ภาวะที่ตั้งใจเก็บเงินจนเครียด มีเงินก็ไม่กล้าใช้เงิน เก็บเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอ
Money Dysmorphia
“เกิดขึ้นกับผู้ที่มีเงินเก็บเพียงพออยู่แล้ว แต่กลับไม่ยอมใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุข”
สาเหตุ
- กังวลสถานะทางการเงินในอนาคตของตัวเองมากเกินไป กลัวจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในอนาคต
- กดดันตัวเองมากเกินไป เพราะว่าด้วยคอนเทนต์ที่หลากหลายที่ทุกวันนี้เกี่ยวกับการเก็บเงินหลังเกษียณ การมีเงินเก็บเยอะ ๆ หรือการมีเงินลงทุนทำให้เรากดดันตัวเองกับเรื่องการเงินมากขึ้นด้วย
- มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีตเกี่ยวกับการเงิน เช่น เป็นหนี้
ภาวะ “สุขภาพจิต” ที่เกี่ยวกับ “การเงิน”
นอกจากภาวะ Money Dysmorphia ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตในทางอ้อมเนื่องจากกดดันตัวเองจนเครียดแล้ว
ยังมีภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินและอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
- โกหกหรือปกปิดเรื่องเงินกับคนในบ้าน
พฤติกรรมนี้อาจนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวได้ในอนาคต เนื่องจากคู่รักหลายคู่มักปกปิดปัญหาด้านการเงินกับอีกฝ่าย
และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีปัญหาครอบครัวตามมา โดยเฉพาะการหย่าร้าง
คนที่มีอาการนี้มักจะเป็นคนที่กำลังมีปัญหาด้านการเงิน แต่พยายามหลอกตัวเองว่ายังสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
แม้จะมีเงินสำรองจ่ายน้อยหรืออาจจะไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ ทำให้คนเหล่านี้มักจะชำระหนี้ช้ากว่ากำหนด หรือมีเงินไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ทำให้ตัวเองมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น
เทรนด์ No Buy month
No buy month คือเทรนด์การหยุดซื้อ ของไม่จำเป็น ทั้งเดือน เพื่อฝึกวินัยการเงิน
ช่วงเวลาต้นเดือนที่เงินเดือนเข้าเราจะก็วางแพลนว่าเราจะเอาเงินไปทำไรบ้าง กินบุฟเฟต์ เที่ยว ซื้อของ
ความรู้สึกดี ๆ เหล่านั้น ก็อาจจะอยู่กับเราได้ไม่นาน ถ้าหากใช้จ่ายเพลิน จนเริ่มมีเงินไม่เพียงพอ ที่จะใช้ไปทั้งเดือน
ซึ่งถ้าหากเราไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในเดือนต่อ ๆ ไป เราก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้จ่าย ด้วยการทดลองทำ No Buy Month
No Buy Month หรือถ้าแปลเป็นไทยได้ง่าย ๆ ว่า “เดือนนี้ไม่มีการใช้จ่าย”
ฟังดูแล้ว เหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะคนเราต้องกินต้องใช้ แถมยังต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าห้อง
การทำ No Buy Month นั้น ไม่ใช่การห้ามไม่ให้เราใช้เงินแม้แต่บาทเดียวไปทั้งเดือน แต่คือการที่ในเดือนนั้น เราจะไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
เช่น การซื้อเสื้อผ้าใหม่ กินร้านอาหารแพง ๆ หรือออกไปเดินช็อปปิ้งในห้าง เป็นต้น
โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำ No Spend Month อย่างแรกก็คือ การที่เราจะสามารถเก็บเงินได้ หรือมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น จากการไม่ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น
ประโยชน์อย่างที่สองก็คือ การที่เราได้รู้จักควบคุมตัวเอง อีกทั้งยังเป็นเหมือนการถอยออกมามองพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ผ่านมาของตัวเราเอง
ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้เราเห็นว่า สิ่งที่คิดว่าจำเป็นในวันนั้น จริง ๆ แล้ว มันอาจจะไม่ได้จำเป็นมากเท่าที่คิดก็ได้
นอกจากการควบคุมตัวเองแล้ว ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำ No Buy Month ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่
การทำ No Buy Month ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะในบางครั้งการที่เราข่มใจตัวเองมาก ๆ ก็อาจทำให้ในเดือนต่อมา
เราจะระบายความอัดอั้น ด้วยการใช้เงินอย่างสิ้นเปลือง มากกว่าเดิมก็เป็นได้
นอกจากนี้ ในบางครั้งเราอาจจะมีความจำเป็น ที่ต้องใช้เงินฟุ่มเฟือยอยู่บ้าง เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
เช่น ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน หรือออกไปเที่ยวกับสมาชิกครอบครัว ในวันหยุดยาว
ทำให้การจะประหยัดอดออมทั้งเดือน กลายเป็นเรื่องที่ยากจนเกินไป
ถ้าเป็นอย่างนั้น เราอาจลองลดความเข้มข้นลง จากการทำ No Buy Month เป็นการทำ No Buy Week แทนก็ได้
เพื่อปรับตัวจากตรงนี้เองจะเห็นได้ว่า การทำ No Spend Month จะช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเอง
แถมยังได้กลับมาสำรวจ พฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง ว่าที่ผ่านมาเราใช้เงินไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นมากน้อยแค่ไหน
เพราะฉะนั้น ถ้าหากในเดือนนี้เรารู้สึกว่า อยากจะมีเงินเก็บเพิ่ม หรืออยากจะเลิกซื้อของตามใจตัวเอง จนมากเกินไป
การเริ่มทำ No Spend Month ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ก็ดูจะเป็นทางเลือก ที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน . .
ที่มา :
ภาวะ ‘Money Dysmorphia’ ตั้งหน้าตั้งตา ‘เก็บเงิน’ จนเครียด มีเงินก็ไม่ยอมใช้
Post Views: 300