Burnout Boreout Brownout
ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและการจัดการพลังงานทั้งจิตใจและร่างกาย ไม่ใช่วัยทำงานอย่างเดียวแต่วันเรียน
ก็มีภาวะเหล่านี้ที่โรงเรียนได้เหมือนกัน เบื่องาน หมดไฟ หมดใจ เรากำลังเป็นแบบไหนกันแน่…
Burnout
ภาวะความอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง ทำให้รู้สึกหมดไฟ มองตัวเองในแง่ลบ ไม่มีแรงจูงใจ
ไม่อยากไปทำงาน/ไปเรียน ภาวะหมดไฟ ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้อยู่ในแนวทางการวินิจฉัยโรค
แม้ยังไม่ถูกจัดว่าเป็นความเจ็บป่วยหรือมีเงื่อนไขทางการแพทย์ แต่นักวิชาการที่เกี่ยวข้องก็ให้ความสนใจและมีการพูดถึงประเด็นนี้
Boreout
ภาวะเบื่องาน เกิดจากการทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ไม่ท้าทายหรือความสามารถเราสูงกว่างานที่ทำ
ศักยภาพที่มีก็ใช้ได้ไม่เต็มที่ก็เลยทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงาน กลายเป็นไม่ขยันหรือกระตือรือร้นเท่าแต่ก่อน
ประสิทธิภาพการทำงานเลยลดลง และมีแนวโน้มอยากหางานใหม่เกิดขึ้น
Brownout
ภาวะหมดใจ การอยู่ในสภาพแวดล้อมขององค์กรที่ไม่เหมาะกับตนเองนาน ๆ จนหมดใจที่จะทำงานต่อ มีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนงานไปเลย
อาจดูคล้ายกับการ Bureout ภาวะเบื่องาน เพราะมีความรู้สึกอยากออกจากงานเดิมทั้งคู่
แต่จะมีความต่างที่สังเกตได้ คือ Bureout ถ้าเราได้ทำงานใหม่ ๆ หรืองานเดิมที่ท้าทายขึ้น เราจะกลับมามีแรงทำต่อ
แต่ถ้า Brownout จะรู้สึกว่า ไม่ใช่เนื้องานที่ทำให้เราไม่อยากทำงาน แต่เป็นเพราะสิ่งรอบข้างที่ทำให้เราหมดใจ
เช่น หัวหน้ากดดันว่าต้องเอางานวันนี้ เดี๋ยวนี้ วันหยุดก็ตามงาน ผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่เหมาะกับแรงที่ทุ่มเทไป
Checklist สัญญาณพฤติกรรมแต่ละภาวะ
Boreout พฤติกรรมเบื่องาน ภาวะนี้เกิดจากความเบื่อที่ ‘งานน้อยเกินไป’
- อาจเล่นโทรศัพท์หรือหาอะไรทำในเวลาทำงาน
- ไม่ภูมิใจกับงานที่ทำเพราะมันง่ายเกินไป
- รู้สึกว่างานที่ทำไม่มีความหมายกับตัวเอง สามารถนำไปสู่ความเครียด หรือซึมเศร้าในระยะยาว
- ถ้าได้อัพความยากหรือมีอะไรใหม่ก็จะมีแรงทำต่อ
Burnout จากการทำงานหนักเกินไป
- รู้สึกเหนื่อย มีอาการทางกายร่วมเมื่อต้องมาทำงาน
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ
- ทำงานช้าลงมาก คุณภาพงานลดลง
- ไม่สนุกกับงานอีกต่อไป
- แต่พักผ่อนแล้วจะหายดี
Brownout หมดใจจากความเหนื่อยใจต่อเพื่อนร่วมงานหรือสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นหลัก
- ทำงานแบบไร้ชีวิตจิตใจ ทำงานแบบอัตโนมัติตามความเคยชิน
- อยากลางานตลอด ตั้งใจมาสาย
- ขาดงานโดยไม่รู้สึกผิด ดองงานหรือเทงานได้ก็จะทำ
- พร้อมลาออกตลอดเวลา
- แม้ว่าจะพักผ่อนแล้วแต่ก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้น
ซึ่งข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ได้ยืนยันว่า Brownout เป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
เนื่องจากเกิดจากความรู้สึกว่าถูกองค์กรกดดันตลอดจนเริ่มปลีกตัวออกจากสังคม และเลือกที่จะลาออกเพื่อไปหาสิ่งที่คาดหวังหรือต้องการมากกว่า
แม้ว่าจะได้รับการเสนอขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่ง แต่ก็จะฉุดรั้งคนที่หมดใจนี้ไว้ไม่ได้นั่นเอง
5 ระยะที่นำมาสู่ภาวะ Burnout
- ระยะ Honeymoon เป็นช่วงเริ่มงาน เลยมีความตั้งใจ เสียสละ และปรับตัวกับเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มที่ เลยรับแรงกดดันจากการทำงานได้ดี
- ระยะรู้สึกตัว ระยะนี้เราจะเริ่มคาดหวังกับงาน และอาจพบว่างานไม่ตอบสนองต่อความต้องการทั้งในแง่ค่าตอบแทน หรือการเป็นที่ยอมรับ เริ่มรู้สึกว่ามาทางผิด เกิดความขับข้องใจจนไม่สามารถจัดการงานได้
- ระยะไฟตก เป็นระยะเริ่มต้นของภาวะหมดไฟ เริ่มเหนื่อยล้า และเราจะหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน เริ่มปลีกตัวออกห่างเพื่อนร่วมงาน พูดถึงองค์กรในแง่ลบ และทำพฤติกรรมที่ช่วยให้หนีจากความขับข้องใจ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
- ระยะหมดไฟเต็มที่ ก็คือ หมด passion ในการทำงานอย่างสมบูรณ์ เราเริ่มรู้สึกว่าชีวิตการทำงานล้มเหลว สิ้นหวัง เสียความมั่นใจในตัวเอง
- ระยะฟื้นตัว หากเราได้รับการผ่อนคลายหรือพักผ่อนอย่างเต็มที่ ปรับ mindset ในการทำงาน balance เวลาส่วนตัวและงานได้ดีขึ้น เราก็สามารถกลับมามีแรงบันดาลใจหรือมีไฟในการทำงานใหม่อีกครั้ง ใช้โอกาสนี้ในการตั้งเป้าหมายใหม่ในการทำงานได้ด้วย
วิธีรับมือ แก้ไข
- ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ หรือทำ check list สิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน จะรู้สึกว่าพอมีจุดหมายและทำได้ปุ๊ป การติ้กถูกหรือขีดฆ่าออก จะรู้สึกฟินเหมือนเราทำสำเร็จไปทีละอย่าง เกิดความภูมิใจในตัวเองเล็ก ๆ ขึ้นมา
- หาแรงบันดาลใจ ไปพักผ่อน ไม่ก็จัดตกแต่งสภาพแวดล้อมใหม่
- หยุดพัก แต่การหยุดในที่นี้เราจะไม่ทำให้คนอื่นเสียหาย เคลียร์ทุกอย่างก่อนแล้วมาจัดการความรู้สึกกับตัวเอง
- หากพักใจแล้วก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้น ลองถามความต้องการของตัวเองว่าเราต้องการทำอะไร ปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน แก้เองได้ไหม ถ้าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา วิธีทั่วไปที่ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำเลยก็คือ การสื่อสารบอกหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะช่วยให้ได้รับการแก้ไขมากกว่ามานั่งเครียดอยู่คนเดียว
- สุดท้ายแล้วการลาออก คงเป็นทาางเลือกที่ดีกว่าการทนอยู่สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษหรือ Toxic Workplace
ที่มา
Boreout VS Burnout VS Brownout
พฤติกรรม Burnout Boreout Brownout
5 ระยะของภาวะหมดไฟ
Post Views: 2,286