เวลาที่ทุกข์ใจ ทำไมการรับฟังถึงช่วยเสมอ? รับฟัง อย่างไรที่ใจเราจะไม่พังไปด้วย เพราะการรับฟังเป็นมากกว่าการฟัง
ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจคนอื่น และการรับฟังเป็นการแสดงออกในรูปแบบคำว่า รัก อีกรูปแบบหนึ่ง 🙂
ระดับของการ รับฟัง
I: Ignoring Listening (ฟังแบบไม่สนใจฟัง)
เป็นระดับพื้นฐานที่สุด เกิดขึ้นเมื่อเราใช้ความพยายามเป็นศูนย์ในการฟัง “อีกฝ่ายพูดแต่เราไม่ได้ฟัง”
II: Pretending Listening (ฟังแบบเเกล้งฟัง)
“อีกฝ่ายพูดเราแกล้งทำเป็นฟัง (แต่จริงๆไม่ได้ฟัง)” วิธีนี้ใช้ได้ดีจนกว่าอีกฝ่ายจะถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังพูด แน่นอนว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์
III: Selective Listening (ฟังแบบเลือกสรร)
การฟังแบบเลือกสรรก็ฟังดูไม่แย่ แต่ปัญหาในการฟังระดับนี้คือเราฟังเพียงบางส่วนของข้อความ มักส่งผลให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดและความเข้าใจผิด “ฟังเฉพาะบางอย่าง ไม่ได้ฟังทั้งหมด”
IV: Attentive Listening (ฟังแบบสนใจฟัง)
เป็นระดับที่เราควรทำให้ได้มากที่สุดในการปฏิสัมพันธ์ในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นระดับที่เราให้ความสนใจกับบุคคลอื่นและทำให้ข้อความเป็นความลับ
มักเกี่ยวข้องกับ การสบตา เข้าใจ ทบทวน เพื่อให้เรามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเป็นการส่งข้อความไปยังอีกฝ่ายหนึ่งว่า “ฉันมีส่วนร่วมและพยายามทำความเข้าใจ”
แม้ดูเหมือนจะดีที่สุด แต่ระดับการฟังนี้ยังคงอิงตามความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือกรอบความคิดของเรา
V: Empathetic Listening (ฟังแบบเข้าใจ)
การฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นระดับสูงสุดของการฟังและเป็นระดับที่ต้องใช้พลังงานทางจิตและอารมณ์มากที่สุด มันเข้าถึงมากกว่าการฟังแบบ Attentive เพราะเราจดจ่อและค้นหาความรู้สึกลึก ๆ ของอีกฝ่าย
โดยใช้ทักษะการฟัง บวกกับหัวใจและความคิดของเราเมื่อเราฟังอย่างมีความเห็นอกเห็นใจ เราจะโฟกัสว่าอีกฝ่ายคิดและรู้สึกอย่างไร
โดยปราศจากมุมมองและประสบการณ์ของเราพยายามเดินไปกับอีกฝ่าย มองอย่างที่เห็นและรู้สึกตามที่รู้สึก
Empathy VS Sympathy คืออะไร
Empathy
Empathy คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นการเข้าใจผู้อื่นแบบร่วมรู้สึก เข้าถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายเหมือนกับว่าเข้าไปอยู่ในประสบการณ์กับเขาด้วย โดยปราศจากความคิดของตัวเอง
ตัดประสบการณ์ที่เคยเจอออกไปและไม่ตัดสิน “Walk in Someone Else’s Shoes”
นักจิตวิทยา คาร์ล โรเจอร์ส บรรยายถึง Empathy ว่า “การมองโลกผ่านสายตาของอีกฝ่าย โดยไม่เห็นโลกของคุณสะท้อนอยู่ในดวงตาของพวกเขา”
การที่จะมีความเห็นอกเห็นใจอย่างแท้จริงและเข้าใจมุมมอง ความรู้สึก และแรงจูงใจของอีกฝ่าย เราต้องอยากรู้เกี่ยวกับบุคคลนั้น
- รู้สึกแบบที่อีกฝ่ายรู้สึก
- ตั้งใจฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
- ไม่ตัดสิน
- ตระหนักถึงความแตกต่างและไม่ชี้นำ
- ค้นหามุมมองของอีกฝ่าย
Sympathy
Sympathy คือ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สงสาร จนบางครั้งพัฒนาไปถึงความเวทนา แต่ความเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายในระดับนี้ จะไม่ได้ลึกซึ้งถึงความรู้สึกลึก ๆ ของเขา
จะเป็นการมองและตัดสินผ่านอารมณ์ ความรู้สึกและประสบการณ์ของตัวเราเอง
- มีความคิดเกี่ยวกับความรู้สึกของอีกฝ่าย
- เมื่ออยู่ในบทสนทนาจะมีการให้คำแนะนำที่อีกฝ่ายไม่ได้ถาม
- เกิดการตัดสิน
- สังเกตปัญหาเเค่ระดับผิวเผินเท่านั้น
- การเข้าใจผ่านมุมมองของตัวเอง
- ละเลยและระงับอารมณ์ตัวเอง
สรุปความแตกต่าง
Empathy เกี่ยวข้องกับการเข้าใจและรู้สึกในสิ่งที่คนอื่นรู้สึก ในขณะที่ Sympathy จะเกี่ยวกับการเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกผ่านมุมมองของเราเอง Sympathy คือการที่เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ
โดยที่เราเอาตัวเราเป็นจุดศูนย์กลาง เช่น A เล่าเรื่องความรักให้ Bฟัง แล้ว B ก็เอาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับ A แต่ถ้าเป็น Empathy คือมองทุกอย่างจากสายตาของ A เข้าใจผู้อื่นจากจุดที่เขายืนอยู่
ข้อดี
Empathy
1.สร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เพิ่มความรู้สึกเชื่อมต่อ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจระหว่างคนสองคน
2.ฝึกทักษะในการสื่อสาร
3.ช่วยเหลือคนอื่นเพื่อการก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้
Sympathy
1.มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสงสาร
2.ทำให้เราพยายามคิดหาคำพูดที่จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกดีขึ้น
ข้อเสีย
Empathy
1.Empathy trap กำดับความรู้สึกร่วม บ่อยครั้งที่เราเผลอเอาใจลงไปเล่น จนตัวเราเกิดความทุกข์
2.ใช้เวลากับการครุ่นคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นมากกว่าตัวเอง
3.โฟกัสในสิ่งที่คนอื่นพูดมากกว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูด EX.ในระหว่างการประชุม
4.สูญเสียความเป็นตัวเอง
Sympathy
1.คำพูดเป็นพิษ
2.ใช้อารมณ์ในการตัดสินมากเกินไปจนลืมความเป็นจริง
3.เมื่อมีการใช้อารมณ์ที่มากเกินไปจะทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้
4.เกิดคำแนะนำที่ผิดที่ผิดทาง
ตัวอย่างจากบทความ Better up
ถ้าเพื่อนในที่ทำงานถูกตำหนิ เขารู้สึกเศร้าและผิดหวังในตัวเอง ถ้าเป็น Sympathy เราจะสามารถบอกเขาว่าเรารู้สึกเสียใจที่เขาต้องเจอเรื่องนี้ แต่สิ่งนี้ไม่ได้หยุดให้เราไม่ตัดสินสถานการณ์ของเขา
บางทีเราอาจตัดสินเขาเพราะถูกตำหนิ บางคนอาจจะถึงกับพูดว่า “อย่างน้อยก็ยังมีงานทำนะ”
ในทางกลับกัน Empathy ด้วยการเอาใจใส่ เราจะรู้สึกถึงความเศร้า ความประหม่า และความผิดหวังที่อีกฝ่ายรู้สึก คุณใส่ใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา
เราสามารถทำให้เขารู้ว่าไม่ได้อยู่คนเดียว โดยไม่จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาให้ เช่น “ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ และดีใจที่คุณบอกฉัน ฉันอยู่ตรงนี้นะ”
อีกตัวอย่างหนึ่ง A โดนแฟนทำร้ายร่างกายมาแล้วร้องไห้เสียใจ
เพื่อนที่เป็น Empathy > เราเข้าใจที่ A เป็นนะ A ไม่ได้อยู่คนเดียวยังมีเราอยู่ แทนที่เพื่อนจะรู้สึกแย่ไปกับ A แต่เพื่อนปลอบใจ แล้วมองสถานการณ์ผ่านสายตาของเพื่อน ทำให้ A รู้สึกว่าอยากแชร์เรื่องราวความเจ็บปวดกับเพื่อน
เพื่อนที่เป็น Sympathy > เพื่อนคนนั้นก็จะกอดคอปลอบ A แล้วร้องไห้ไปกับ A ด้วย ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่เลย แต่การที่เราพยายามบานลานซ์ sym และ em จะค่อนข้างโอเคมากกว่า
การฝึก Empathy
เข้าใจแบบลึกซึ้ง หมายถึง การรับฟังอีกฝ่ายอย่างเต็มที่ ถ้าเขาเป็นคนที่เราสนิทและสบายใจด้วย ลองถามพวกเขาว่าต้องการคุยเรื่องนี้กับเราไหม
ไม่จำเป็นต้องพยายามแก้ไขปัญหา แต่ลองเสนอช่วงที่เวลาที่เราจะอยู่ตรงนี้ข้าง ๆ เขาแทน
คนที่เข้าอกเข้าใจก็คือคนจับอารมณ์คนได้เก่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะแปลความรู้สึกได้ถูก ดังนั้นตัวช่วยอันดับแรกก็คือหยุดแปลความหมายของอารมณ์เหล่านั้น
ไม่ใช่การฟังมากไปที่ไม่ดี การตีความมากเกินไปต่างหากที่เป็นปัญหา
HARVARD HEALTH BLOG “three ways to practice empathy”
1. ตระหนักรู้เกี่ยวกับอคติของตัวเอง เราทุกคนล้วนมีอคติ ทั้งอคติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เเม้ว่าการที่เราระบุอคติของตัวเองเป็นเรื่องที่น่าละอายใจ
แต่ยิ่งเราเห็นอคติเหล่านั้นชัดเจนมากเท่าไร ก็ยิ่งควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของเราได้มากขึ้น
2. ถามคำถามอย่างระมัดระวัง เพราะในบางครั้งด้วยอคติที่มี เราอาจจะถามคำถามที่แสดงถึงการตัดสินได้เพราะเคยเจอสถานการณ์เดียวกันมาก่อน ถ้าเราไม่รู้จริง ๆ ว่าเขารู้สึกอย่างไร
การถามคำถามคือคำตอบ เช่น “ถึงแม้ว่าเราจะเจอเรื่องราวคล้ายกัน แต่ฉันไม่มีทางรู้ว่าเธอรู้สึกอย่างไร เรื่องราวเป็นอย่างไร เธอคิดยังไงบ้างเหรอ”
3. รับฟังอย่างตั้งใจ เมื่อถามคำถามแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการตั้งใจฟังสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร
- eye contact เพื่อให้เขารู้สึกว่าเรากำลังตั้งใจฟัง
- don’t interrupt อย่าขัดจังหวะ รอให้เขาพูดจบก่อน
- หลีกเลี่ยงการแนะนำ ถ้าเขาแสดงอารมณ์เชิงลบเกี่ยวกับสถานการณ์ หลีกเลี่ยงการเสนอวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้ เว้นแต่เขาจะขอคำแนะนำจากเราโดยเฉพาะ
ในวันที่แย่ที่สุด การรับฟังของเราอาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยาจิตใจได้ ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน การรู้จักและพัฒนาการฟังของเราเอง
เชื่อว่ามันไม่ได้มีประโยชน์แค่ความสัมพันธ์อย่างเดียว แต่อาจจะมีประโยชน์ในการทำงาน การเรียน หรือธุรกิจ ก็ได้นะ 😀
ที่มา
THE LEVELS OF LISTENING
Understanding the difference between sympathy and empathy
Hyper-Empathy Syndrome: Too Much of a Good Thing
Post Views: 2,402