รู้สึกเกลียดตัวเอง

ทำไมรู้สึก เกลียดตัวเอง ขึ้นทุกวัน? นักจิตวิทยามีคำตอบ

เรื่องAdminAlljitblog

ความรู้สึก เกลียดตัวเอง เกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมเราถึงมีความรู้สึกเกลียดตัวเองเพิ่มขึ้นทุก ๆ

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ ทำความเข้าใจกับความรู้สึกเกลียดตัวเอง และหาวิธีแก้ไขกับความรู้สึกเกลียดตัวเองที่เกิดขึ้น

ทำไมคนเราถึงรู้สึก เกลียดตัวเอง 

1. มุมมองที่ตนเองมีต่อตัวเราเอง ส่งผลให้บางคนมองว่าตัวเราเองไม่มีอะไรดีเลย หรือดีไม่พอ จนเกลียดพฤติกรรมนี้ของตนเอง

2. ตัวตนในอุดมคติที่ตัวเองอยากจะเป็น เมื่อความสามารถของเราไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่เราคาดหวังที่จะเป็น หรือมีความใฝ่ฝันแต่ทำไม่ได้ จะนำมาถึงความรู้สึกเกลียดตัวเอง 

 

การเกลียดตัวเอง คือการที่เรารับรู้ตัวเองไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราเป็น หรือการที่มองตัวเองด้านลบด้านเดียว และอยากตำหนิตัวเองมากกว่าให้คนอื่นมาตำหนิ ซึ่งหากเราไม่เรียกพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ว่าเกลียดตัวเอง อาจเรียกว่า “ความรู้สึกแย่กับตัวเอง,ไม่ชอบตัวเองหรือรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ” 

เกลียดตัวเอง มักเกิดขึ้นกับเด็กวัยเรียนหรือไม่?

การเกลียดขึ้นได้กับทุกวัย แต่ว่าความรู้สึกอาจจะไม่ชัดเจนในทุกวัย “วัยเด็ก” อาจจะเกิดขึ้นและแสดงออกในพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อปกปิดความรู้สึกนั้นของตัวเอง 

 

“วัยเรียน” มาในรูปแบบความกดดัน เช่น อยากเรียนดีแต่ทำไม่ได้ เพราะตัวฉันไม่เก่ง ก็เลยรู้สึกว่าไม่ควรพยายามเพราะยังไงฉันก็ไม่เก่ง ท้อ หมดหวัง จนกลายเป็นความเกลียดตนเอง 

ปัจจัยที่ทำให้เราเกลียดตัวเอง

1.การเลี้ยงดู 

การเลี้ยงดูเป็นเหตุผลอันดับต้น ๆ ที่จะนำไปสู่การเกลียดตัวเอง เพราะทัศนคติและมุมมองที่ครอบครัวมีต่อเรา ส่งผลต่อตัวตนของเรา หรือแม้แต่การเปรียบเทียบตัวเราเองกับคนอื่นในครอบครัว

 

จะทำใหเราคิดลบต่อตัวเอง อาจทำให้เราเชื่อว่าตัวตนเราเป็นแบบนั้น และนำไปสู่การรับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำลง เราก็จะไม่เห็นศักยภาพตัวเอง และเกลียดตัวเองได้ในที่สุด 

2.สังคมรอบข้าง

เสียงของคนรอบข้างมักดังกว่าเสียงตัวเองเสมอ ลองสังเกตตัวเองว่า หากมีใครพูดถึงเรา เราจะเชื่อเขาโดยไม่ฟังเสียงตัวเอง เมื่อไหร่ก็ตามที่เรานำคำพูดของคนอื่น กลับมาคิดทบทวน และเกิดคำถามว่า “ฉันเป็นอย่างที่คน

 

อื่นพูดไหมนะ” เมื่อมีคนมาบอกว่าเราเป็นคนยังไง บ่อย ๆ ขึ้น เราก็จะเชื่อแบบนั้น 

3.ความล้มเหลว 

ความล้มเหลวเข้าไปกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัวเอง และการเห็นคุณค่าของตัวเอง จนเริ่มกลับมาตำหนิตัวเอง ว่าทำไมฉันทำพลาดอีกแล้ว ทำไมฉันไม่เก่งเอาซะเลย สิ่งเหล่านี้จะมาตอกย้ำตัวเราเอง ทำให้เราเริ่มไม่ชอบ

 

ตัวเองจนนำไปสู่การเกลียดตัวเอง 

4.การคิดถึงอดีต 

หลาย ๆ คน รู้สึกไม่ชอบตัวเองในอดีต ที่เคยทำตัวไม่น่ารัก ทำเรื่องที่ไม่เหมาะสม น่าอับอาย และสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปกระทบกับอารมณ์และความรู้สึก นำไปสู่การโทษตัวเองและเกลียดตัวเองได้ 

ทำยังไงถ้าเราเชื่อคำพูดของคนอื่น?

ถ้าเรารับรู้ได้ว่าตัวเราเองเกลียดตัวเองจากคำพูดเหล่านั้น เราจะต้องสู้กับกับความคิดของตัวเอง ประสบการณ์จะสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะเชื่อแบบไหน แล้วสังเกตว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นแล้วสอดคล้องกับตัวเราเองไหม ถ้าเราไม่

 

ได้มีลักษณะแบบนั้น เราก็ต้องมาจัดการที่สิ่งที่มากระทบกับความเกลียดตัวเอง เช่น หยุดเก็บคำพูดของคนอื่นมาคิดมาก 

จัดการหรือรับมือกับความเกลียดตัวเองได้อย่างไร?

ควรหาที่มาที่ไปของการเกลียดตัวเองคืออะไร แล้วลองดูว่าเราสามารถจัดการ แก้ไขต้นตอของความคิดนั้นได้ไหม นอกจากการทำให้ตัวเองรู้สึกเกลียดตัวเอง หรือวิธีอย่างที่ง่ายสุดที่เราทุกคนสามารถทำได้

 

“เป็นเพื่อนที่ดีให้กับตนเอง” เช่น พูดเรื่องราวดี ๆ ของตนเอง,มองเห็นคุณค่าในตัวเอง,พาตัวเองไปในที่ที่เราชอบและพูดให้กำลังใจตนเองบ้าง ความรู้สึกเกลียดตัวเองจะค่อย ๆ ลดลงและเราจะรักตัวเองมากขึ้น 

 

อีกหนึ่งวิธีที่เราควรทำคือ หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น การต่อสู้กับชีวิตตัวเอง ใช้ชีวิตของตัวเองให้ดี ก็เป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก ๆ พอแล้ว ถ้าเรายังไปวิ่งตามชีวิตคนอื่น นั่นคงไม่ส่งผลดีต่อตัวเราแน่นอน 

 

หากเราลองพยายามแก้ไข หรือทำความเข้าใจกับตัวเองแล้วไม่รู้สึกดีขึ้น ก็ควรจะเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้าใจปมปัญหาและแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

Related Posts