“รักแท้” รักที่อะไร ตับ ไต ไส้พุง ? ทุกคนต้องเคยได้ยินเพลงนี้กันมาอยู่แล้วแน่ ๆ แต่ว่าเนื้อเพลงอันนี้ก็ชวนทำให้เกิดคำถามที่น่าสงสัยเช่นกันว่า รักแท้คืออะไรกันนะ ?
วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast ในรายการ Learn&Share หรือรับฟังได้ที่ Alljit Podcast
รักแท้ ในทางจิตวิทยา
1. ทฤษฎีรัก 3 ตอน
ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองได้กล่าวถึงความรักโรแมนติก หรือ รักแท้ ที่แบ่งออกได้เป็น 3 องค์ประกอบ ซึ่งในทุก ๆ องค์ประกอบจะมีฮอร์โมนต์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
1. ตัณหา ในช่วงตัณหาร่างกายจะถูกขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน และเอสโตรเจน
2. แรงดึงดูด ในช่วงที่เราตกหลุมรัก โดพามีน เป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองตื่นตัว อยากคุยด้วยต่อ อยากสานสัมพันธ์
3. ความผูกพัน ออกซีโทซิน ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและ ทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ลึกซึ้ง
2. สามเหลี่ยมความรัก (Triangular theory of love)
ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก (Robert Sternberg) เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรักและความรักในความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
1.ความใกล้ชิด (Intimacy) ความรู้สึกใกล้ชิด สนิทสนมและความผูกพัน ทั้งหมดนี้ทำเกิดความรู้สึกอบอุ่น ความเข้าใจกัน ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ระยะยาว
2.ความหลงใหล (Passion) แรงเสน่หา นำไปสู่ความโรแมนติก ความดึงดูดทางกาย และทางเพศ
3.ความผูกมัด (Commitment) หรือ การตัดสินใจ ถ้าในระยะสั้น จะหมายถึง การตัดสินใจว่าจะเรารักกัน และในระยะยาวหมายถึง คำมั่นสัญญาที่จะรักษาความรักนั้นเอาไว้
ระดับและประเภทของความรักที่แต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน เพราะมันมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าเรามีความใกล้ชิดมากขึ้นอาจทำให้มีความหลงใหล
และความผูกมัดที่มากขึ้น หรือถ้ามีความผูกมัดที่มากขึ้นอาจทำให้ความใกล้ชิดมากขึ้น หรือมีความหลงใหลต่ออีกฝ่ายมากขึ้น
รูปแบบของความรักตามมีอะไรบ้าง
1. การไม่มีความรัก Non-love/ ไม่มีทั้งสามองค์ประกอบ
เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีความรู้สึกรักต่อกัน ไม่สามารถนับว่าเป็นความรักได้เลย เกิดกับคนที่เราเพียงเเค่รู้จัก
2. ความชอบ Liking/ความใกล้ชิด
เป็นความรักที่เกิดจากความใกล้ชิดเท่านั้น เกิดขึ้นในความสัมพันธ์แบบเพื่อน
3 .ความรักแบบหลงใหล Infatuated love/ความหลงใหล
เป็นความรักที่เกิดจากความหลงใหล พอใจกับรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ใกล้ชิดสนิทสนม หรือมีข้อผูกมัดต่อกัน เช่น รักแรกพบ (Love at first sight) หรือ one night stand เป็นความรักที่ไม่มั่นคงแต่ก็สามารถสานต่อได้
4. ความรักแบบว่างเปล่า Empty love/ความผูกมัด
เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความผูกมัด ไม่มีความผูกพัน และความหลงใหล เช่น คู่รักที่ต้องแต่งงานกัน “คลุมถุงชน” หรือใช้ชีวิตร่วมกันมานาน จนหมดรักกัน แต่ยังอยู่ด้วยกัน
5. รักแบบโรแมนติก Romantic love/ความใกล้ชิด+ความหลงใหล
เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความใกล้ชิดและความหลงใหล มักเกิดในความสัมพันธ์ที่ได้รู้จัก ได้ใกล้ชิดกันและเกิดความชอบพอกัน โดยไม่มีความผูกมัด เช่น FWB
6. รักแบบเพื่อน Companionate love/ความใกล้ชิด+ความผูกมัด
เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความใกล้ชิดและความผูกมัด เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระยะยาว เช่น ความสัมพันธ์แบบเพื่อน คนในครอบครัวหรือคู่รักที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาอย่างยาวนาน ไม่มีความชอบพอในเชิงเสน่หา แต่มั่นคง
7. รักลวง Fatuous love/ความหลงใหล+ความผูกมัด
เป็นความสัมพันธ์ที่มีเพียงความหลงใหลและความผูกมัด ความสัมพันธ์ประเภทนี้เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความพึงพอใจกันและตัดสินใจรักกันอย่างรวดเร็วอาจจะไม่รู้จักตัวตนของกันและกันจริง ๆ
8. รักแท้ Complete love
ความรักที่ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบคือ ความใกล้ชิด ความหลงใหลและ ความผูกมัด ซ฿่งจะเกิดเป็นรักแท้ หรือรักที่สมบูรณ์แบบตามทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก
ใครบัญญัติคำว่า “LOVE”
คำว่า “Love” ได้มาจาก “leubh” เป็นภาษาที่โปรโต-อินโด-ยูโรเปียนใช้เมื่อประมาณ5,000ปีที่แล้ว แสดงถึงความเมตตากรุณา ห่วงใยและความเสน่หา
รักแท้ หน้าตาเป็นอย่างไรในมุมมองของเรา ?
ไปแต่หากให้นิยามความรักในมุมมองของเรา ซึ่งเรายอมรับซึ่งกันและกันในทั้งด้านดีและไม่ดี เมตตาต่อกัน เข้าใจกัน และเป็นทีมเดียวกัน
รักตอนนี้คือรักแท้ เพราะถ้าคิดว่าไม่ใช่เราก็จะอย่าวิ่งหาความรักแท้ไปเรื่อย ๆ แล้วก็ไม่ได้เอ็นจอยกับความสัมพันธ์ปัจจุบัน แต่ที่มันเป็นรักแท้ได้ เพราะเรารู้สึกรักและไปกันได้ในหลาย ๆ ด้านของการใช้ชีวิต
รักแท้นั้นเกิดสองคนที่รักกัน และช่วยกันฝ่าฟันทุกอุปสรรคที่เข้ามาในชีวิต ทั้งสองสามารถเป็นเกือบทุกอย่างให้กันและกัน เป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อน ครู ช่วยเหลือกันและกันให้เป็น the best version.
ทำไมรักแล้วจึงทุกข์ ?
มักจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ประโยนี้จริงหรือเปล่า? เราคิดว่าที่ทุกข์อาจจะเป็นเพราะรักเราไม่เท่ากัน ในกรณีที่รักเท่ากันที่ทุกข์เพราะว่า ไม่คุยกัน ไม่บอกความต้องการของตัวเองให้อีกฝ่ายรับรู้
ความทุกข์ของแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ทุก ๆ ครั้งการที่เป็นทุกข์อาจลองเริ่มพูดคุยถึงความต้องการของกันและกันเพื่อหาจุดกึ่งกลางของกันและกัน
แท้จริงแล้วเราคาดหวังอะไรจากความ รักแท้ ?
สำหรับเราคงคาดหวังให้เขาตอบสนองเราได้ในทุกเรื่องที่เราอยากได้ แต่ความจริงแล้วนั้นอาจไม่ได้แบบที่ตั้งใจไว้ เราอาจคาดหวังความสมบูรณ์แบบในคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เรารักแต่ลืมไปว่า
เราเองก็มีแง่บวกแง่ลบ ความซับซ้อน แต่กับตัวเองให้อภัยได้ เข้าใจตัวเองได้ ซึ่งเวลาคบใครซักคนันอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่ามันจะมีทั้งที่เราชอบ และไม่ชอบ
เคล็บลับที่จะทำให้เราเข้าใจคู่รักได้ดีมากยิ่งขึ้น
การมองเห็นในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง เข้าใจว่าความเป็นไม่สมบูรณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนก็มีเหมือน ๆ กัน รวมถึงตระหนักรู้ถึงความคิดและความคาดหวังของตัวเอง
เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบหรือการไม่เป็นไปตามความคาดหวังของอีกฝ่าย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคู่รักลงไปได้
คู่ชีวิต เนรมิตได้จริงหรอ?
เนรมิตได้ถ้าเราสื่อสารกัน และทั้งคู่ยินยอมที่จะปรับเข้าหากัน โดยเต็มใจ และไม่อึดอัดด้วยกันทั้งสองฝ่าย
สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog
ที่มา :
ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก
Post Views: 1,754