ระบายความรู้สึก

เก็บไว้ในใจหรือ ระบายความรู้สึก อันไหนดีกว่ากัน

เรื่องAdminAlljitblog

ความรู้สึกและอารมณ์ทางลบเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่ปัญหาคือเราจะอยู่กับมันอย่างไร “เก็บไว้ในใจ” หรือ “ ระบายความรู้สึก ” แบบไหนดีต่อใจมากกว่าในทางจิตวิทยา ?

 

แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง? มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂 หรือรับฟังได้ที่  Alljit Podcast

เก็บไว้หรือ ระบายความรู้สึก แบบไหนดีกว่ากัน

ทั้งการเก็บไว้ และระบายออกมามีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป หากเรารู้สึกว่าการเก็บไว้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น เป็นประโยชน์มากกว่าการที่พูดออกไปก็สามารถเลือกการเก็บไว้ได้

 

แต่หากเรื่องไหนที่เรารู้สึกว่าไม่สามารถเก็บไว้ในใจได้ ไม่ว่าจะด้วยความอึดอัดใจ หรือเหตุผลอื่น ๆ เราจะต้องสื่อสารให้ใครรับฟังเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์นั้น ๆ  ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะ ระบายออกมา

 

หรือเก็บไว้ในใจ ก็ควรใช้อย่างสมดุล และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่ควรใช้อะไรมากไป ไม่ควรใช้อะไรน้อยไป เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเราและไม่สร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์  

 

 

เก็บไว้ในใจ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร 

ข้อดี 

แสดงให้เห็นว่ากลไกทางจิตใจทำงานปกติ เพราะ การเก็บกด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด เช่น กลัว โกรธ โมโห เราจะเก็บกดเอาไว้เป็นพื้นเดิมอยู่แล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นอัติโนมัติแแบบนี้ หมายควมว่า จิตใจประมวลผลได้ปกติ

 

ข้อเสีย 

การเก็บความรู้สึกทุกอย่างไว้ในใจบ่อย ๆ ก็เหมือนกับภูเขาไฟที่รอวันระเบิดออกมา  

 

 

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เป็นคนเก็บกด

1. ประสบการณ์ของตัวเองที่พยายามแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบยสนองอย่างที่ควรจะเป็น หรือทำออกไปแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร เลยเลือกเก็บไว้ในใจ 

 

2. กลัวที่จะถูกตำหนิ หรือปฎิเสธ จึงไม่กล้าที่สื่อสาร ระบายความรู้สึกของตัวเองออกไป หรือแม้กระทั่งไม่กล้าที่จะพูดความรู้สึกของตัวเองออกไป จึงเลือกเก็บและกดไว้ข้างใน 

 

 

ทำอย่างไร ให้กล้าพูดสิ่งที่อยู่ในใจมากขึ้น 

การที่คนคนนี้ทำให้เรารู้สึกว่า พูดไม่ได้ บอกไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าคนทั้งโลกจะเป้นแบบเขา ทุก ๆ คนไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ไม่ได้แปลว่าจะเกิดขึ้นอีก เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจแบบนั้น

 

เราจะไม่ปิดกลั้นตัวเอง และไม่คิดเชื่อมโยงว่าทุก ๆ คนจะต้องทำให้ฉันรู้สึกว่าจะต้องเก็บความรู็สึกเข้ามาอีก  อาจจะต้องเริ่มปรับมุมมองของตัวเองก่อน เราก็จะเริ่มไม่เชื่อใจคนอื่น รู้ว่าคนนี้พูดได้ไหม

 

ฉะนั้นเราจะต้องสร้างประสบการณืใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง เพื่อสามารถเข้าใจได้ใหม่ว่าคนทุกคนไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญ คือ เราต้องกล้ามากพอที่จะก้าวผ่านกำแพงของตัวเองออกไป อย่างน้อยจะมีซักหนึ่งที่เราคุยได้ 

 

หากรู้สึกว่าเราไม่อยากเก็บเอาไว้ และยังไม่พร้อมพูดคุยกับคนอื่น ก็สามารถคุยกับตัวเอง บันทึกความรู้สึก ก็เป็นอีกวิธีที่ได้ลบความรู้สึกบางอย่างออกไปได้บ้าง เพราะสุดท้ายเราเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง

 

 

ระบายความรู้สึก มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดี 

ไม่อึดอัดใจ และอีกฝ่ายได้รับรู้ในสิ่งที่เราคิด อย่างน้อยก็ทำให้เราเบาสบายลง ไม่จมปักกับความรู้สึกนั้น 

 

ข้อเสีย 

 เราก็จะไม่เรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกตัวเอง ทุกอย่างผ่านไปแล้วเมื่อเราพูดระบาย หรือ จริง ๆ แค่ถูกวางไว้โดยไม่ได้จัดการ หากวันหนึ่งสิ่งเดิมกลับมากระทบจิตใจอีก สุดท้ายก็จะวนอยู่ในปัญหาเดิม ๆ

 

เพราะเราแค่ระบายออกไป แต่ยังไม่ได้จัดการกับสิ่งนั้น อีกหนึ่งข้อเสียคือ กระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพราะไม่มีใครสามารถรับฟังเราได้ตลอดเวลา หรือทุกเรื่อง 

 

 

ระบายความรู้สึก ออกมา อย่างไรไม่ให้กระทบคนรอบข้าง 

1. ประเมินคนที่รับฟังเราว่าเขาพร้อมรับฟังเราไหม ด้วยการสอบถามว่าเขาว่างไหม สะดวกไหม ณ ตอนนั้น เพราะต่างคนต่างมีหน้าที่จะต้องทำเช่นกัน 

 

2. ประเมินเรื่องที่อยากจะระบาย  สิ่งที่เราระบายสัมพันธ์กับคนที่คอยรับฟังเราไหม มีอะไรไปกระทบตัวเขาหรือไม่ 

 

3. ความพอดีในการระบายความรู้สึก และควรมีวิธีการอื่นเพื่อรับมือกับปัญหาเพื่อให้ตัวเองหายจากภาวะอารมณ์นั้น

 

 

รีเช็คตัวเองว่าเหมาะกับแบบไหน

ควรรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เมื่อเกิดสถานการณ์ใด ๆ ขึ้นกับตัวเอง ให้ลองถามตัวเองว่ารู้สึกอะไร ถ้าเราบอกอารมณ์ของตัวเองได้  เราจะจัดการอารมณ์นี้ต่อได้อย่างไรต่อไปได้ด้วย  

 

ตั้งแต่เด็กจนโต ทุกคนมีพื้นฐานการจัดการกับอารมณ์ แต่บางครั้งเราลืมกับวิธีจัดการนั้นไป ค่อย ๆ ดึงวิธีนั้นออกมาใช้ หรือ ลองใช้วิธีของคนรอบ ๆ ข้อง ค่อย ๆ ลองผิดลองถูกกับตัวเองเพื่อให้เกิดประสิทธภาพกับเราที่สุด

 

 

สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog

 

 

Related Posts