับฟังเขาให้มากที่สุด โดยการไถ่ถามว่าอยากให้ช่วยอะไร หากมากเกินความสามารถก็สามารถบอกเขาตรง ๆ ได้เลย

 

5. ระวังการสื่อสาร เนื่องด้วยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอ่อนไหว

 

 

โรคซึมเศร้าหายได้ไหม 

โรคซึมเศร้าหายได้ แต่ต้องใช้เวลา บางคนใช้เวลาสั้น บางคนใช้เวลายาวนาน แต่ธรรมชาติของทุกโรคหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก (เปอร์เซ็นต์ไม่เท่ากัน)  และเนื่องด้วยยาบางชนิดจะต้องกินต่อเนื่อง จึงใช้เวลานานมากกว่าปกติ 

 

 

สร้างภูมิคุ้มกันให้สุขใจตัวเอง 

ฟังเสียงหัวใจตัวเอง และ ตระหนักถึงความรู้สึกของตัวเอง วันนี้รู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร และให้สิ่งนั้นกับตัวเอง  เพราะคนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้มุ่งมั่นไปกับภาระหน้าที่ของตัวเอง จะละเลยหัวใจตัวเอง รู้ตัวอีกที่ก็ล้มไปแล้ว 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก