ไม่มีความสุขกับงาน

ไม่มีความสุขกับงาน จะจัดการความรู้สึกนี้อย่างไร? ก่อนจะหมดไฟในการทำงาน

เรื่องAdminAlljitblog

เคยรู้สึก ไม่มีความสุขกับงาน ไหม? เรากำลังรู้สึกหลงใหลงานที่ทำอยู่หรือเปล่า?

 

เหตุผลของแต่ละคนก็แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น งานเยอะเกินไป มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ไม่ชอบหัวหน้างาน หรือรู้สึกว่างานที่ทำไม่ท้าทาย

 

ปัจจัยบางอย่างไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน หากเป็นอย่างนี้จะทำอย่างไรดี?

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ ความรู้สึกไม่มีความสุขกับงานที่ทำจนหมดไฟจะทำอย่างไรดี

งานที่ทำแล้วรู้สึกทุกข์ ไม่มีความสุขกับงาน มีคำถามตามมาว่าลาออกดีไหม?

บางคนอาจไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับการทำงาน แค่รู้สึกว่าเหนื่อยกับการทำงานเหลือเกิน ยากต่อการดึงตัวเองไปทำงานในแต่ละวัน ตั้งคำถามกับตัวเองในทุกเช้าว่าลาหยุดดีไหม วันหยุดหมดหรือยัง

 

รู้หรือไม่ว่านี่อาจเป็นสัญญานบ่งบอกว่าคุณกำลังรู้สึกไม่มีความสุขกับการทำงาน จนรู้สึกว่าอะไรที่พอหลีกเลี่ยงการทำงานได้ก็อยากที่จะหลีกเลี่ยง 

 

สำหรับบางคนอาจจะไม่ได้รู้สึกตรง ๆ ว่ากำลังไม่มีความสุขกับงาน แต่อาจมีสัญญาณบ่งบอกอยู่เป็นระยะ ๆ เนื่องจากการทำความเข้าใจสาเหตุของแต่ละคนไม่ใช่เรื่องง่ายซึ่งการยอมรับสาเหตุแต่ละเรื่อง

 

เราต้องทำควรเข้าใจก่อนว่ามีความรู้สึกบางอย่างเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ยอมรับจะค่อนข้างยากต่อการจัดการ

เมื่อรู้สึกไม่มีความสุขกับการทำงาน ควรจัดการอย่างไร?

“ลองสังเกตุว่าสาเหตุที่ไม่มีควมสุขของเราเกิดขึ้นจากอะไร”
 
1.เพราะหัวหน้างาน

หากเกิดขึ้นเพราะหัวหน้างาน เราอาจสะท้อนให้หัวหน้าได้เห็น เช่น การพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เนื่องจากเขาอาจไม่รู้ตัวเองว่าพฤติกรรมบางอย่างทำให้เรารู้สึกไม่ดี

 

สิ่งที่สำคัญคือ ควรเลือกวิธีพูดเพื่อเป็นผลดีต่อทั้งเราและหัวหน้า ให้เขารับรู้ว่าเราไม่ได้ต่อต้าน เพียงแค่แสดงความคิดเห็นในมุมมองของเราเท่านั้น และควรหาจังหวะที่ดีในการเข้าไปพูดคุยเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้น 

 
2.เพราะเพื่อนร่วมงาน

หากรู้สึกไม่มีความสุข เพราะเพื่อนร่วมงาน อยากให้ลองคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องเอาใจไปจดจ่ออยู่กับเขา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราติดอยู่กับคำว่าไม่ชอบเขา จะกลายเป็นว่าเพื่อนร่วมงานมีอิทธิพลต่อความรู้สึกเรามากขึ้น

 

ลองปรับที่เราย่อมง่ายกว่าการปรับที่คนอื่น ทำความเข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานเขามีนิสัยในแบบของเขา เราไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองไปโฟกัสที่เขา

 

สามารถพูดคุยในเรื่องที่จำเป็นและเปลี่ยนโฟกัสอยู่กับการทำงานของเราให้มากขึ้น

 

งานจะออกมาดีกว่าการที่เราเอาตัวเองไปจดจ่ออยู่กับคนที่ไม่ชอบ หรือหากเพื่อนร่วมงานบางคนไม่ชอบเรานั่นก็ให้เป็นหน้าที่ของเขาในการจัดการความรู้สึกของตัวเอง 

 
3.เพราะไม่สนุกกับงานที่ทำ

หากรู้สึกไม่สนุกกับการทำงาน อาจต้องกลับมาสำรวจตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับงานที่ทำอยู่ เกิดอะไรขึ้นกับการที่เราไม่มีความสุข งานเยอะเกินไปหรือเปล่า อยากให้ลองกลับมาปรับที่ตัวเองก่อน

 

เช่น ตั้งเป้าหมายในแต่ละวัน ว่าจะทำอะไร เมื่อทำงานเสร็จสิ้น ก็ให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ กับตัวเอง เพื่อให้ยังรู้สึกสนุกกับการทำงานอยู่

 

หากรู้สึกว่างานที่ทำอยู่จำเจ ไม่มีความท้าทายแล้ว ทำอย่างไร?

สาเหตุนี้เราจำเป็นต้องสร้างความท้าทายขึ้นด้วยตัวเอง การที่รู้สึกว่างานที่ทำจำเจอาจมาจากเราวางระบบงานให้ตัวเองมากเกินไป ลองคิดนอกกรอบมากขึ้น เพื่อท้าทายความสามารถและเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตัวเอง

 

หากไม่มีความสุขกับการทำงานเพราะคนในครอบครัวอยากให้ทำ?

อาจต้องมีการพูดคุยว่าเรารู้สึกอย่างไร ถ้าเขายังยืนยันอยากให้ทำงานนั้นอยู่เราอาจลองปรับกับตัวเองก่อน เพราะเราเปลี่ยนความต้องการของคนในครอบครัวไม่ได้ ปรับมุมมองต่องานที่รู้สึกว่าไม่ชอบ

 

เพื่อเราจะได้กลับมาทบทวน ว่างานที่ไม่ชอบนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง คุ้มค่ากับการเลือกที่จะทำต่อไปไหม และพยายามสร้างคุณค่ากับตัวเองในการทำงานนั้นมากขึ้น 

หากไม่มีความสุขเพราะงานเพิ่มแต่เงินไม่เพิ่ม?

อาจจะต้องลองถามเจ้านายว่าเพราะอะไรเงินจึงไม่เพิ่มขึ้น คุยกับเจ้านายว่าเราต้องการเงินเดือนเพิ่มเพราะอะไร พร้อมชี้ให้เห็นว่าเรามีศักยภาพเพิ่มขึ้นตรงไหน 

 

ถ้าคิดว่าตัวเองมีศักยภาพมากพอ การขอเงินเดือนไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพิ่มเพื่อให้เหมาะกับศักยภาพของตัวเองที่ทุ่มเทให้กับบริษัท

 

หากไม่สามารถเพิ่มเงินเดือนให้ได้จริง ๆ  เงินเดือนไม่พอต่อเงื่อนไขในชีวิตคงต้องพิจารณาหางานเพิ่ม ถ้าอยากทำงานบริษัทเดิมอยู่ แต่หากอยากเปลี่ยนงานก็เป็นตัวเลือกที่ดีเพื่อเพิ่มเงินเดือนของตัวเอง

 

สุดท้ายแล้ว อยากให้เราลองกลับมาถามตัวเองก่อนว่าอะไรคือสาเหตุที่เราไม่มีความสุขกับการทำงาน เพื่อหาวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาให้กับตัวเอง เพราะการลาออกอาจไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาเสมอไป

Related Posts