นักจิตวิทยา มักจะให้รับฟังเหมือนเป็นเพื่อนคนหนึ่งที่อยู่เคียงข้างทุกคน หากวันหนึ่งต้องเจอกับเรื่องที่ทำให้เครียด กลุ้มใจ เศร้าใจ
จะมีวิธีรับมือกับอารมณ์และดูแลสุขภาพจิตของตัวเองอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจกับ Alljit และ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
นักจิตวิทยาเคยมีความเครียดกับเรื่องราวของผู้ที่มาปรึกษาไหม
นักจิตวิทยา : ต้องเคยอยู่แล้วค่ะ ในฐานะของการที่แบบเราทำงานหรือเราใช้ชีวิตโดยทั่ว ๆ ไปแล้วเรามีใครคนนึงมาคุยด้วย สุดท้ายแล้วบทสนทนาเหล่านั้นก็จะติดไปในห้วงของความคิดของเราอยู่แล้ว
ซึ่งก็จะมีบางส่วนที่เราเก็บมาคิดเก็บมาทบทวน เก็บมาตั้งคำถามบางอย่างในสิ่งที่เราสงสัย เรารู้สึกว่าเป็นแบบอื่นได้อีกไหมอ อาจจะไม่ใช่แค่ในฐานะของการทำงานอย่างเดียว
บางทีเพื่อนมาปรึกษาก็คิดตามสิ่งที่เพื่อนพูดอยู่ด้วยเพราะฉะนั้นมันก็คงติดตัวมาด้วยอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าถามว่าเวลามันถึงกับขั้นเครียดหรือไม่สบายใจไปกับสิ่งเหล่านั้นเลยไหม
อาจจะไม่ใช่ความเครียดหรือเก็บมาคิดจนทำให้เราไม่สบายใจสิ่งที่เราคุยกับเขาหรือว่าเป็นเนื้อหาของตัวเขาเอง แต่ว่ามันคือมันคือการที่เราคิดและทบทวนว่าเราจะทำยังไงดีเราจะช่วยยังไงดี
เราจะไปต่อยังไงดีมากกว่าอะไรค่ะ เป็นความเครียดที่มันไปอยู่ตรงนั้นมากกว่าค่ะ
หลังจากให้คำปรึกษาแล้ว มีวิธีรับมืออย่างไร
นักจิตวิทยา : ถ้าโดยส่วนมากแล้วจะค่อนข้างแบ่งช่วงเวลาถ้าในบริบทของการทำงานจะมีช่วงที่ต้องรีเซ็ตตัวเอง ค่อนข้างจะมองว่าปัญหาคือส่วนของเขา การที่เขามาคุยกับเรามาเล่าให้เราฟังเรา
เหมือนเข็มทิศที่จะช่วยไกด์นำทางให้เขาสามารถแบบเดินออกไปจากตรงนั้นได้ค่ะ เพราะเวลาที่ต้องฟังเรื่องราวของคนไข้เองก็ตามหรือว่าของใครที่อยู่รอบ ๆ ตัวพอรับฟังจบ
ก็จะต้องมีช่วงเวลาที่จะต้องแบบคิดทบทวนอยู่แล้วว่าเราจะต้องทำยังไงหรือช่วยยังไงได้บ้าง แต่สุดท้ายเราจะใช้วิธีการรีเซ็ตตัวเองในทุกๆ ครั้งที่มันเกิดขึ้น
เพราะสุดท้ายแล้วเขาเองก็ต้องไปใช้ชีวิตของเขา เราเองเราก็ต้องใช้ชีวิตในแบบของเรา นั่นเป็นวิธีการที่พี่ใช้กับตัวเองในทุกๆ วัน ณ ตอนนี้ค่ะ
ในฐานะ นักจิตวิทยา จัดการกับอารมณ์อย่างไร
นักจิตวิทยา : นักจิตวิทยาทุกคนเป็นมนุษย์คนหนึ่ง สามารถมีอารมณ์ สามารถเครียดได้ สามารถที่จะอินไปกับอารมณ์บางอารมณ์ได้ เหมือนกัน โดยส่วนมากแล้วถ้าอยู่ในบริบทของการทำงาน
นักจิตหลายๆคน ก็จะต้องมีมีที่พึ่งพาทางใจอาจจะเป็นเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน เป็นเพื่อนนักจิตวิทยา หรือเป็นอาจารย์จิตแพทย์อะไรก็ตามคำตอบอาจจะไม่ได้ตาย นี่คือในมุมของตัวพี่อีฟเอง
การที่เวลาเราเจออะไรมาเราไปเจอเคสมาไปทำงานในฐานะของการเป็นนักจิตวิทยา เราเองก็ต้องเอาออกบ้าง ต้องเล่าให้ใครสักคนนึงฟังว่าเรื่องนั้นมันเป็นยังไงเราควรจะทำยังไงแล้วก็ทบทวนสิ่งเหล่านั้นที่มันเกิดขึ้น
สุดท้ายมันก็คงต้องมีช่วงเวลาที่เราต้องรีเซ็ตตัวเองไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของนักจิตวิทยาเองหรืออยู่ในฐานะของการเป็นแค่ตัวของพี่อีฟเองค่ะ
การเป็น นักจิตวิทยา ทำให้จัดการอารมณ์ได้เร็วขึ้นหรือไม่
นักจิตวิทยา : จริง ๆ แล้วเป็นใครก็ได้ที่ให้ความสนใจ ให้ความสำคัญต่อภาวะอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง เป็นวิธีการที่ให้เราค่อยๆ เรียนรู้และเข้าใจตัวเอง การที่เราเรียนรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเราเอง
เราจะเข้าใจในความต้องการที่แท้จริงของตัวเองอย่างเวลาที่เกิดเป็นความรู้สึกอะไรก็ตาม แล้วเรามองเห็นเราเข้าใจรับรู้ได้เราก็จะจัดการกับมันได้ ไม่ปล่อยให้อารมณ์เข้ามาควบคุมเรา
ไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นนักจิตวิทยาไม่ว่าใครก็ได้ที่เขาอยากที่จะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านั้น ก็คงจะช่วยให้เขาสามารถอยู่กับสภาวะอารมณ์และจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดีเหมือนกันอะไรค่ะ
เคยเข้ารับการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ไหม
นักจิตวิทยา : จริง ๆ ถ้าตอบว่าเคยจะตกใจไหม ต้องบอกก่อนว่าจริงๆ แล้วการที่เป็นนักจิตวิทยาเราต้องมีมีผู้ดูแลหมายความว่าเพื่อนก็ได้ อาจารย์จิตแพทย์ก็ได้
เราอาจจะไม่ได้เดินแบบเข้าไปในฐานะของการที่เราเป็นคนไข้แล้วเราต้องการสิ่งเหล่านั้นแต่ว่าในหลายๆ ครั้งเราก็ต้องการคนซัพพอร์ตเหมือนกัน การทำงานของเรามันค่อนข้างค่อนข้างอยู่กับอะไรที่หนัก
เพราะฉะนั้นเราต้องการที่พึ่งเราต้องการใครสักคนนึงที่ช่วยให้เราเบาลงอย่าง อาจจะเป็นนักจิตวิทยาหลายๆ คนอาจจะมีที่พึ่งเป็นของตัวเอง ไม่ได้เดินเข้าไปแล้วไปนั่งขอขอรับคำปรึกษาแบบจริงจัง
แต่หมายความว่าในทุกๆ วันที่เราเจอเคสเจอความยากลำบากของการทำงานหรือแม้กระทั่งเรามีปัญหาส่วนตัว เราแค่เกริ่น ๆ กับเพื่อนที่เป็นนักจิตวิทยาด้วยกันหรือคุยกับอาจารย์จิตแพทย์
บางทีสิ่งเหล่านั้นก็เรียกว่าการเข้าไปขอคำปรึกษาได้เหมือนกันเพราะว่าคนเหล่านั้นเขาก็จะเป็นเหมือนเข็มทิศให้เราได้ในวันที่เราแบบมืดมนมากๆ
อย่างตัวพี่อีฟเวลาที่พี่อีฟมีปัญหาอะไรหรือรู้สึกว่ามันหนักกับเรื่องนี้จังเลยแล้วเราไม่สามารถที่จะมองเห็นและถอยออกมาเป็นผู้ดูได้ เราก็คุยกับเพื่อนนักจิตวิทยาหรือคุยกับอาจารย์จิตแพทย์
ทำให้เราสามารถแบบช้าลงแล้วมองเห็นอะไรที่มันกว้างขึ้นได้ค่ะ
นักจิตวิทยา มีวิธีดูแลสุขภาพจิตตัวเองอย่างไร
นักจิตวิทยา : สิ่งที่พี่อีฟทำคือจะอยู่กับตัวเองนิ่งๆ ไม่ใช่ตื่นแล้วลุกขึ้นเลยอะไร ตื่นนอนขึ้นมาก็จะแบบช้าๆ กับตัวเองแล้วก็ถามตัวเองว่าเช้าวันนี้เรารู้สึกยังไง คุยกับตัวเอง
แล้วก็โยคะเล็กๆ ในตอนเช้าเพื่อทำให้เราค่อยๆ ตื่นตัวจากข้างในอะไรแล้วก็พอถึงห้องน้ำจะชอบส่องกระจกแล้วคุยกับตัวเอง Good Morning นะหรือว่าแบบยิ้มเยอะๆ นะวันนี้
บางอย่างที่เรารู้สึกว่าคุยกับตัวเองในคำพูดที่ดีๆ กับตัวเองก็จะทำแบบนั้นในทุกๆ เช้าอะไร แล้วในระหว่างวันค่อนข้างจะใช้ชีวิตแบบมีสติหมายความว่า ในความว้าวุ่นหลายๆ อย่างถ้าเรามีโอกาสกลับมาอยู่กับตัวเอง
ถ้ามันเหนื่อยมากๆเครียดมากๆ จะไปอยู่กับตัวเองเงียบๆ ค่อยๆ ฟังเสียงความรู้สึกข้างในของตัวเองว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วก็สิ่งหนึ่งที่ทำในทุกๆ เย็นเหมือนกันก็คือการสะท้อนสิ่งที่มันเกิดขึ้นในแต่ละวันของตัวเอง
รีวิวตัวเองในทุกๆ วัน วันนี้เราเจออะไรบ้าง มันเกิดอะไรขึ้นบ้างเรารู้สึกยังไง แล้วมีอะไรไหมที่เรารู้สึกว่ามันสามารถแบบทำให้มันดีขึ้นได้ในครั้งถัดไป หรือมีอะไรที่แบบรู้สึกชื่นชมในตัวเอง
ไม่รู้ว่ามันคือการแบบดูแลสุขภาพจิตตัวเองแบบโดยรวมไหม แต่มันรู้สึกว่าเราสงบ แล้วเรารู้สึกพร้อมที่จะใช้ชีวิตในแต่ละวันแม้วันนั้นมันจะดูวุ่นวาย ดูน่าเบื่อ ดูเหนื่อย
แต่ถ้าข้างในเราสงบมันก็คงจัดการกับอะไรหลายๆ อย่างเราก็คงรับมือกับอะไรที่ที่มันอยู่ตรงหน้าได้ดีขึ้นค่ะ
วิธีจัดการกับอารมณ์เบื้องต้น
นักจิตวิทยา : อย่างแรกเลยก็คือรู้ก่อนว่าอารมณ์มายังไง สังเกตจากอาการทางกายของตัวเอง ร่างกายเราจะบอกเราทุกอย่างไม่ว่าดีหรือแย่ อย่างเวลาเราดีใจใจเราก็จะเต้นใจ
เช่นเดียวกันเวลาที่เราเศร้าร่างกายก็บอกเราเราดูเหนื่อยง่ายจัง ดูไม่ค่อยมีแรงข้างในดูห่อเหี่ยว ถ้ายังไม่รู้ว่ามันคืออะไรใส่เข้าไปเป็นสีก็ได้อารมณ์อยู่โทนสีอะไร มันมีความหมายยังไงกับตัวเราเอง
เราอยากทำยังไงกับตัวเอง คือเวลาที่เรารู้ว่ามันมีอยู่เราจะได้ค่อยๆ ช้าลงกับตัวเองพอเราชาร์จลงตัวเองได้มันก็จะทำให้ภาวะข้างในมันนิ่ง เลือกตัดสินใจจัดการกับสิ่งที่อยู่ได้ดี
โดยส่วนมากแล้วคนที่จัดการอารมณ์ได้ยากเป็นเพราะว่าเขาวิ่งตามอารมณ์ ไม่รู้ว่ามันมีอยู่แต่รู้แค่ว่าไม่ชอบตัวเองจังเลย มันรู้สึกไม่สุขสบายจังเลยแต่ว่าถ้าเราเรียกไม่ได้
หาชื่อให้เขาไม่ได้เราก็ไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับเรามันเหมือนกับการที่เราไปตรวจร่างกายแล้วแบบเราอาการมีหลายสาเหตุ แต่ถ้าเรียกชื่อมันได้เราก็จะรักษาอาการได้
อารมณ์เราก็เป็นแบบนั้นถ้าเรารู้ว่าเราโกรธเราอยากทำยังไงให้ความโกรธมันดีขึ้น ถ้าเรารู้ว่าเราเศร้าเราอยากทำยังไงให้ความเศร้ามันเบาบาง
Post Views: 2,657