นินทา อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของบางคน แต่หลายครั้ง… พฤติกรรมแบบนี้มักจะถูกมองในแง่ลบ
เพราะอะไรเราถึงซุบซิบนินทา การซุบซิบนินทามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะรับมืออย่างไร
ซุบซิบ นินทา ?
เรามักคิดว่า คำว่า ซุบซิบ นินทา คือการพูดถึงคนอื่นในเชิงลบ พูดถึงบุคคลที่สามในขณะที่เขาไม่อยู่ หรือการดูถูกเหยียดหยาม
แต่จริง ๆ แล้ว นักวิจัยมักให้คำจำกัดความกว้าง ๆ ว่า “กำลังพูดถึงคนที่ไม่อยู่ ณ ตรงนี้ ”
เมแกน ร็อบบินส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ กล่าว “เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสำหรับเรา”
เป็นส่วนสำคัญของการสนทนา การแบ่งปันข้อมูล และแม้แต่ความสัมพันธ์
“มันไม่จำเป็นต้องเป็นลบ” “อาจเป็นเชิงบวกหรือเป็นกลางก็ได้” David Ludden ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ Georgia Gwinnett College
และผู้เขียน The Psychology of Language: An Integrated Approach กล่าว
ทำไมคนเราถึงซุบซิบ นินทา
คุณ Robin Dunbar ได้เขียนหนังสือเรื่อง Why you were born to gossip ?
ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการของการนินทาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาการด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร
ซึ่งเขาบอกว่า เคยคิดหรือไม่ว่าวันหนึ่งเราใช้เวลาว่างไปมากน้อยเท่าใดในการพูดคุยถึงใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร
ซึ่งการนินทาเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น แม้ว่าเนื้อหาของการพูดคุยจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่การพูดคุย เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมได้เป็นอย่างดี
ทำให้สามารถได้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนหรืออัพเดทข่าวสาร
สถิติการซุบซิบ นินทา
ในการวิเคราะห์ เมต้าปี 2019 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Social Psychological and Personality Science ร็อบบินส์และเพื่อนร่วมงาน พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้าร่วม 467 คน พบว่า
ผู้คนนินทาเฉลี่ย 52 นาที/วัน โดย 3 ใน 4 ของการนินทานั้นเป็นเรื่องกลาง และพบว่า ประมาณ 15% – เป็นการนินทาเชิงลบ ประมาณ 9% – เป็นการนินทาเชิงบวก
ดังนั้นแม้ว่าความเป็นจริงที่ผู้คนสามารถใช้เวลามากมายเพื่อพูดถึงคนรอบข้าง แต่บ่อยครั้งการพูดคุยกันนั้นไม่เป็นเรื่องดี
สาเหตุ Gossip ที่ทำร้ายกัน
การนินทาที่ไม่ดีอย่างชัดเจนเลยคือการนินทาที่สร้างความเสียหายให้คนอื่น สร้างความเกลียดชัง ไม่มีศีลธรรมอย่างทุกวันที่เราเห็น ๆ กันก็คือพวก fake news หรือการ bully
ขอขอบคุณข้อมูลจาก i strong หากจะถามว่าคนแบบไหนที่ชอบนินทา คนแบบนั้นก็มักจะเป็นคนที่…
– มีพฤติกรรมขี้ขลาด (Cowardly Behavior) คนที่ขี้ขลาดจะไม่กล้าเข้าไปถามตรง ๆ ก็เลยคิดว่า “ฉันฟังจากปากของคนอื่นก็ได้” หรือ “มันก็สนุกดีที่จะพูดต่อ ๆ กันไป”
– รู้สึกไม่มั่นคง/ต้องการเสริมพลังให้ตัวเอง (Insecurity/Empowerment) คนขี้นินทาส่วนใหญ่ต้องการได้รับความสนใจ และมักจะรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อได้เป็นคนปล่อยข่าว
ทำให้มีคนเข้ามาคุยด้วยมากขึ้น โดยที่พวกเขาไม่รู้เลยว่าการเป็นคนขี้นินทามันมีราคาที่ต้องจ่ายก็คือความน่าเชื่อถือลดลงและ สุดท้ายก็จะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้เพราะไม่อยากเป็นรายต่อไปที่จะถูกนินทา
– มีพฤติกรรมชอบซาดิสม์ (Sadistic Personality) คนขี้นินทาอาจจะเป็นคนเดียวกับคนที่ชอบเห็นคนอื่นเจ็บปวด และรู้สึกดีเมื่อได้เห็นคนอื่นต้องเจอกับประสบการณ์เจ็บปวดทุกข์ใจ
– มีความกังวลไม่มั่นใจ (Anxiety and Uncertainty) คนที่มีนิสัยขี้กังวลไม่มั่นใจสามารถกลายเป็นคนขี้นินทาได้ เพราะช่วงเวลาที่นินทาคนอื่นมันช่วยให้ลืมความกังวลของตัวเองไปได้ชั่วคราว
– เป็นผู้หญิง (You’re Female) คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกไม่ค่อยดีที่ต้องมาเจอกับข้อความนี้ แต่จากข้อมูลของ Dr. Hallowell จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นพบว่า การนินทามักมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นใน
กลุ่มผู้หญิงมากกว่า และก็มักจะพบว่าคนที่ชอบสร้างเรื่องขึ้นมานินทาส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง
Gossip ต้องเป็นเชิงบวกจึงจะมีประโยชน์
การเมาท์มอย ซุบซุบ มักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับ “การนินทา” หรือการว่าร้ายผู้อื่นแบบลับหลังอยู่เรื่อยมา แต่อันที่จริงแล้วการเมาท์มอยนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการประสงค์ร้ายเสมอไป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
การเมาท์มอยเรื่อยเปื่อยทั่วไปแบบไร้สาระและไร้พิษภัยระหว่างเพื่อนร่วมงานนั้น ดีต่อสุขภาพจิตแถมยังช่วยให้คนเราทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย แต่การนินทาว่าร้าย นี่ต่างหากนะคะที่อาจจะเป็นปัญหา
แฟรง ที แมคแอนดรูว์ ศาสตราจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา “คนเรามักจะมองการนินทาคนอื่นเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่แย่และดูไม่ดี แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น
เพราะความรู้ที่เราได้รับจากการนินทานั้น ช่วยให้เรานั้นก้าวหน้าเพื่อไปต่อในสังคม และคนที่ไม่สนใจในเรื่องนี้มักจะเป็นคนที่เสียเปรียบ”
ที่มา :
The Science Behind Why People Gossip
‘การนินทา’ หนึ่งในวิวัฒนาการที่ทำให้มนุษย์อยู่รอด
Psychologists say gossiping is a social skill.
Gossip เรื่องเลวร้ายหรือของฟรีที่มีค่า
ทำไมคนเราถึงต้องนินทา!
Post Views: 996