เคยไหม? ที่รู้สึกเหมือนทุกอย่างรอบตัวเหมือนไม่มีอยู่จริง ไม่ใช่เรื่องจริง? เหมือนตื่นและฝัน ในเวลาเดียวกัน..
ในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับ ภาวะ Derealization หรือ ความจริงวิปลาส เหมือนตื่นและฝันในเวลาเดียวกัน
รู้จักกับภาวะ เหมือนตื่นและฝัน Derelization
จากการรวบรวมข้อมูล ลักษณะสำคัญ คือ
1. ตัดขาดจากความเป็นจริง รู้สึกเหมือนอยู่ในโลกความฝัน สิ่งแวดล้อมที่เห็นไม่มีอยู่จริง
2. เกิดความสับสนระหว่างโลกความจริงและโลกความฝัน เหมือนตื่นและฝันในเวลาเดียวกัน เป็นประโยคจากบทความเว็บไซต์ Un-lockmen ที่อธิบายได้เห็นภาพ
3. ประสบการณ์และการรับรู้ของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป อาจจะรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในรายการทีวี ทุกอย่างเป็นเรื่องที่หลอกลวง
ความจริงวิปลาสเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัย เป็นลักษณะที่ปราศจากความจริง ซึ่งแตกต่างจากบุคลิกวิปลาส (Depersonalization)
ซึ่งความจริงวิปลาสเรื้อรังอาจมาจากการทำหน้าที่ผิดปกติของสมองกลีบท้ายทอยและกลีบขมับ จำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นคือ 5% และ 31-66% ก็คือเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เจ็บทางกายหรือทางใจ
คำว่า Derealization มักจะมาคู่กับ Depersonalization ค่ะ ทั้ง 2 เกี่ยวกับการตัดขาดทั้งคู่ แต่ต่างกันตรงที่ Derealization จะเป็นการตัดขาดจากความเป็นจริง
ส่วน Depersonalization อ้างอิงจากเว็บไซต์ Mayo clinic จะเป็นการตัดขาดจากตัวเองค่ะ คือ รู้สึกเหมือนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และร่างกายตัวเอง ไม่ใช่เจ้าของ ไม่สามารถควบคุมได้
เหมือนตื่นและฝัน ในเวลาเดียวกันผิดปกติไหม?
ถือว่าผิดปกติ เพราะ Derealization ถือเป็นประเภทหนึ่งของ Dissociative disorder ที่เป็นกลุ่มโรคทางจิตเวช ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
ซึ่งอาการของโรคบุคลิกวิปลาสปกติไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ สักพักอาจจะสามารถหายไปเองได้
Derealization เกิดขึ้นได้อย่างไร
1. เป็นภาวะที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อโต้ตอบต่อสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสีย ทำให้ตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่รับรู้ความเป็นจริง เพื่อปกป้องตัวเอง
2. การมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
3. การใช้สารเสพติด ฤทธิ์ต่าง ๆ สามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองได้
Derealization จัดการอย่างไร
วิธีเบื้องต้น คือ การกระทำที่ช่วยให้ตระหนักรู้ความเป็นจริงและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างจากเว็บไซต์ Calm clinic และ Wikihow
1. หยิกตัวเองเบา ๆ
2. จับบางสิ่งที่มีความอุ่นหรือความเย็น แล้วโฟกัสกับความรู้สึกอุ่นหรือเย็นนั้น
3. ลองพิจารณาสิ่งของรอบข้าง ว่ามันคืออะไร มันใช้ทำอะไร หรือลองนับดูว่ามีกี่ชิ้น
4. ต้องพยายามดึงสติกลับมาอยู่กับความเป็นจริง
5. อาจจะลองจดจ่ออยู่กับสิ่งรอบตัว พยายามเอาตัวเรากลับเข้าไปมีส่วนร่วมกับสภาพแวดล้อมตรงหน้า
6. มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว พูดคุยกับเขา โทร หรือส่งข้อความ ตั้งสติแล้วพยายามกลับเข้าสู่บทสนทนาเดิม จิตใจของเราจะได้กลับสู่ปัจจุบัน
วิธีเบื้องต้นจะเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ที่เป็นเหมือนสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องมือ” ในการรับสาร
เพราะฉะนั้น การใช้อวัยวะรับรับรู้ ภาพ รส กลิ่น เสียง และสัมผัส รอบตัว จึงเป็นเหมือนวิธี deal กับภาวะนี้ที่สำคัญที่สุด ที่สำคัญ คือ การพิจารณารายละเอียดของสิ่งที่รับรู้
จะทำให้รู้สึกได้ว่า “สิ่งนั้นมีอยู่จริงนะ” ฟังดูเหมือนกำลังใกล้ชิดกับความเป็นจริงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง แนะนำว่าการไปพบผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด เพื่อให้ทราบสาเหตุและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
เพราะหากปล่อยไว้ อาการนี้อาจจะรบกวนชีวิตประจำวันได้
Post Views: 5,032