เคยดูละครดัง เช่น จำเลยรัก,เกมส์ร้ายเกมส์รัก,Beauty and the Beast ทรชนคนปล้นโลก
ที่พระเอกจะร้ายกาจ ทำร้ายจิตใจ ทำร้ายร่างกาย เป็นโจรปล้น แต่ทำไมเรายังรัก เพราะเขาหล่อ หรือเพราะมีเสน่ห์ หรือเพราะเป็นละคร
แต่ในชีวิตจริงมีเกิดขึ้นเหมือนกันนะ มีคำเรียกว่า Stockholm Syndrome
Stockholm Syndrome
แนวคิดพื้นฐานของ Stockholm Syndrome คือ ความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ภายใต้การกดขี่หรือถูกทำร้าย
เป็นอาการของคนที่ตกเป็นเชลยหรือตัวประกันเกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ คนที่เป็นคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง
โดยความรุนแรงและการกดขี่เหล่านี้อาจมาในรูปแบบของคำพูด การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการลิดรอนสิทธิ์บางอย่างในตัวเหยื่อ
สิ่งเหล่านี้เกิดได้ทุกวันและอาจต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงอาจเพิ่มรอยแผลและความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจให้กับเหยื่อได้
แต่เมื่อผู้ที่กดขี่แสดงความเห็นใจ แม้จะเล็กน้อยก็อาจทำให้เหยื่อรู้สึกถึงความดีและ เจตนาที่ดีของผู้กระทำจนทำให้เกิดความผูกพันหรือความรักในที่สุด
ดังนั้น Stockholm Syndrome อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวสักเท่าไร
Stockholm เป็นกลไกในการรับมือกับสถานการณ์ที่ถูกคุมขังหรือถูกทารุณกรรม ซึ่งคน ๆ นึงสามารถพัฒนาเป็นความรู้สึกเชิงบวกต่อผู้จับกุมหรือผู้ทารุณกรรม
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนถือว่าความรู้สึกเชิงบวกของเหยื่อที่มีต่อผู้ทำร้ายนั้นเป็นการตอบสนองทางจิตใจ
เป็นกลไกในการรับมือ ที่พวกเขาใช้เพื่อเอาตัวรอดจากบาดแผลทางใจหรือถูกทารุณกรรมเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือแม้แต่หลายปี
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าอาการตกหลุมรักหรือผูกพันอาการนี้อาจค่อย ๆ เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่ถูกลักพาตัวหรือถูกทำร้าย
โดยทั้งเหยื่อและผู้ร้ายอาจเกิดความผูกพันหรือเกิดความเห็นใจซึ่งกันและกันจากระยะเวลาที่ได้อยู่ร่วมกัน
ทำไมถึงชื่อ Stockholm Syndrome
Stockholm Syndrome ถูกพบและตั้งชื่อครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1973 ณ เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อเกิดเหตุการณ์ปล้นธนาคาร
และโจรได้จับตัวประกันไว้ 4 คน แต่เมื่อคดีถูกสะสาง ตัวประกันที่ถูกลักพาตัวไป ปฏิเสธในการเป็นพยาน
รวมทั้งหาเงินเพื่อสนับสนุนผู้ก่อเหตุอีกด้วย นับแต่นั้นมาอาการที่เหยื่อเกิดความเห็นใจหรือรู้สึกทางบวกกับผู้ก่อเหตุจึงมักเรียกกันว่า Stockholm Syndrome
โดยเป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้อาจมีมานาน แต่ไม่ได้มีนิยามหรือการตั้งชื่อเรียกที่ชัดเจน
อาการของ Stockholm Syndrome
Stockholm เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและมักเข้าใจผิด Stockholm ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นภาวะสุขภาพจิต
ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA) มองว่านี่เป็นการตอบสนองทางจิตใจและอารมณ์แทน
- พัฒนาความรู้สึกเชิงบวกต่อบุคคลที่จับพวกเขาไว้เป็นเชลยหรือทำร้ายพวกเขา
- มีความรู้สึกด้านลบต่อตำรวจ เจ้าหน้าที่ หรือใครก็ตามที่อาจพยายามช่วยพวกเขา หลุดพ้นจากผู้จับกุม พวก เขาอาจปฏิเสธที่จะร่วมมือกับผู้จับกุมด้วยซ้ำ
- เหยื่อเริ่มรับรู้ความเป็นมนุษย์ของผู้จับกุมและ เชื่อว่าพวกเขามีเป้าหมายและค่านิยมเดียวกัน
สถานการณ์
ในที่ทำงาน
ในบริบทนี้ อาจหมายถึงความผูกพันทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง แม้ในสถานการณ์ที่นายจ้างผิด หรือแสวงหาผลประโยชน์ก็ตาม
ในที่ทำงานอาจรู้สึกติดอยู่ในงานเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือในทางปฏิบัติอื่น ๆ และอาจต้องพึ่งพานายจ้างทางอารมณ์
อาจนำไปสู่การที่พนักงานระบุตัวตน และปกป้องนายจ้างได้ แม้ว่าจะเผชิญกับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมหรือการละเมิดก็ตาม
ในครอบครัว
เกิดขึ้นได้ในบางครอบครัว เพราะว่าบางครั้งพ่อแม่ พี่น้องอาจจะทำร้ายจิตใจ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย แต่พอเขาทำดีกับเรา หรือใช้เหตุผลว่ารัก เป็นห่วง เราก็จะยอม เราก็จะรู้สึกดี
ในความสัมพันธ์
ลองนึกถึงละคร จำเลยรัก ที่ตอนแรกนางเอกโดนขืนใจทั้งร่างกายและได้รับคำพูดที่กระทบจิตใจ แต่พอเรารู้ถึงที่มาสาเหตุว่าทำไมเขาเป็นแบบนั้น
กลับอ่อนใจและรักหลงรัก ทั้ง ๆที่การกระทำที่เขาทำมาคือการกระทำที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเพราะความรัก ความหวาดกลัว ทำให้บางทีผู้ถูกกระทำลืมไปว่าเรากำลังตกเป็นเหยื่อ
ที่มา :
Stockholm Syndrome สต็อกโฮล์มซินโดรม ความสัมพันธ์จากความเจ็บปวด
The Stockholm Syndrome: From Victim to Survivor
How did Stockholm syndrome get its name?
Post Views: 1,815