ปล่อยวาง

ปล่อยวางภาระในใจ l รีวิวหนังสือ ‘ ภาระที่อมไว้ คายออกมาเถอะนะ ‘

เรื่องAdminAlljitblog

ภาระที่อมไว้ คายมันออกมานะ หนังสือที่รวมเทคนิคสั้น ๆ ที่ทำให้เรามีพื้นที่ว่างในใจมากขึ้น

 

ความน่ารักของหนังสือเล่มนี้คือ เจ้าหนูแฮมสเตอร์ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ เจ้าหนูแฮมสเตอร์ตัวนี้มีน้ำตานะ

 

หนูแฮมเตอร์ที่แก้มตุ่ย ๆ การ ‘กักตุน’ อาหารที่มากเกินไปจนเกิดเป็นความไม่สบายตัว . . 

 

หนูแฮมสเตอร์ที่กักตุนอาหาร ถ้าเปลี่ยนจากอาหารเป็นกักตุน ความเครียด หละ?

 

ก็เหมือนกับคนถ้าเราเก็บทุกสิ่งอย่างมาไว้กับตัวมากเกินไป เราก็คงไม่สบายใจและไม่สบายตัว

 

หนังสือเล่มนี้เป็น how to ที่มีเทคนิคการฮีลใจในทางเชิงจิตวิทยาที่นำมาใช้ได้จริง เขียนโดย คุณ ไนโต โยะชิฮิโตะ แปลโดย คุณ อทิตยา ทรงศิริ 

 

หนังสือเล่มที่มีทั้ง 6 บท และ 198 เทคนิคที่ทำให้เราสบายใจสบายตัวมากขึ้น เป็นเทคนิคสั้น ๆ และวิธีการใช้ที่ใช้ได้จริง

 

จึงขอหยิบยกมา 2 บทที่ชอบและอยากมาบอกต่อ :))

 

การมองอารมณ์ของตัวเองผ่านมุมมองคนนอก

มุมมองคนนอกคือการที่เราไม่เอาตัวเองไปยืนในจุดที่ไปเกี่ยวข้อง เป็นมุมมองจากการสังเกตระยะไกล

 

หลาย ๆ คนคงคิดว่าการตอบกลับและการปล่อยผ่านอย่างเหมาะสมคือเรื่องที่ดี 

 

แต่สิ่งที่อยากบอกคือ บางครั้งเราไม่ต้องจริงจังมากก็ได้ เอาตัวเองออกมาไม่ต้องตอบโต้ทันที 

 

ถ้าตอนนั้นเรากำลังโต้เถียงหรือทะเลาะกับใครบางคนอยู่ ให้เราออกมาเป็นคนนอกดู

 

เพราะการที่เราเป็นคนนอกเรามักจะแก้ปัญหาได้มากกว่าเป็นคน ฝึกฝนได้ มีสติมาก ๆ

 

การมองตัวเองโดยใช้มุมมองคนนอกจะทำให้เราควบคุมอารมณ์ด้านลบได้

 

เขียนข้อดีของตัวเองออกมา

เพราะถ้าเราคิดถึงแต่ข้อไม่ดีของตัวเอง เราจะมีความสุขได้ยังไง..

 

บางทีเราก็ไม่ชอบนิสัยของตัวเอง เอาตัวเองไปเปรียบเทียบจนเห็นข้อเสียของตัวเองมากมาย

 

เห็นข้อเสียมากกว่าเห็นข้อดี เพราะฉะนั้นของแก้ไขโดยการเขียนจุดแข็งและข้อดีของตัวเองที่เราชอบตัวเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้ 

 

เพราะการที่เราเขียนข้อดีของตัวเองบ่อย ๆ จะทำให้เราปลูกฝังข้อดีของตัวเองและความคิดลบ เกี่ยวกับตัวเองจางลงไปด้วย 

 

สำหรับใครที่สนใจหนังสือเล่มนี้

สั่งซื้อที่ได้ที่นี่