ทางทีมงาน Alljit ได้มีโอกาสพูดคุยถึงปัญหา “ แฟนขี้หึง เกินไปทำอย่างไรดี ”
กับนักจิตวิทยาการปรึกษา คุณวันเฉลิม คงคาหลวง เจ้าของเพจ Trust.นักจิตวิทยาการปรึกษา
เพื่อตอบปัญหาและหาทางแก้ไขในมุมมองในความสัมพันธ์ที่เราอาจจะยังไม่ทราบมาก่อน
แฟนขี้หึง เกินไป แล้ว ถ้าไม่หึงเลย ก็ผิดปกติ นี่เธอไม่รักกันหรือเปล่า?
ถ้าหึงมากเกินไป ก็ดูวุ่นวาน น่ารำคาญ อยู่ด้วยกันแล้วอึดอัด ชอบเช็ค ชอบคุ้ย ดูทุกแพตฟอร์ม IG , Facebook , Twitter , Line อื่น ๆ อีกมากมายเลย
แต่อย่างที่ทราบกันนะคะว่าเราทุกคน อยากมีพื้นที่ส่วนตัว แล้วมันจะจริงไหม กับความคิดที่ว่า “ความรักมักมาพร้อมกับความหึงหวง”
คุณแม็ก นักจิตวิทยา ได้พูดไว้ว่า ความหึงหวงนั้นเป็นเรื่องปกติ การที่เราไม่หึงเลย นั้นก็มีข้อเสียอยู่
เช่น ในบางครั้งความรู้สึกของเราและเขาเปลี่ยนไป เราคิดหรือเชื่อแบบนั้นไปคนเดียวหรือเปล่า ซึ่งถ้ามองกันกลางๆ ความหึงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
นักจิตวิทยาชื่อดัง คุณ Sigmund Freud ที่กล่าวไว้ว่า “คนปกติ และผู้ป่วยจิตเวชไม่ได้แยกออกที่ พฤติกรรม แต่แยกออกที่ ดีกรีของพฤติกรรม”
เพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เราทุกคนหึงได้หมด แต่สำคัญที่สุด คือ ดีกรี หึงมาก หึงน้อยแค่ไหน และอาจจะแยกออกไปได้ด้วยว่าเราจัดการกับความหึงนั้นอย่างไร
ในบทความนี้นี้เราจะเน้นไปที่ “การที่เรามีแฟนขี้หึงเกินไปทำอย่างไรดี”
ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคู่หรือทุกคนที่จะปรึกษานักจิตวิทยา จึงแบ่งปัญหาออกมาใน 3 ประเด็น เพื่อวิเคราะห์และหาทางแก้ไข
1. แฟนขี้หึง เกินไปทำอย่างไร
ลองหาจังหวะและเวลาที่ดีในการพูดคุยกัน ตัวอย่างเช่น ช่วงที่ไป Dinner ช่วงที่เราอารมณ์ดี ๆ กันทั้งสองฝ่าย นอนเล่น คุยโทรศัพท์กัน
และเริ่มต้นการพูดคุยด้วยประโยคที่ดี และมีเหตุผล ไม่ใช่กล่าวหา ต้องใช้คำพูดที่ นุ่มนวล และน่าฟัง
ตัวอย่างคำพูดให้เห็นภาพชัดขึ้น
“เรารู้สึกว่าช่วงนี้เธอหึงหวงเรามากเลยนะ เราทำอะไรผิดหรือเปล่า คุยกันได้ไหม”
“ช่วงนี้หึงเราเกินไปป่ะ มีอะไรเหรอ เราทำอะไรผิด บอกหน่อยเปล่า?”
ทั้ง 2 ประโยค มีเจตนาเดียวกันคือต้องการที่จะพูดคุย แต่ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ฉะนั้นเราควรเลือกใช้คำพูดที่ดีในการพูดคุยกันว่าสาเหตุนั้นเป็นเพราะเรา เขา หรือคนรอบข้าง
Trick หาจังหวะ โมเมนท์ ที่ดีในการคุยกัน แต่ระวังอย่าใช้ช่วงเวลาที่ดีมากเกินไปอาจจะผิดจังหวะ
2. แฟนขี้หึงเช็คตลอดเวลา เราต้องรายงานตลอดเวลา
เป็นพฤติกรรมที่คนรักแสดงออก ทางแก้ไขขึ้นอยู่กับคู่รักว่าสามารถแก้ไขได้อย่างไร
ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคนรักหรือต้นเหตุปลายเหตุเป็นอย่างไร. .
3. รู้สึกอึดอัดมาก
พิจารณาตัวเราเองก่อนว่าอะไรคือปัญหาจริง ๆ ความอึดอัดหรือความขี้หึงกันแน่
เพราะในบางคนก็ยินยอมที่จะอึดอัด ขอแค่อึดอัดในสิ่งที่สมเหตุสมผล เพราะเราต่างก็ไม่ได้ Perfect จึงแสดงออกมาแบบนี้
ซึ่งเราสามารถยอมรับได้แต่ต้องมีการพูดคุยกันหาต้นเหตุและแก้ไข ไม่ใช่การที่ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริง แต่แสดงออกมาอย่างชัดเจนว่า อย่าทำให้เรารู้สึกอึดอัด
มนุษย์ทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ มีเข็มแข็ง มีอ่อนแอ่ มีจุดเปราะบาง แต่เมื่อเราคบกัน
ความชอบจะทำให้เราหลงไหลซึ่งกัน แต่ความรักจะทำให้เรายอมรับข้อเสียของกันและกัน
หากความรักจะดำเนินไปได้ ต้องประกอบไปด้วยความชอบและความรักปะปนกันอยู่ในนั้น
ความหึงหวงเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย
เกิดจากสภาพแวดล้อม หรืออาจเกิดนิสัยของเขาอยู่แล้ว
การกลัวคนรักนอกใจจึงทำให้เกิดความหึงหวง เพื่อจัดการกับความกลัวที่มีอยู่ในใจ หรือแม้แต่เรื่องของระยะเวลาในความสัมพันธ์
ซึ่งแรก ๆ ยอมรับความหึงหวงนั้นได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หรือช่วงหมดโปรโมชั่น ความอดทนจึงหมดไปด้วย
ในแต่ละคู่ มีความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ แตกต่างกัน เราจึงต้องใช้เวลาศึกษากัน
สุดท้ายแล้ววิธีการแก้ไขความหึงหวงอย่างง่ายที่สุดตามที่นักจิตวิทยาบอก
อันดับแรกคือถามความรู้สึก และถามใจตัวเองอย่างตรงไปตรงมา อาจจะไม่ต้องถามความคิด เพราะบางครั้งพอใช้ความคิด ใช้เหตุผลเยอะเกินไป
มักนำเหตุผลคนอื่นนำความคิดคนอื่นมาใช้ด้วย ฉะนั้นใช้หัวใจบอกให้ได้ว่าอะไรคือปัญหาของเรา
เก็บคำตอบนั้นไว้ในใจถ้าไม่ได้เป็นปัญหาที่ลึกและสาหัสมากเกินไปแล้วใช้คำพูดคุยที่ดี ทุกอย่างจะค่อย ๆ คลี่คลายลงได้และค่อย ๆ ดีขึ้น
แต่ถ้าหากเราก็พยายามกันทั้งสองฝ่ายแล้วแต่ยังแก้ไม่ได้ และอยากให้ความสัมพันธ์นี้ไปต่อ ก็อาจจะต้องลองปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
Post Views: 7,461