ความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็น การวินิจฉัยผิด ความไม่เข้าใจ การเมินเฉย และการตัดสิน เกิดขึ้นในชั่วโมงการปรึกษาได้หรือไม่ ?
จะรับมืออย่างไร ? มาหาคำตอบในรายการพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
สาเหตุของ ความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา
1. การวินิจฉัยที่ผิดพลาด
การได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด เช่น การระบุอาการไม่ตรงกับปัญหาจริง หรือการจ่ายยาที่ไม่เหมาะสม อาจสร้างความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจเกิดจากการสื่อสาร
ที่ไม่ชัดเจนระหว่างผู้รับคำปรึกษาและ ผู้ให้คำปรึกษา หรือข้อจำกัดของผู้ให้บริการเอง ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการที่มีความชำนาญเฉพาะทาง
2. ไม่ได้รับความเข้าใจที่เพียงพอ
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับคำปรึกษาและ นักจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญมาก หากนักจิตวิทยาไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์หรือความรู้สึกของได้ ผู้รับคำปรึกษาอาจรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่ได้รับการช่วยเหลือที่คาดหวัง
สิ่งนี้อาจเกิดจากการที่นักจิตวิทยาขาดทักษะ หรือความสัมพันธ์ระหว่างที่ไม่สอดคล้องกัน การพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาคนใหม่อาจช่วยเปิดโอกาสให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมกว่า
3. การถูกตัดสินหรือเมินเฉย
บางคนอาจรู้สึกว่าได้รับการตัดสินหรือเมินเฉยจากนักจิตวิทยา เช่น การที่นักจิตวิทยาแสดงความไม่ใส่ใจ หรือใช้คำพูดที่ทำให้รู้สึกด้อยค่า สิ่งนี้อาจสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก
โดยเฉพาะเมื่อเราคาดหวังว่าจะได้รับความเข้าใจและ การสนับสนุนจากพวกเขา แม้จะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย แต่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ” อย่าปล่อยให้ความกลัว มาขัดขวางตัวเองจากการตัดสินใจไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับความช่วยเหลือ”
ความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา แก้ไขอย่างไร
1. ตระหนักถึงความรู้สึกของตัวเอง
สิ่งแรกที่ควรทำคือการรับรู้และยอมรับความรู้สึกของตัวเอง หากคุณรู้สึกเจ็บปวดหรือผิดหวัง ให้เข้าใจว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
และไม่ใช่ความผิดของเรา การยอมรับความรู้สึกจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษา ก้าวข้ามไปสู่การแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
2. อย่าโทษตัวเอง
การพบเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนผิด หรือทำอะไรผิดพลาด อย่าปล่อยให้ความเจ็บปวดนี้กลายเป็นภาระทางใจเพิ่มเติม
จงมองว่านี่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ของชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะหลาย ๆ ครั้งในชีวิตเราก็มักเลือกบางอย่างผิดไปบ้าง
3. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น
หากรู้สึกว่านักจิตวิทยาที่เข้าพบไม่สามารถช่วยเหลือเราได้อย่างแท้จริง ให้ลองหาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น และสามารถสอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์หรือ รีวิวจากผู้ใช้บริการคนอื่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจเพิ่มเติมได้
4. พูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษา
ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนผู้ให้คำปรึกษา อยากให้ทดลองพูดคุยเปิดใจกับนักจิตวิทยาท่านเดิมเกี่ยวกับความรู้สึกของเรา ว่าเรามีความคิด ความรู้สึกอย่างไรต่อการรับคำปรึกษา
การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาอาจช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจมากขึ้นและ ปรับเปลี่ยนวิธีการให้คำปรึกษาให้เหมาะสมกับเรามากขึ้น
5. ดูแลจิตใจของตัวเอง
หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกเจ็บปวดได้ด้วยตัวเอง ลองพูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ เช่น เพื่อนสนิทหรือ ครอบครัว
การได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากคนใกล้ชิดสามารถช่วยให้คุณเรารู็สึกดีขึ้นได้ และผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
6. ให้โอกาสตัวเอง
อย่าปล่อยให้ประสบการณ์ครั้งหนึ่ง มาขวางกั้นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาของตัวเอง แม้ว่าจะเคยเจอเหตุการณ์ที่แย่กับผู้เชียวชาญคนหนึ่ง แต่ยังมีนักจิตวิทยาท่านอื่นที่พร้อมจะช่วยเหลือเรา
ป้องกันความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา
1. หาข้อมูลล่วงหน้า
ก่อนเลือกนักจิตวิทยา ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของนักจิตวิทยา หรือจิตเเพทย์ก่อน เช่น การอ่านรีวิวจากผู้รับบริการคนอื่น หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสถานพยาบาล
2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
ก่อนเข้ารับคำปรึกษา ลองตั้งเป้าหมายว่าเราต้องการอะไรจากการพูดคุย การปรึกษาครั้งนี้ เช่น การเข้าใจตัวเองมากขึ้น หรือการหาทางออกจากปัญหาที่เผชิญอยู่ หรือ แค่ต้องการระบาย
เพราะการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจความต้องการของเราได้ง่ายขึ้น และไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ประเมินความสัมพันธ์หลังการพูดคุย
หลังจากการพูดคุย ให้ลองประเมินว่าเรารู้สึกอย่างไร หากรู้สึกว่านักจิตวิทยาคนนี้ไม่เหมาะ หรือได้รับคำปรึกษาที่ไม่ตรงใจ อย่าลังเลที่จะหาผู้เชี่ยวชาญคนใหม่
ALLJIT BLOCK
Post Views: 5