สิ้นหวัง

ยิ่งใช้ชีวิตยิ่งรู้สึก สิ้นหวัง รู้สึกไม่ไหวที่จะคิดหรือทำอะไรทั้งนั้น

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหม ? ที่ยิ่งใช้ชีวิตยิ่งรู้สึก สิ้นหวัง ถึงแม้จะมองเห็นทางออก กลับเลือกที่จะไม่สนใจ ฉันจะอยู่แบบนี้ ฉันไม่ไหวที่จะคิดหรือทำอะไรทั้งนั้น

รู้จักความ สิ้นหวัง อันเกิดจากการเรียนรู้ (Learned Helplessness)

เบื้องต้น คำว่า Learned แปลว่า ที่เรียนรู้มา และ Helplessness แปลว่า สภาพที่ไม่สามารถทำอะไรเพื่อปกป้องตัวเองหรือคนอื่นได้ 

 

Learned Helplessness จึงหมายถึง ภาวะที่มนุษย์หรือสัตว์เรียนรู้ที่จะประพฤติตนอย่างสิ้นหวัง แม้จะมีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือเป็นอันตรายได้

 

สาเหตุของความ สิ้นหวัง

สาเหตุของความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ สามารถอธิบายให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอนได้ เริ่มจาก 

 

ขั้นที่ 1 ประสบเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

 

ขั้ันที่ 2 ทำให้รับรู้การไร้ความสามารถในการควบคุมของตนเอง 

 

ขั้นที่ 3 ขยายความเชื่อนั้นไปสู่พฤติกรรมยอมจำนน

 

เมื่ออยู่กับความตึงเครียดหรือปัญหาที่หาทางออกหรือควบคุมไม่ได้เป็นเวลานาน  จะเกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ถึงแม้จะมีโอกาสในการแก้ปัญหานั้น แต่บุคคลจะไม่ทำอะไรกับสิ่งนั้นอยู่ดี 

 

การทดลองเกี่ยวกับความ สิ้นหวัง

ก่อนที่จะมาเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา อ้างอิงจากบทความเว็บไซต์ The People ในช่วงปี 1960 ถึง 1970 มาร์ติน เซลิกแมน และ สตีเฟน ไมเออร์ ได้ทำการทดลองกับสุนัข โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 

 

1. กลุ่มแรกจะถูกมัดไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วปล่อยไป 

 

2. กลุ่มที่สองจะถูกมัดไว้และจะถูกช็อตไฟฟ้า ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้จมูกกดปุ่มที่อยู่ใกล้ ๆ 

 

3. กลุ่มที่สามจะถูกมัดไว้และจะถูกช็อตไฟฟ้า แต่ไม่มีหนทางให้หลีกเลี่ยงได้ 

 

ทันทีที่รู้สึกถึงแรงช็อตในกล่อง สุนัขกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองจะรีบกระโดดมาอีกฝั่งทันที ในขณะที่สุนัขกลุ่มที่สามจะนั่งซึมอยู่ที่เดิม แม้จะสามารถกระโดดข้ามได้อย่างง่ายดาย

 

นั่นเป็นเพราะสุนัขกลุ่มที่สามเรียนรู้มาจากตอนถูกช็อตว่าดิ้นยังไงก็ไม่มีทางหนี นอกจากนี้  ยังมีการทำการทดลองที่คล้ายกันในมนุษย์ด้วย โดยการเปิดเสียงรบกวนชวนรำคาญหู 

 

1. กลุ่มแรก ไม่มีเสียงรบกวน  

 

2. กลุ่มที่สอง มีเสียงรบกวน พร้อมปุ่มปิดเสียง 

 

3. กลุ่มที่สาม มีเสียงรบกวน แต่ปุ่มกดไม่ทำงาน 

 

จากนั้นจะพาคนทั้งสามกลุ่มเข้าไปอยู่ในห้องที่มีเสียงรบกวนและมีปุ่มปิดเสียงที่ใช้งานได้ มีเพียงกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองเท่านั้นที่กดปิดเสียง ส่วนกลุ่มที่สามส่วนใหญ่จะปล่อยให้เสียงนั้นดำเนินต่อไป

 

ผลกระทบของความ สิ้นหวัง

ซิลิกแมนได้สรุปว่า Learned Helplessness เกิดจากภาวะที่บุคคลรับรู้ว่า ผลที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับการตอบสนองของตน ซึ่งผลกระทบที่ตามมา คือ

 

1. ความด้อยทางปัญญา – ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ในอนาคตจะน้อยลง

 

2. ความด้อยทางแรงจูงใจ – แรงจูงใจในการทำอะไร ๆ จะน้อยลง

 

3. ความด้อยทางอารมณ์ – บุคคลจะเกิดความรู้สึกเศร้า

 

สิ้นหวัง เป็นเพราะเหตุการณ์หรือความคิด 

อ้างอิงจากบทความเว็บไซต์ The People คำตอบคือ Learned Helplessness ไม่ได้มาจากสถานการณ์เพียงอย่างเดียว แต่มาจากความคิดด้วย 

 

ยกตัวอย่างเช่น คนที่มองโลกในแง่ดี จะคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ใช่ทุก ๆ เรื่อ’ และคิดว่าสิ่งเลวร้ายอาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย 

 

พวกเขาจึงจะคิดว่า ยังมีโอกาสแก้ไขให้ดีขึ้นได้ และที่สำคัญคือ ‘มีความหวัง’ ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในอนาคต คล้ายกับคนที่มี Growth Mindset

 

แล้วบอกตัวเองว่า ฉัน ‘ยัง’ ทำไม่ได้ แทนที่จะบอกว่า ฉัน ‘ไม่มีวัน’ ทำได้ นั่นเอง เพราะ การใช้คำพูดกับตัวเอง หรือ Self-talk สำคัญต่อทุกคนมาก 

 

จัดการตัวเองเมื่อ สิ้นหวัง 

การป้องกันตัวเองไม่ให้ไปสู่ภาวะ learned helplessness เป็นเรื่องสำคัญ

1. พักผ่อน

เราไม่จำเป็นต้องสู้ ไม่จำเป็นต้องก้าวผ่านทุกเรื่องทุกปัญหา “เดี๋ยวนี้” ไม่พร้อมก็คือไม่พร้อม 

 

2. ดูแลตัวเอง 

พอกายพร้อมใจจะพร้อมตาม  

 

3. ปรับความคิด

คอยเตือนตัวเองว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ เราไม่ได้ควบคุมได้ทุกอย่างและนั่นไม่ใช่เรื่องผิด 

 

4. ขอความช่วยเหลือ

การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการขอความช่วยเหลืออาจทำให้เราได้มองปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ จากมุมใหม่ ๆ ด้วย 

 

5. เปิดหูเปิดตา

อาจจะเป็นการทำสิ่งใหม่หรือการออกเดินทาง เพื่อหามุมมองใหม่ ๆ ซึ่งอาจสร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีแรงใจสู้ต่อ 

 

5 ข้อนี้เป็นวิธีจัดการเบื้องต้น แต่เมื่อไหร่ที่ความรู้สึกพัฒนาไปสู่ภาวะ Learned Helplessness แล้ว การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางออกที่ถูกต้องจะดีกว่า

 

การไปพบผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะนี้จุดโฟกัสคือความคิดว่า ฉันควบคุมไม่ได้ ฉันทำอะไรไม่ได้ ไม่มีอะไรดีขึ้นหรอก ที่พอคิดแบบนี้บ่อย ๆ เรื่อย ๆ จะทำให้กลายเป็น รูปแบบความคิด หรือ thinking pattern ที่ toxic 

 

การบำบัดส่วนใหญ่จะใช้วิธีที่เรียกว่า Cognitive-behavioral therapy (CBT) เน้นการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นปัญหาโดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับการบำบัดรตระหนักรู้ในตัวเองว่า

 

ความคิดลบอะไรที่ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการทดแทนความคิดลบเหล่านั้นด้วยความคิดใหม่ ๆ ที่เป็นบวกและเป็นเหตุเป็นผล ยึดกับความเป็นจริงมากกว่าเดิม 

 

ที่มา :