อกหัก

อกหัก ทำยังไงดี ? พบนักจิตวิทยาได้ไหม เป็นเรื่องเล็กหรือไม่

เรื่องAdminAlljitblog

อกหัก ทำยังไงดี ? พบนักจิตวิทยาได้ไหม จะถูกมองเป็นเรื่องเล็กหรือไม่ ถ้าเราตกอยู่ในภาวะ อกหัก เราจะมีวิธีรับมืออย่างไร? และถ้าไปพบนักจิตวิทยาจะถูกมองว่าเป็นเรื่องเล็กหรือไม่?

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับคุณวันเฉลิม คงคาหลวง (นักจิตวิทยาการปรึกษา) เจ้าของแฟนเพจ Trust.นักจิตวิทยาการปรึกษา ที่จะมาพูดคุยเกี่ยวกับความรักในมุมมองของนักจิตวิทยา

 

อกหัก ทำยังไงดี ? พบนักจิตวิทยาได้ไหม เป็นเรื่องเล็กหรือไม่

หลาย ๆ คนอาจจะกำลังสงสัยว่าการอกหักนั้น สามารถเข้าพบนักจิตวิทยาได้หรือไม่ ซึ่งสามารถตอบได้สั้น ๆ เลยว่า ได้อย่างแน่นอน นักจิตวิทยาแต่ละท่านจะมีรูปแบบการบำบัดที่แตกต่างกัน 

 

ซึ่งในมุมมองของ คุณแม็ก นักจิตวิยาการปรึกษา มองว่าความทุกข์ หรือการอกหักก็เป็นบทเรียนหนึ่งในชีวิต คุณไม่จำเป็นต้องรีบวิ่งหนี หรือกระโดดก้าวผ่านความรู้สึกนี้ คุณควรค่อย ๆ เปิดใจเรียนรู้ที่จะอยู่กับความอกหักให้เป็น

 

เพราะความอกหักไม่ได้อยู่กับเราแค่ 3 วันแล้วจากไป ถึงแม้ความอกหักจะหายไปนั้นสุดท้ายก็ยังหลงเหลือความรู้สึก ความคาดหวัง ความผิดหวัง ความทรงจำ การยึดติด 

 

หากเราไม่ชัดเจนกับประเด็นเหล่านี้ การที่เราจะก้าวต่อไปโดยใช้ชีวิตปกติกับปัจจุบันให้มีความสุข อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ค่อย ๆ ปรับช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงนี้ให้สมดุล เราจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้

 

หากนักจิตวิทยา อกหัก จัดการกับความรู้สึกของตนเองอย่างไร ? 

โดยความเป็นมืออาชีพนักจิตวิทยาจะมีพาร์ทเนอร์อีกคน หรือนักบำบัดส่วนตัว เพื่อคอยให้คำปรึกษาให้เราผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปโดยเรียนรู้

 

และทำความเข้าใจ ภาวะความเจ็บปวดของตนเอง ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไรและทำความเข้าใจความทุกข์ให้ชัดขึ้น

 

เพื่อเรียนรู้ที่จะออกแบบชีวิตของตนเองใหม่ ถึงแม้ความเจ็บจะไม่ได้หายไปในทันที แต่หากเราเข้าใจมากขึ้นว่าเราเจ็บเพราะอะไร ก็ค่อย ๆ ดูแลตัวเองให้ดีขึ้น 

 

ยกตัวอย่างขั้นตอนการรักษาอาการ “ อกหัก ” ของคุณแม็ก นักจิตวิทยาการปรึกษา (การรักษาของนักจิตวิทยาแต่ละท่านอาจจะแตกต่างกัน)

 

ขั้นแรกนักจิตวิทยาจะสอบถาม ทำความเข้าใจว่า ผู้รับการบำบัดพบเจออะไรมา เพื่อทำความรู้จักกัน เมื่อรู้จักกันอย่างคร่าวๆ แล้ว นักจิตวิทยาจะสอบถามถึงรายละเอียดดังนี้ 

  1. ปัญหาที่ทำให้มาพบนักจิตวิทยาคืออะไร
  2. ความรู้สึกตอนนี้เป็นอย่างไร
  3. ความสัมพันธ์ของผู้รับการบำบัดเป็นอย่างไร

 

จากนั้นจะทำความรู้จักในเรื่องราวไปเรื่อย ๆ เมื่อเข้าใจเรื่องราวมากขึ้น จะวางแผนจัดการแก้ปัญหา โดยมีนักจิตวิทยาคอยแนะนำกันไปเรื่อย ๆ 

 

ทั้งนี้จะเข้ามาปรึกษาต่อเนื่องหรือไม่ขึ้น อยู่กับความสะดวกของผู้รับการบำบัด ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ “จะหายทุกข์ได้อย่างไร แต่คุณจะชัดเจนกับความเจ็บปวดของตนเองอย่างไร”

 

อกหัก ร้องไห้ได้ไหม ? 

น้ำตาเป็นความรู้สึกที่เป็น รูปธรรม น้ำตาไม่เพียงแสดงความเสียใจอย่างเดียว แต่มีหลาย ๆ ความรู้สึกอยู่ในนั้น เช่น อึดอัด ตื่นตัน ความโกรธ ความหวัง  ฉะนั้นเราทุกคนสามารถร้องไห้ได้ แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะร้องไห้ให้เป็น

 

ควรหาพื้นที่ปลอดภัยในการร้องไห้ ร้องกับคนที่คุณรู้สึกว่าเขาอยู่ข้างคุณ ไม่ตัดสินคุณ เพื่อป้องป้องความรู้สึกตัวเอง ไม่ให้เราเสียใจไปมากกว่าเดิม