อิจฉา

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึก อิจฉา คนอื่นจัดการความรู้สึกนี้อย่างไร

เรื่องAdminAlljitblog

เมื่อพูดถึงความรู้สึก อิจฉา หลาย ๆ คนพอได้ยินคำนี้แล้วก็คงจะหน้าของใครบางคนหรือชื่อใครบางคนขึ้นมาในหัวเลย แต่นิสัยความขี้อิจฉามันมีในมนุษย์ของเราทุกคนอยู่แล้วความอิจฉาไม่ใช่เรื่องที่แย่และไม่ต้องรู้สึกผิดเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง

 

บทความนี้ Alljit Podcast X รัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ 

ความรู้สึก อิจฉา

มันเกิดจากการที่รู้สึกว่าเห็นใครดีกว่าไม่ได้ มองไปแล้วถ้ามีใครดีกว่าจะยอมรับสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ แต่นิสัยความขี้อิจฉามันมีในมนุษย์ของเราทุกคนอยู่แล้ว

 

เราก็มักจะถูกบ่มเพาะมาตั้งแต่วัยเด็กของเรามาตั้งแต่การเลี้ยงดูในครอบครัวถ้าใครเติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ไม่ได้ให้ความสนใจมากพอไม่ได้รับความรักที่มันมากพอ

 

หรือว่ามีการเปรียบเทียบกันในพี่น้องของตัวเขาเองตั้งแต่ช่วงวัยเด็กรวมไปถึงการที่ไม่ค่อยมีความยุติธรรมในบ้านมันก็จะทำให้บ่มเพาะขึ้นมา

เป็นมนุษย์ขี้อิจฉาคนนึง

พื้นฐานของมนุษย์ก็คงมีปมบางอย่างในจิตใจถึงทำให้มีอารมณ์และความรู้สึกแบบนั้นซึ่งต้นเหตุแห่งความอิจฉาของมนุษย์มันมีมาจากหลากหลายสาเหตุมาก ๆ เลยทางจิตวิทยามองว่าคนที่มีนิสัยขี้อิจฉาถ้าเกิดจากการที่เขาชอบเปรียบเทียบ

 

การเปรียบเทียบของเขาจะมีการเปรียบเทียบทั้งตัวเองดีกว่าและตัวเองแย่กว่าคนนั้นคนนี้อยู่ตลอดเวลา รู้สึกยอมรับมันไม่ได้มันเกิดเป็นความรู้สึกอิจฉาขึ้นมาได้ว่าเราอยากจะเป็นแบบนั้นจังเลย

 

เรารู้สึกอยากจะดีเหมือนคนนี้จังเลยเรารู้สึกอยากจะทำได้แบบนี้จังเลย

 

ซึ่งการเปรียบเทียบมันเป็นตัวบ่มเพาะชั้นดีมาก ๆ ที่ทำให้เกิดเป็นความรู้สึก อิจฉา คนอื่นขึ้นมาได้

การเติบโตมาในชีวิตครอบครัวที่พ่อแม่ ไม่ได้ให้ความสนใจมากพอหรือไม่ได้ให้ความรักเรามากพอมันสะท้อนถึงการที่เราไม่ได้มีพื้นที่อบอุ่นของเราที่มันมากพอตามมาด้วย พอมันเป็นแบบนั้นแล้วตัวเราเองก็จะรู้สึกโหยหาความต้องการเหล่านั้น

 

จนบางทีถ้าไม่มีใครที่ตอบสนองความต้องการของตัวเราได้ เราจะอิจฉาคนเหล่านั้น บางคนเริ่มมาตั้งแต่เด็ก ๆ ที่เริ่มอิจฉาเพื่อนที่พ่อแม่ซื้อของให้ บางคนอิจฉาเพื่อนที่เพื่อนมีเสื้อผ้ามีใหม่

 

หรือกลับบางคนอิจฉาเพื่อนที่เพื่อนได้ไปใช้ชีวิตอิสระของตัวเอง

 

ความรู้สึกอิจฉามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาก ๆ ถ้าเรามองว่ามันเกิดขึ้นเพราะมันเป็นแรงขับภายในของตัวเราเองจากการที่เราไม่ได้ถูกเติมเต็มความต้องการพื้นฐานตามที่ติดใจของมนุษย์เราควรจะได้รับ

 

แล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่มันไม่ได้ถูกเติมเต็มมันก็ไม่ได้รับอย่างที่มันควรจะเป็นความรู้สึกอิจฉาตามสัญชาตญาณมันก็จะเกิดตามขึ้นมาด้วย 

 

แล้วถ้าเกิดสมมติว่าเรามองแบบง่าย ๆ เลยว่าเวลาที่เรามีความรู้สึกว่าเราต้องการของชิ้นนั้นจังเลยแต่เราไม่สามารถหามันมาได้ในขณะเดียวกัน กับอีกคนนึงที่เขาหามาได้แบบง่ายดายมาก ๆ เลย

 

ตอนแรกเราก็จะไม่ได้  Connect กับความรู้สึกตัวเองว่าเป็นความอิจฉาตอนเราอาจจะรู้สึกแค่ว่าเออดีจังเลย ที่เขาได้แบบนี้เราก็อยากได้แบบนี้บ้าง หรือบางคนอาจจะมีคำพูดติดปากกว้างว่าอยากจะเป็นแบบนี้จังเลย

 

มันสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกอิจฉาที่มีอยู่ในตัวเรา…

 

แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ตัวเราเองรู้สึกว่าเราเป็นคนขี้อิจฉาและเราก็ไม่ได้อยากจะทำร้ายคนอื่น แต่แค่ความรู้สึกนั้นมันกำลังทำร้ายความความเป็นตัวเราจังเลยมันกำลังกัดกินความรู้สึกของตัวเราเราจะจัดการกับมันยังไงได้บ้าง

ถ้าเรารู้สึกว่าความ อิจฉา นั้นเกิดขึ้นบ่อยแล้วมันวนเวียนเข้ามาหาเราจะทำอย่างไรได้บ้าง?

1. สำรวจตัวเองก่อนว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุของความรู้สึกอิจฉาของตัวเราเอง เราต้องการอะไรเรามีความอยากได้หรือเรามี ลองให้เวลาตัวเองสัมผัสกับความรู้สึกอิจฉาของตัวเองให้เต็มที่ก่อนแล้วค่อย ๆ รับรู้ว่าตัวเอง

 

ถ้าเกิดขึ้นแล้วเราก็ถอยออกมาจากสถานการณ์นั้นทำให้จิตใจเราค่อย ๆ สงบลงก่อน ถ้าเราสงบจิตใจเราลงได้แล้วเราก็ยอมรับได้ว่าเราเป็นคนขี้อิจฉาคนนึงแล้วเราถอยออกมามองตรงนั้น

 

เราจะเข้าใจได้ว่าที่มันอยู่ภายใต้ความรู้สึกที่เราอิจฉาเราต้องการอะไรจากความอิจฉาตรงนั้น

 

2. คนที่มีความรู้สึกอิจฉาแล้วสามารถยอมรับได้ว่าตัวเองมีความรู้สึกแบบนั้นเข้าใจสาเหตุของการอิจฉาว่ามันเกิดจากอะไร เวลาที่ความรู้สึกเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมาอยากจะให้ค่อย ๆ แยกเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ ในหัวของตัวเราเองออกหน่อย

 

เวลาที่เรามีความรู้สึกอิจฉามันจะมีเสียงวิจารณ์ในหัวของเราดังขึ้นมามาก ๆ แล้วเสียงวิจารณ์เหล่านั้นมันดังขึ้นมาในลักษณะของการด่าทอตัวเองการโทษตัวเองหรือการตำหนิคนอื่น

 

อยากจะให้แยกแยะออกว่ามันแค่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มันเกิดจากความคิดด้านลบของตัวเราเอง

 

แยกมันไว้แล้วเราก็วางมันลงแล้วก็บอกกับตัวเองว่านั่นเป็นแค่ความคิดมันอาจจะไม่ใช่ความจริงหรือมันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงในสถานการณ์เหล่านั้นก็ได้ ถ้าเราเรียนรู้ที่จะวางความรู้สึกเปล่านั้นของตัวเองลง

 

แยกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของตัวเราเองได้บางทีมันอาจจะทำให้ตัวเองมาโฟกัสในปัจจุบันมากขึ้น เรื่องของความอิจฉาเปรียบเสมือนไฟที่มันเผากินจิตใจของเรามาก ๆ เลยแล้วถ้ายิ่งความอิจฉามันทวีคูณมากขึ้นเท่าไหร่ไฟเหล่านั้นก็จะยิ่งโชติช่วงในจิตใจของเรามากขึ้นเท่านั้น

 

ความอิจฉาจะเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งที่มาสามารถเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติและมันก็เป็นอารมณ์ด้านลบอย่างหนึ่งที่เราควรจะเข้าใจเวลาที่มันเกิดขึ้น แต่ความอิจฉามันค่อนข้างกินพลังงานในชีวิตของเรามาก ๆ เลย

 

ถ้าเรามัวแต่ไปโฟกัสว่าเราอิจฉาคนอื่นเราไปโฟกัสที่ชีวิตคนอื่นมากเกินไปบางทีมันจะทำให้ตัวเราเองไม่สามารถเข้าใจตัวเราเองว่าตัวเราเองควรจะทำอะไรจริง ๆ นอกจากการทำความเข้าใจความอิจฉาของตัวเราแล้ว

 

อาจจะค่อย ๆ หันมามองตัวเองและสิ่งดี ๆ ที่มีในชีวิตตัวเอง เพื่อให้ตัวเราเองหยุดการเปรียบเทียบกับคนอื่นหยุดการมองเห็นแค่ชีวิตของคนอื่นแล้วก็กลับมามองเห็นชีวิตของตัวเองที่เป็นอยู่ตอนนี้วันนี้

Related Posts