อุปาทานหมู๋

อุปาทานหมู่ โรคติดต่อทางจิตวิทยาจริงหรือ ?

เรื่องAdminAlljitblog

อุปาทานหมู่ คืออะไร เพราะอะไรคนบางกลุ่มถึงเกิดแสดงอาการบางอย่างเหมือน ๆ คล้ายกับจะติดต่อกันได้ และทำไมมนุษย์ไม่กล้าแตกแถว Learn & Share อีพีนี้

 

ขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ “อุปทานหมู่” ที่ว่ากันว่า  เป็นโรคติดต่อทางจิตวิทยา

 

อุปาทานหมู่ คืออะไร

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งมีความค่อนเกี่ยวกับจิตสังคม คือ มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในกรณีที่กลุ่มบุคคลนั้นมีความคิด ความเชื่อว่าตนเผชิญปัญหาเดียวกันจึงแสดงอาการออกมาแบบเดียวกัน

 

ซึ่งถ้าทำการตรวจทางการแพทย์ ก็จะไม่พบสิ่งผิดปกติทางร่างกายที่อธิบายอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ สาเหตุอาจเกิดจากความเครียดหรือ ความกดดันทางใจ

 

ยกตัวอย่าง ในยุคกลาง เป็นยุคที่มีความตึงเครียดทางศาสนาสูง เรื่องความเชื่อทางสาสนามีอิทธิพลต่อคนมาก บวกกับช่วงนั้นโรคระบาดและความคลาดแคลนทางอาหารก็สูง

 

คนเครียดกันมาเป็นเวลานาน และแล้วก็มีหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ ๆ ก็เป็นโรคหยุดเต้นไม่ได้ จะเต้นอยู่อย่างนั้นจนเป็นลม แล้วก็ติดต่อกัน (คำอธิบายนึงก็คือในหมู่บ้านนี้นับถือ St. Vitus ที่เชื่อกันในหมู่บ้านว่าสั่งให้คนเต้นได้)

 

 

อุปาทานหมู่ โรคติดต่อทางจิตวิทยา ?   

 

หากอิงตามคู่มือการแพทย์อย่าง DSM-5 ไรเงี่ยก็ยังไม่ใช่โรค  เป็น Conversion Cisorder = เป็นภาวะที่อารมณ์ส่งผลต่อร่างกายโดยที่ไม่มีสาเหตุทางกายภาพ

 

เป็นอาการทางจิตที่ทำให้ร่างกายแสดงออกเหมือนมีปัญหาจริง  ๆ ทั้งที่ร่างกายไม่มีอะไรผิดปกติ

 

จากข้อมูล British historian and Fortean researcher Mike Dash ศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบ 6 ข้อที่บ่งชี้ว่าเกิดกรณี อุปาทานหมู่ขึ้น

 

1. มีปัจจัยเหนี่ยวนำ เช่น ความเชื่อในท้องถิ่น

 

2. การแพร่กระจายของข้อมูล ความเชื่อ

 

3. ขาดความเชื่อถือในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการรับและการแปลข้อมูลที่ผิด

 

4. ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละภูมิภาคนับถือ

 

5.  ถูกกระตุ้นจาก 1 คนเป็น 2 คน และเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

 

6. การระบาดของอาการอย่างผิดปกติ จนต้องมีหน่วยงานเข้าไปดูแล เพราะอุปทานหมู่จะเกิดเมื่อคนหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด

 

ซึ่งคนอื่นก็จะแสดงอาการคล้าย ๆ กันออกมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหัว

 

อุปาทานหมู่ ไม่ใช่โรคติดต่อทางจิตวิทยา ไม่ใช่โรคทางจิตเวช แต่เป็นอาการที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ “แพร่ระบาดทางความคิด”

 

ซึ่งวิธีรักษาก็คือ แค่นำคนเหนี่ยวนำหรือตัวกระตุ้น ออกจากกลุ่มจนกว่าอาการจะปกติถึงจะนำกลับเข้าสังคมได้ ถ้าภาษาทางจิตวิทยา คือ

 

การทำจิตบำบัดนั่นเองค่ะ เพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงและแก้ได้อย่างตรงจุด อาการก็จะดีขึ้นไว

 

 

ทำไมมนุษย์ไม่กล้าแตกแถว

 

ทฤษฎี Peer pressure  หรือ ความกดดันทางสังคม

 

โซโลมอน แอช เคยทำการทดลองเกี่ยวกับการให้หน้าม้าหลาย ๆ คนตอบคำถามผิดติดต่อกันเพื่อดูว่าผู้ร่วมทดลองจะตอบผิดด้วยมั้ย

 

ปรากฏว่า เกินครึ่งตอบผิดตามหน้าม้าถึงจะเห็นอยู่แล้วว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไรแต่ก็เลือกที่จะตอบผิดตาม แต่อีกห้องที่ไม่มีหน้าม้า กลับตอบถูกตามสิ่งที่ตัวเองเห็นปกติ

 

แอชจึงสรุปว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ มากกว่าหลักฐานที่เป็นรูปธรรม 

 

หลังการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองเขาก็บอกว่า กลัวจะแปลกแยกถ้าตอบต่างจากคนอื่น ถึงแม้จะไม่ได้เชื่อหน้าม้าแต่ก็ยอมผิดตาม

 

ยิ่งถ้าจำนวนคนที่เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งมากเท่าไร เราที่อยู่ในสังคมนั้นก็จะเชื่อตาม เพียงแต่ไม่ได้มีอาการทางกายอะไรที่แสดงออกมาชัดเจนเหมือนอุปาทานหมู่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

ที่มา :

(Mass hysteria) คืออะไร? – นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.

โซโลมอน แอสช์ : ทำไมมนุษย์จึงไม่กล้าแตกแถว แม้เดินบนเส้นทางที่ผิด