ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ “โลกซึมเศร้า” ในบางครั้งที่เราจะมีความรักเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่เราจะมีความกังวลแล้วถ้าเราเป็น โรคซึมเศร้า มึความรักด้วยหล่ะ การมีความรักของเราจะยิ่งกังวลหนักกว่าเดิมไหม ?
หรือรับฟังได้ที่ Alljit Podcast
สัญญาณบ่งบอกว่าแฟนกำลังเป็น โรคซึมเศ้รา
– การเปลี่ยนแปลงทางด้านที่เราพอพบเจอได้ การกิน,กิจกรรมที่เคยชอบเปลี่ยนไป,ไม่อยากออกไปเจอเพื่อน เป็นต้น
– ระยะเวลาที่เขาเป็น เช่น มุมมองความคิดเปลี่ยนไป แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
– มีคำพูดที่แปลกไปจากเดิม เช่น คำพูดที่หดหู่ ไม่สบายใจ
– สัมผัสได้ถึงพลังงานที่น้อยลง
– จากคนที่เคยดูแลตัวเองมาก ๆ กลับไม่ดูแลตัวเองเลย
เป็น โรคซึมเศร้า แต่คนรักไม่เข้าใจ
แฟนมีส่วนช่วยสำคัญในการทำให้เราดีขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกคนจะทำแบบนั้นได้ แน่นอนแฟนคือคนใกล้ชิด คือสังคม คือคนรอบตัว เป็นปัจจัยและกำลังอันสำคัญที่จะพาเราให้ดีขึ้นได้
แต่ว่าความซึมเศร้าใม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจ ฉะนั้นเราก็ต้องเข้าใจด้วยว่า บางวันเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองว่าเรารู้สึกยังไง บางวันแฟนก็อาจจะไม่เข้าใจเราด้วยเช่นกัน แต่หากมีความรู้สึกไหนก็สื่อสารกัน
เป็น โรคซึมเศร้า ควรบอกแฟนไหม?
การไม่บอกอาจจะทำให้เราทั้งคู่ไม่เข้าใจกันมากกว่าเดิมในภายหลัง อย่างน้อยการบอกก็ทำให้เขาได้รับรู้แล้วเบื้องต้นเป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่เราและเขาตกลงแก้ไขปัญหากันได้แค่ไหน ก็ต้องมาค่อย ๆ พูดคุยปรึกษากัน
มีแฟนเป็น โรคซึมเศร้า ทำยังไงดี
1. เตือนให้เขาทานยาให้ตรงเวลา ซึ่งการทานยาในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก แน่นอนว่าคนที่ทานยาจะต้องคาดหวังอยากให้หายไว ๆ แต่การปรับยาต้องใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไป เราต้องบอกให้เขาใจเย็น ๆ และเราพร้อมจะอยู่ข้างเสมอ
2. สนับสนุนให้เขาบอกคนรอบข้าง ถึงสิ่งที่กำลังเผชิญ เพราะ social support คือสิ่งสำคัญ หากคนรอบข้างรับรู้จะได้ช่วยกันดูแล และให้กำลังใจกันและกัน
3. เป็นผู้รับฟังที่ดี ฟังไอย่างไม่ตัดสิน ถึงแม้เขาจะเล่าเรื่องซ้ำ ๆ แต่เราก็ต้องยินดีที่จะฟัง โดยไม่ตัดบทสนทนาและทำให้เขารู้สึกแย่
4. พาเขาทำกิจกรรม อาจจะเป็นกิจกรรมที่เขาเคยชอบ หรือชวนกันไปเที่ยว
ปลอบใจคนรักอย่างไรได้บ้าง
การปลอบใจสำคัญมาก ลองนึกถึงว่าเราเป็นดอกไม้ที่กำลังเฉาแล้วมีน้ำเย็น ๆ มารด คำปลอบใจก็เช่นกัน แต่สำหรับคนที่เป็นซึมเศร้าคำบางคำอาจจะสร้างบาดแผลสำหรับเขาก็ได้
บางคำอาจจะเป็นการเปิดแผลภายในใจ ฉะนั้น คำปลอบใจอาจจะไม่ได้ช่วยได้ทั้งหมดแต่ก็สามารถทำให้อุ่นใจได้ เช่น
– เราอยู่ตรงนี้เสมอนะ
– ถ้าอยากดีขึ้นเราพร้อมจะไปกับเธอในทุกตอนที่เธอต้องการ
– หากเขาระบายสิ่งที่อยู่ภายในใจ ความคิดของเขาแล้วอยากให้เราชื่นชมที่เขาเล่าให้เราฟังเพราะคนที่เป็นซึมเศร้า เขาไม่ค่อยจะเปิดใจหรือกล้าเล่าอะไรให้เราฟังมากหรอก
ในตอนที่เรารู้สึกรับมือกับคนใกล้ชิดที่เป็น โรคซึมเศร้า ไม่ไหว..จัดการอารมณ์ตัวเองยังไงดี
ฝ่าย Supporter ก็ต้องการที่พึ่งพิงทางใจเหมือนกัน เราไม่ต้องเข้มแข็งตลอดเวลาก็ได้ อย่าคิดว่าเรามีหน้าที่ต้อง protect เขาเพียงอย่างเดียว เพราะสภาพจิตใจ และความรู้สึก เราก็สำคัญเหมือนกัน
อย่ากดดันตัวเองหรือแบกรับความรู้สึกเศร้าของเขาเอาไว้ เพราะไม่อย่างนั้นเราจะมีโอกาสเป็นคนเศร้าคนต่อไป คนเศร้าอาจจะทำนิสัยไม่ดีไปบ้าง ขอให้เข้าใจว่าเขากำลังป่วย
แต่หากว่าเขาเป็นคนนิสัยไม่ดีอยู่ก่อนแล้ว เขาจะกลายเป็นคนนิสัยไม่ดีที่กำลังป่วย ซึ่งก็อาจจะรับมือยากกว่าเดิมไปสองเท่า แต่ถ้าที่ผ่านมาเคยรับนิสัยไม่ดีของเขาได้ ก็ขอให้อดทนเพิ่มขึ้นอีกหน่อย รับมือไปตามแต่
สถานการณ์ด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ เมื่อหายแล้วคนเศร้าจะกลับมาเป็นคนรักคนเดิมของเรา
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
Post Views: 3,408