การลาจาก

การเข้าใจและรับมือกับความ สูญเสีย และการลาจาก

เรื่องAdminAlljitblog

ทุกคนคงมีความรู้สึกกลัวการจากลาไม่ว่าจะเป็นคนบุคคล สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งที่เราผูกพันธ์ใช่ไหม?

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ

 

วันนี้เราจะทำความเข้าใจและรับมือกับความ สูญเสีย ที่เกิดขึ้นกับความรู้สึกของเรา

คุณเคย สูญเสีย สิ่งที่รักไปบ้างไหมคะ ? 

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคนรัก งาน หรือสัตว์เลี้ยง การสูญเสียเป็นสิ่งที่คนเราไม่อาจหลีกเลี่ยง หรือกำหนดได้เลยอย่างใจหวัง

 

เมื่อการสูญเสียเกิดขึ้นสิ่งที่ตามมาคือ ความเจ็บปวด ความเสียใจ ไม่อยากทำอะไร จมดิ่งอยู่กับความรู้สึกนั้นแม้หลายคนรับรู้ว่าทุกอย่างเป็นสัจจะธรรมของชีวิต มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา

 

แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจ และรับมือกับความสูญเสียได้อย่างง่ายดาย การสูญเสียเป็นเหตุการณ์ที่เข้ามาในชีวิตเราแล้วล้วนกระทบต่อความรู้สึกอย่างรุนแรงยากต่อการจัดการความรู้สึกและภาวะอารมณ์ของตัวเองได้ 

 

ในทางจิตวิทยากล่าวไว้ว่ามี 5 ขั้นตอน

 

ที่คนเราต้องเผชิญก่อนถึงขั้นรับมือจากการสูญเสีย  ซึ่งคุณอาจต้องกลับมาทำความเข้าใจจิตใจตัวเองก่อนว่าเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วคุณอยู่ในขั้นไหนของสภาวะจิตใจที่จะนำไปสู่การยอมรับได้

5 ขั้นตอนที่เราต้องเผชิญเพื่อรับมือการสูญเสีย

 

ขั้นตอนแรก

เมื่อเจอเหตุการณ์บางอย่าง คนเรามักปฏิเสธเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการตกใจยังไม่ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นเป็นเพราะกลไกลการป้องกับตัวเองเพื่อทำให้จิตใจค่อย ๆปรับสมดุล 

 

ขั้นที่สอง

เมื่อเริ่มรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจะนำไปสู่รูปแบบอารมณ์โกรธ โกรธที่เขาทำเรื่องราวนั้นกับเรา , โกรธตัวเองที่น่าจะทำบางสิ่งบางอย่างให้ดีกว่านี้ จนในที่สุดเริ่มตระหนักกับอารมณ์โกรธของตัวเอง

 

ขั้นที่สาม

คือ เริ่มมีการต่อรองกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น , ต่อรองกับตัวเองเพื่อให้เรื่องราวเหล่านั้นดีขึ้น และเมื่อการต่อรองไม่ได้ผล จะนำไปสู่ความรู้สึกเศร้า 

 

ขั้นที่สี่

รู้สึกเศร้าเสียใจ เริ่มทำใจยอมรับว่าเรื่องเหล่านั้นเกิดขึ้นจริง หากจัดการกับความเศร้าได้ผ่านความเศร้ามาได้  จึงนำไปสู่ขั้นสุดท้าย

 

ขั้นที่ห้า

เข้าใจว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ และยอมรับกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ส่วนบางคนที่ยังฝังใจกับสิ่งที่เคยมีจนไม่สามารถยอมรับความจริงได้

 

เพราะคนเหล่านั้นคิดว่าการยังจมอยู่กับความรู้สึกที่เคยมี นั้นทำให้เขามีความสุขมากกว่าจึงเลือกที่ยังยึดติดอยู่

 

ท้ายที่สุดแล้ว อยากให้คุณประเมินตัวเองก่อนว่าตัวเองอยู่ในขั้นไหนในการยอมรับความจริง ถามตัวเองว่าชอบที่เห็นตัวเองเจ็บปวดและยึดติดอยู่ไหม? 

 

ตระหนักกับตัวเองว่าเราจำเป็นที่เราต้องเรียนรู้เพื่อข้ามผ่านความสูญเสียและยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นให้ได้เพื่อใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันให้มากขึ้น

Related Posts